8 Ways to Improve Self-Regulation

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
แนวปฏิบัติ 8 ประการในการกำกับควบคุมตนเอง

     ในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิต เราทุกคนล้วนมีทางเลือกว่าจะรับมือกับมันอย่างไร อาจเป็นในเชิงบวกหรือในเชิงลบ แต่ถึงจะรู้อยู่แก่ใจว่า การรับมือหรือตอบโต้ในเชิงลบจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เราก็มักจะตอบโต้สถานการณ์ที่กดดันด้วยพฤติกรรมในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นการแผดเสียง การแสดงอาการโกรธจนหน้าแดงตัวสั่น บางครั้งถึงขั้นขว้างปาข้าวของหรือด่าทอด้วยคำหยาบคาย สาเหตุก็เพราะ พื้นฐานจิตใจของบุคคลที่ยังไม่ได้รับการพัฒนามักจะมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นฐานของความคิด เมื่ออารมณ์เข้าครอบงำการใช้เหตุผล สิ่งที่เป็นพื้นฐานของความคิดเหล่านั้นจึงถูกปลดปล่อยออกมา มากน้อยตามแรงกดดัน กว่าจะรู้สึกตัวหรือสงบสติอารมณ์ได้ พฤติกรรมทั้งหลายที่แสดงออกไปก็ส่งผลเสียทั้งต่อตนเอง บุคคลที่เกี่ยวข้อง และองค์กร ผลเสียที่ว่านั้นจะมีผลกระทบรุนแรงขึ้นอีกหลายเท่าหากผู้นั้นอยู่ในฐานะผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กร

     การหมั่นฝึกให้ตนเองคิดและแสดงออกในทางบวกซึ่งหมายถึงสามารถใช้เหตุผลและสติแทนการใช้อารมณ์ จะช่วยให้การมีพฤติกรรมตอบโต้ในเชิงลบลดน้อยลง ความคิดและพฤติกรรมของบุคคล มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน ผู้มุ่งหวังจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการโดยมีทัศนคติที่ดีและพฤติกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่รุมเร้ากดดัน จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถในการกำกับและควบคุมตนเอง (self-regulation) ด้วยการฝึกฝนให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสัญชาติญาณ เพราะในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ เช่น ความโกรธ ความต้องการเอาชนะ ความรู้สึกท้อแท้หดหู่ อารมณ์เหล่านี้จะเข้ามาบดบังหลักเหตุผลจนขาดสติ

Read the rest

8 Causes of Conflicts [Bell and Hart]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
สาเหตุ 8 ประการของความเครียดและความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน

     คำว่าสถานที่ทำงาน (workplace) มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า เป็นสถานที่ที่บุคคลทั้งหลายเข้ามาเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จ สร้างความก้าวหน้าให้กับบุคคล คณะบุคคล และองค์กร ไม่ใช่ที่ที่ใครจะมาสร้างความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหาร หรือแม้แต่กับผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ในทางปฏิบัติ ความขัดแย้งในที่ทำงานกลับเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปทุกแห่ง ส่งผลโดยตรงต่อความเครียดและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การทำร้ายกันด้วยกำลังหรือคำพูด ขัดขวางการทำงานหรือกลั่นแกล้งผู้ที่ตนไม่พอใจ นักจิตวิทยาสองท่าน คือ Art Bell และ Brett Hart ได้ศึกษาความขัดแย้งและความเครียดในสถานที่ทำงานเพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหาโดยได้เขียนบทความหลายบทความในช่วงระหว่างปีค.ศ. 2000-2002 เกี่ยวกับมูลเหตุความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน ทั้งสองท่านมีความเห็นพ้องกันว่า การแก้ปัญหาความเครียดและความขัดแย้ง ต้องแก้ที่สาเหตุหรือต้นเหตุจึงจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดและความขัดแย้ง การไปแก้ที่ตัวความขัดแย้งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุซึ่งมักไม่เกิดผล และที่สำคัญ เป็นการสายเกินไปเพราะได้ปล่อยให้ความเครียดหรือความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้ว

     สาเหตุ 8 ประการของความเครียดและความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน ตามความเห็นของ

Read the rest

5 Stages of Grief [Ross and Kessler]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
5 ลำดับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ต่อความสูญเสียในชีวิต

