การพัฒนาความปลอดภัยด้วยการควบคุมพฤติกรรม ยังใช้ได้ผลเสมอ

    ความปลอดภัยเชิงพฤติกรรม (Behavior based safety: BBS) เป็นการนำแนวคิดทางจิตวิทยามาพัฒนาพฤติกรรมความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน  เริ่มด้วยการบ่งชี้พฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับการบาดเจ็บ นำมารวบรวมเป็นแบบสำรวจ (checklist) แล้วให้พนักงานที่ผ่านการอบรมได้ใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าสังเกตและเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทั้งพฤติกรรมที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัยภายในสถานที่ทำงาน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้นี้จะส่งให้ทีมงานวิเคราะห์และจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาความปลอดภัยต่อไป

    การพัฒนาความปลอดภัยเชิงพฤติกรรมต่างจากโครงการของ DuPont ที่มีชื่อว่า STOP (Safety Training Observation Process) เพราะ STOP เป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนโดยผู้บริหารโดยใช้การตรวจประเมินความปลอดภัยในความรับผิดชอบของผู้บริหารจากระดับสูงไล่เบี้ยลงสู่ระดับต่ำต่อกันเป็นทอดๆ เป็นการใช้อำนาจทางการบริหารมาควบคุมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องระมัดระวังกันจนตัวลีบเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายหรือการได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน ส่วนการพัฒนาความปลอดภัยเชิงพฤติกรรมเป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนโดยพนักงานโดยใช้การสังเกตพฤติกรรมการทำงานของเพื่อนพนักงานแล้วนำมาทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความปลอดภัย กระบวนการความปลอดภัยเชิงพฤติกรรมจึงให้ข้อมูลป้อนกลับที่เป็นข้อเท็จจริงและมีความสม่ำเสมอมากกว่าที่ได้จากกระบวนการ STOP ของ DuPont

    แม้ว่าองค์กรโดยทั่วไปก็จัดให้พนักงานได้รับการฝึกอบรม มีระเบียบวิธีปฏิบัติที่รัดกุม และมีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยตามหลักวิชา แต่สิ่งเหล่านี้จะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงหากพนักงานไม่นำสิ่งที่เรียนรู้จากการฝึกอบรมไปใช้ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เช่น ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนเรื่องการเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศ ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในเวลาที่จำเป็นต้องสวม  ไม่ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเพื่อป้องกันความร้อนในกรณีที่ต้องทำงานในบริเวณที่มีความร้อนสูง การจะทำให้พนักงานมีพฤติกรรมความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องท้าทาย แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังจะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการใช้กระบวนการความปลอดภัยเชิงพฤติกรรม

    การพัฒนาความปลอดภัยเชิงพฤติกรรมให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดไปจนถึงคนงาน Read the rest

สิ่งกีดขวางความสำเร็จของกระบวนการความปลอดภัยเชิงพฤติกรรม

    กระบวนการความปลอดภัยเชิงพฤติกรรม (Behavior-based safety) เป็นแนวคิดการพัฒนาความปลอดภัยในสถานประกอบการที่นำหลักการวิเคราะห์พฤติกรรมซึ่งเน้นการเฝ้าสังเกตพฤติกรรม การให้ข้อมูลป้อนกลับ และการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับมาใช้ด้วยความมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของพนักงานให้เป็นพฤติกรรมที่ปลอดภัย

    แม้แนวคิดดังกล่าวจะมีหลักการที่ดี แต่ในทางปฏิบัติก็ยังมีอุปสรรคกีดขวางความสำเร็จในการดำเนินการอยู่หลายประการ ที่สำคัญได้แก่

    1. ไม่ได้สอนให้เข้าใจในเหตุผลและหลักการ
        หลายองค์กรนำกระบวนการนี้มาใช้ในฐานะเป็นโครงการทีเด็ด (flavor of the month) เนื่องจากผู้บริหารงานความปลอดภัยได้ไปเข้ารับการฝึกอบรมหรือร่วมประชุมที่อื่นในเรื่องนี้มา แล้วเกิดความสนใจ ก็เลยไฟเขียวให้หน่วยงานทั้งหลายลุยกันยกใหญ่ ด้วยความหวังจะให้เป็นหน้าเป็นตาและคุยกับองค์กรอื่นได้ว่ากระบวนการความปลอดภัยเชิงพฤติกรรมนี้ ที่นี่ก็นำมาใช้เหมือนกัน แต่ครั้นเมื่อเวลาผ่านไป สถิติอุบัติเหตุกลับไม่ดีขึ้น ก็เลยรีบยกเลิกแล้วก็ไปหยิบโครงการอื่นมาใช้เป็นโครงการทีเด็ดอันใหม่ต่อไป
        การที่กระบวนการความปลอดภัยเชิงพฤติกรรม กลายเป็นเพียงโครงการทีเด็ดประจำเดือน ก็เพราะผู้เกี่ยวข้องไม่ได้สอนหลักหรือเหตุผลที่เป็นแก่นความคิดของกระบวนการให้พนักงาน พนักงานเพียงแต่ได้รับการฝึกอบรมว่าจะนำกระบวนการมาปฏิบัติอย่างไรโดยไม่เข้าใจถึงทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลัง มองไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการกับวิสัยทัศน์หรือภารกิจขององค์กร ไม่มีความเข้าใจในเหตุผลและหลักการของกระบวนการว่าทำไมจะต้องสร้างวัฒนธรรมที่ให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนรวม เข้าใจแต่เพียงว่าต้องสร้างภาพให้ดีเมื่อมีคนมาเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของตนและจะต้องพยายามหาข้อบกพร่องในพฤติกรรมของผู้อื่นจึงจะถือว่าเป็นผู้เฝ้าสังเกตที่มีประสบการณ์สูงอะไรทำนองนั้น แต่หากพนักงานได้เข้าใจในหลักการ พวกเขาจะทราบได้ว่าการดำเนินการตามกระบวนการนี้ เป็นการปฏิบัติตามหลักเหตุผล เป็นกระบวนการที่มีความคิดเชิงบวก ความเข้าใจดังกล่าวจะช่วยให้พนักงานสามารถเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้โดยไม่สร้างความบาดหมางหรือหวาดระแวงต่อกัน

    2. ไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ
        หลายองค์กรลอกเลียนโครงการความปลอดภัยของที่อื่นที่ประสบความสำเร็จมาใช้ทั้งดุ้น เหมือนกันแม้แต่ชื่อโครงการและรายละเอียดเพราะลอกออกมาจากคู่มือการปฏิบัติงานตามโครงการ Read the rest