     Elisabeth Kubler-Ross นักจิตวิทยาชาวสวิส-อเมริกัน และ David Kessler ได้นำเสนอแนวคิดที่ว่า ผู้ป่วยหนักที่ใกล้จะเสียชีวิต และผู้ที่สูญเสียบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รัก จะมีสภาวะอารมณ์ที่สับสนและเปลี่ยนแปลงไปในห้าลำดับ เริ่มตั้งแต่การปฏิเสธไม่ยอมรับกับเรื่องที่เกิดขึ้น, ความโกรธเพื่อระบายความอัดอั้น, การต่อรองเพื่อแลกกับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น, ความสิ้นหวัง ท้อแท้, และการยอมรับความเป็นจริงของชีวิต แม้สภาวะทางอารมณ์ทั้งห้านี้จะอ่านพบได้ทั่วไป แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นทฤษฎี ในทางจิตวิทยามองแนวคิดนี้ว่าอาจมีคุณค่าอยู่บ้างในอดีต แต่ค่อนข้างจะล้าสมัยสำหรับวงการวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ในปัจจุบัน

     แนวคิดนี้ ได้จัดพิมพ์ในหนังสือชื่อ On Death and Dying ในปี ค.ศ. 1969 โดย Kubler-Ross เธอมีความสนใจเป็นพิเศษว่าบุคคลจะมีความรู้สึกและการตอบสนองอย่างไรเมื่อทราบว่าตนจะต้องตายไปในไม่ช้า เธอจึงได้ศึกษาเรื่องนี้กับผู้ป่วยใกล้ตายที่ University of Chicago’s Medical

Read the rest

4 Responses to Good News [Gable]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
วิธีการตอบสนองข่าวดีที่ได้รับใน 4 รูปแบบ [Gable]

     ข่าวดีเกิดขึ้นทุกวัน และเมื่อเล่าออกไปแล้วได้รับคำชื่นชมหรือร่วมยินดีด้วย ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มมากขึ้นไปอีก จากผลการวิจัยพบว่า เราจะรู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการสนองตอบของผู้ฟังต่อข่าวดีนั้น ส่วนใหญ่แล้วผู้ฟังมักยินดีไปกับเรา แต่ก็มีไม่น้อยที่มีท่าทีไม่ยินดียินร้าย หรือบางครั้งถึงกับแสดงท่าทีตอบกลับที่ทำให้เราต้องเสียใจ
     Shelly Gable ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา University of California, Santa Barbara กล่าวว่า มีวิธีการตอบสนองข่าวดีที่ได้รับใน 4 รูปแบบ ตัวอย่างเช่น เมื่อภรรยามาแจ้งสามีว่าเธอจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น สามีอาจตอบสนองต่อข่าวนั้นแบบใดแบบหนึ่งใน 4 แบบนี้

คำตอบ สร้างสรรค์

(Constructive)

ไม่สร้างสรรค์

(Destructive)

กระตือรือร้น

(Active)

“วิเศษเลย ผมดีใจกับคุณด้วย คุณต้องประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในตำแหน่งใหม่นี้แน่นอน”
Read the rest

4 Types of Stress [Karl Albrecht]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความเครียด 4 ประเภท [Karl Albrecht]

     ทุกคนล้วนเคยมีความทุกข์จากความเครียดมาบ้างไม่มากก็น้อย แตกต่างกันไปตามลักษณะการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ความเข้าใจความเครียด นับเป็นก้าวแรกที่จะเอาชนะมัน Dr. Karl Albrecht ที่ปรึกษาด้านการบริหาร ผู้บุกเบิกการฝึกอบรมเรื่องวิธีการลดความเครียดแก่นักธุรกิจ ได้อธิบายสถานการณ์ที่สร้างความเครียดให้กับบุคคลไว้ในหนังสือ Stress and the Manager (1979) โดยได้แบ่งความเครียดในการทำงานออกเป็น 4 ประเภท และแนะนำวิธีการกำจัดความเครียดแต่ละประเภท งานเขียนของเขาช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาเหตุของความเครียดแต่ละประเภทและวิธีจัดการกับมัน ส่งผลให้สามารถทำงานที่ให้ผลงานที่ดีขึ้น สร้างความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง และมีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น

     ความเครียด 4 ประเภทตามแนวคิดของ Karl Albrecht ประกอบด้วย>

 1) เครียดเรื่องเวลา (Time stress)

Read the rest

10 Ways to Make Bad Day Better

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
10 วิธีที่ช่วยให้วันที่เลวร้ายของคุณ ดีขึ้น

     ไม่มีใครที่ทั้งชีวิตมีแต่ความราบรื่นสดใส หรือมีแต่วันที่เลวร้ายหดหู่ จะต่างกันก็ตรงที่ วันที่ร้ายๆ ของแต่ละคนอาจมีมากน้อยกว่ากัน หนักหนาสาหัสกว่ากัน และจากสาเหตุเรื่องราวที่ต่างกัน เมื่อใดที่คุณรู้สึกว่ามันช่างเป็นวันที่เลวร้ายสำหรับคุณ ความรู้สึกนั้นจะทำให้ทุกสิ่งกลายเป็นปัญหาที่ดูเหมือนไม่มีทางออก แก้ไขไม่ได้ หรือที่เรียกกันว่า “จิตตก”

     วิธีปฏิบัติ 10 วิธีต่อไปนี้ สามารถช่วยให้วันที่เลวร้ายของคุณ ดีขึ้นได้
   1. เล่าสิ่งที่กดดันนั้นออกมา
     ความรู้สึกว่าตนเองช่างเป็นคนที่โชคร้ายเสียเหลือเกิน เป็นความรู้สึกที่ยิ่งเก็บไว้นานยิ่งเป็นผลร้ายต่อจิตใจ คุณควรขอเวลานัดหมายเพื่อนที่สนิทและวางใจได้ เล่าสิ่งที่รุมเร้าจิตใจของคุณให้เขาฟัง การได้ระบายสิ่งที่กดดันอยู่ออกไปบ้าง จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น สิ่งที่คุณเป็นทุกข์มากมายอาจไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คุณคิด คุณอาจได้มุมมองที่ดีๆ จากเพื่อนและมองเห็นทางในการแก้ปัญหาก็ได้ หากคุณนึกไม่ออกว่ามีใครที่สมควรจะเล่าความทุกข์นั้นให้ฟัง ก็อาจใช้การเขียนลงในสมุดบันทึก พยายามเขียนให้ช้าๆ เพื่อสมองจะได้มีเวลาลำดับความเป็นเหตุเป็นผลและทำให้คุณเย็นลง เมื่อคุณได้เล่าความทุกข์นั้นให้ตัวเองฟังว่าอะไรเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ คุณอาจเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อปัญหา ลดความรู้สึกที่เป็นลบ และหลุดพ้นออกจากสถานการณ์ทีคุณติดอยู่ได้

Read the rest

10 Common Time Management Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการบริหารเวลา

     เวลาไม่เคยคอยใคร ผู้มีปัญหาเรื่องการบริหารเวลามักจะมีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่าทำงานไม่ทัน งานที่ได้รับมอบหมายมันช่างมากมายเกินกว่าที่จะทำให้เสร็จได้ และมีหลายชิ้นที่มาเสร็จเอาในวินาทีสุดท้าย หันไปทางไหนก็เจอแต่งานนั่นงานนี่เต็มไปหมด ชีวิตมีแต่ความเครียด หมดกำลังใจที่จะทำงาน และอยากลาออกไปหางานอื่นทำซึ่งน่าจะสบายกว่านี้
     เราทุกคนมีเวลาเท่ากันหมด หากเพื่อนร่วมงานซึ่งมีความสามารถในการทำงานใกล้เคียงกัน แต่สามารถทำงานที่คล้ายกันให้สำเร็จได้โดยไม่ต้องหน้าดำเหมือนคุณ ปัญหาน่าจะไม่ได้อยู่ที่ไม่มีเวลา แต่อยู่ที่คุณยังบริหารเวลาได้ไม่ดีเท่าเพื่อนของคุณ ความผิดพลาดพื้นฐานในการบริหารเวลาที่จะกล่าวต่อไปนี้อาจมีบางส่วนใกล้เคียงกับปัญหาที่คุณกำลังประสบอยู่ ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้มันเกิดกับคุณได้ ก็น่าจะทำให้คุณสามารถบริหารเวลาได้ดีขึ้น มีความเครียดน้อยลง มีเวลาที่จะสร้างผลงานได้มากขึ้น และได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชามอบหมายให้รับผิดชอบงานที่มีความท้าทายและมีความสำคัญต่อองค์กรมากขึ้น

   1) ไม่ได้วางแผนว่ามีงานอะไรต้องทำบ้าง
     คุณเคยลืมทำงานหรือกิจกรรมที่สำคัญไปบ้างหรือไม่ หากเคย สาเหตุอาจมาจากคุณไม่ได้วางแผนการทำงานประจำวันว่าจะต้องทำอะไรบ้างในวันนั้น อาจไม่ถึงกับว่านาทีนั้นทำอะไร ชั่วโมงโน้นทำอะไร แต่อย่างน้อยก็ต้องมีเป้าหมายของงานที่ต้องการทำให้เสร็จ อาจใช้การจดรายการที่ต้องทำไว้ในสมุดแผนงานประจำวัน ในกรณีที่เป็นงานซึ่งมีภารกิจย่อยหลายภารกิจ คุณควรแตกงานนั้นออกเป็นภารกิจย่อยที่ชัดเจน จำเพาะเจาะจง อย่าใช้คำกว้างเกินไป เช่น เตรียมเรื่องเข้าประชุม เพราะด้วยคำกว้างๆ เช่นนี้

Read the rest

10 Common Presentation Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการนำเสนองาน

     เชื่อว่าทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานคงได้เคยนำเสนองาน (presentation) ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาบ้าง เช่น การนำเสนอโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบ การรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือการฝึกอบรมทั้งแบบภายในและภายนอกองค์กร ในส่วนของผู้บริหาร ภารกิจที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่ง คือ การให้ข้อมูลหรือการแสดงวิสัยทัศน์และโน้มน้าวให้บุคคลที่เกี่ยวข้องยอมรับในสิ่งเหล่านั้น การนำเสนองานที่มีความซับซ้อนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนจึงจำเป็นต้องหมั่นฝีกฝนทักษะการนำเสนองานและเรียนรู้ว่าอะไรเป็นข้อผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยง
     ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการนำเสนองานที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงอย่าให้เกิดขึ้นกับการนำเสนองานของคุณเป็นอันขาด

   1) เตรียมตัวมาไม่พอ
     คุณคงเคยเห็นการนำเสนองานในลักษณะคล้าย talk show ที่พิธีกรขึ้นไปพูดแบบสบายๆ บนเวที มี slide หรือ video ขึ้นบนจอภาพขนาดใหญ่ด้านหลังและเปลี่ยนสัมพันธ์ไปตามจังหวะการบรรยายแบบลื่นไหล มันทำให้รู้สึกว่า การขึ้นไปกล่าวอะไรบนเวทีต่อหน้าผู้ชมเป็นร้อยหรือเป็นพัน ช่างเป็นเรื่องที่ง่ายดายเสียเหลือเกิน แต่ในความเป็นจริง ผู้บรรยายเหล่านั้นล้วนใช้เวลาในการเตรียมตัวและซักซ้อมมานาน บางครั้งเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน

Read the rest

การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

     ความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ใช่เป็นเพียงคุณสมบัติที่นักพูดทุกคนจำเป็นต้องมีเท่านั้น แต่ยังเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นในเกือบทุกเรื่องของการดำรงชีวิต คนส่วนใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงที่จะให้ความสนับสนุนโครงการหรืองานที่นำโดยคนที่ละล้าละลัง ซุ่มซ่าม หรือจะทำอะไรก็ออกตัวขอโทษขอโพยจนเฝือ ตรงกันข้าม เราท่านทั้งหลายคงเคยรู้สึกชื่นชมผู้ที่สามารถอธิบายเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างชัดเจน มีบุคลิกภาพสง่างามน่าเชื่อถือ ตอบคำถามได้อย่างมั่นใจ และกล้าที่จะยอมรับในสิ่งที่ตนไม่รู้ ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองจะเป็นผู้ที่สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ฟัง เพื่อน เจ้านาย หรือลูกค้า การที่สามารถเรียกความเชื่อมั่นจากผู้เกี่ยวข้องได้นี้ นับเป็นหัวใจสำคัญต่อการกระทำการให้สำเร็จ เมื่อความเชื่อมั่นในตนเองเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเช่นนี้ ผู้คนทั้งหลายจึงมุ่งหวังที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ตัวเอง แต่ในทางปฏิบัติ คนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเองก็คงรู้สึกอับจน ไม่รู้ว่าจะสร้างความเชื่อมั่นขึ้นมาได้อย่างไร

     แท้จริงแล้ว การสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับตนเองเป็นเรื่องที่เรียนรู้และสร้างให้เกิดขึ้นได้ และที่สำคัญ การสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะแก่ตนเองหรือแก่ผู่อื่น แม้จะยากแต่ก็คุ้มค่าต่อความพยายาม

คุณมีความเชื่อมั่นในตนเองมากน้อยเพียงใด
    ความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นเรื่องมองเห็นได้ง่าย ๆ ทั้งจากพฤติกรรม การแสดงออกด้วยภาษากาย การพูดจา ลองพิจารณาตัวชี้วัดต่อไปนี้และประเมินว่าคุณเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองในระดับใด

มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
  ทำในสิ่งที่ตนเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแม้คนอื่นจะหัวเราะเยาะหรือวิพากย์วิจารณ์   แสดงพฤติกรรมตามความคิดของคนอื่น
Read the rest

ทักษะการตอบคำถามเฉพาะหน้า

 

     คุณยังจำเหตุการณ์ที่ถูกผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารระดับสูงตั้งคำถามเกี่ยวกับรายงานหรือการนำเสนอความเห็นของคุณกลางที่ประชุมได้ไหม ส่วนใหญ่ผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เช่นว่านี้มักจะลนลานเพราะการจะตอบคำถามที่จู่โจมเข้ามาในลักษณะนี้ ผู้ตอบไม่ได้ต้องการเพียงแค่คำตอบที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ต้องการทักษะที่จะเรียบเรียงคำตอบต่อคำถามเฉพาะหน้านั้นให้กระชับ เข้าเป้า ด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบไม่สั่นเครืออีกด้วย

     ความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตอบปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อใดก็ตามที่คุณจะต้องนำเสนอข้อมูล ความคิดเห็น หรือข้อเสนอใด ๆ คุณต้องมั่นใจก่อนว่าคุณรู้ในสิ่งที่พูดและมีข้อมูลที่เพียงพอ แต่ก็ไม่ถึงกับว่า จะต้องรู้ไปเสียทุกเรื่อง สิ่งที่สำคัญคือ คุณต้องมีความมั่นใจในเนื้อหาที่นำเสนอ ความเชื่อมั่นในสิ่งที่รู้นั้นจะช่วยให้คุณไม่ตื่นเต้นลนลานแม้ว่าจะต้องตกไปอยู่ใน สถานการณ์ที่อึดอัดอย่างไม่คาดคิดมาก่อนก็ตาม

การเรียนรู้ทักษะการตอบคำถามเฉพาะหน้า
     เคล็ดลับของทักษะการตอบคำถามเฉพาะหน้าอยู่ที่การเรียนรู้เทคนิคและการเตรียมรับสถานการณ์ที่สร้างแรงกดดัน เมื่อใดที่ต้องเผชิญกับคำถามหรือข้อโต้แย้งที่ไม่คาดคิดมาก่อนจะได้นำเทคนิคและการเตรียมพร้อมนี้ออกมาใช้ซึ่งจะช่วยให้คุณมีความสงบเยือกเย็นในขณะเรียบเรียงความคิดและเตรียมคำตอบ
     เทคนิกดังกล่าวประกอบด้วย

1. ผ่อนคลาย
     เป็นเรื่องที่สวนกับความรู้สึกเมื่อต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน แต่เพื่อให้คุณสามารถรักษาน้ำเสียงให้คงความสงบเยือกเย็นและให้สมองคิดหาคำตอบได้ คุณต้องผ่อนคลายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยการ
 o หายใจลึก ๆ
 o ใช้เวลาช่วงสั้น ๆ คิดในเชิงบวกว่าคุณสามารถทำได้
 o บีบกล้ามเนื้อส่วนที่คนอื่นมองไม่เห็น เช่นกล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อต้นแขนส่วนบน หรือจิกเท้า แล้วคลายออกRead the rest