16 Personality Factors (16 PF) Test [Cattell]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ปัจจัย 16 ประการในการทดสอบบุคลิกภาพบุคคล [Raymond Cattell]

     Raymond Cattell นักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีและฟิสิกส์ ได้หันความสนใจมาศึกษาจิตวิทยาในทศวรรษที่ 1920 ซึ่งในตอนนั้น เขารู้สึกผิดหวังที่พบว่าจิตวิทยาเป็นสาขาความรู้ที่เต็มไปด้วยนามธรรม ทฤษฎีและแนวคิดก็ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและยังแทบไม่มีพื้นฐานในทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีด้านบุคลิกลักษณะส่วนใหญ่จะอิงกับหลักปรัชญาและการคาดการณ์เป็นการส่วนตัว หรือไม่ก็พัฒนาขึ้นมาโดยคนในวงการแพทย์ เช่น Jean Charcot และ Sigmund Freud ซึ่งได้สร้างทฤษฎีบุคลิกภาพขึ้นมาตามสัญชาติญาณความรู้สึกและจากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลที่มีความผิดปกติในด้านสติปัญญา
(psychopathology) เป็นหลัก

     Cattell จึงสร้างแบบทดสอบบุคลิกภาพขึ้นมาอย่างเป็นระบบด้วยความมุ่งหมายที่จะค้นหาบุคลิกภาพพื้นฐานของบุคคล รวมถึงวิธีที่ใช้วัดระดับของบุคลิกภาพดังกล่าว เขาเชื่อว่าบุคลิกภาพของบุคคลต้องมีสิ่งที่เป็นหลักพื้นฐานเปรียบได้กับโลกทางวัตถุที่มีอ็อกซิเจนและไฮโดรเจนเป็นพื้นฐาน หากสามารถค้นพบและวัดหลักพื้นฐานทางบุคลิกภาพของบุคคลได้ ก็จะสามารถเข้าใจและทำนายพฤติกรรม เช่น ความคิดสร้างสรรค์, ภาวะผู้นำ, ความบริสุทธิ์ใจ, หรือความก้าวร้าวของบุคคลได้มากขึ้น เขาได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ Charles Spearman ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน

Read the rest

4 Dimensions of Relational Works [Butler and Waldroop]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ทักษะ 4 ประเภทในงานที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น

     ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (interpersonal savvy) เข้าใจปัญหาของผู้ร่วมงานและสามารถเข้าไปจัดการกับความขัดแย้งที่สมาชิกในทีมมีต่อกัน เป็นคุณสมบัติที่เรามักพบเห็นได้ในตัวผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และผู้จัดการฝ่ายขาย  แต่ที่จริงแล้ว คุณสมบัติเช่นว่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในเกือบจะทุกเรื่องทางธุรกิจ ไม่ใช่เฉพาะแต่กับงานด้านทรัพยากรมนุษย์หรืองานขายเท่านั้น จากผลงานวิจัยตลอดระยะเวลา 18 ปีของ Thimothy Butler และ James Waldroop เพื่อหาคำตอบว่า นักธุรกิจได้พัฒนาตนเองขึ้นมาจนประสบความสำเร็จในงานอาชีพได้อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า บุคคลเหล่านั้นประสบความสำเร็จได้มากเมื่อได้ทำงานที่เขาให้ความสนใจอย่างจริงจัง ผลการศึกษานี้ได้ถูกนำมาปรับใช้ในการเพิ่มผลผลิตและการคัดเลือกคนเข้าทำงาน โดยก่อนจะมอบหมายงานหรือก่อนจะรับบุคคลเข้าทำงาน จะศึกษาทดสอบว่าบุคคลนั้นมีความสนใจในงานที่จะได้รับมอบหมาย หรืองานที่มาสมัคร อย่างจริงจังหรือไม่เพียงใด และถือเป็นปัจจัยคัดสรรที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวุฒิหรือประวัติการศึกษา

     โดยหลักบริหารทั่วไป ผู้บริหารสามารถเพิ่มผลผลิตหรือผลงานได้ด้วยการ

  1. คัดสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน
  2. มอบหมายงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ
  3. ให้รางวัลที่สมควรเพื่อตอบแทนผลการปฏิบัติงาน
  4. ส่งเสริมผู้ปฏิบัติให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

Read the rest

10 Recruitment Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาด 10 ประการในการรับพนักงานใหม่

     เราทุกคนล้วนเคยทำผิดพลาดกันมาแล้วทั้งสิ้น บางคนอาจได้เรียนรู้ในความผิดพลาด แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนได้ทำอะไรผิดไป โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกรับพนักงานใหม่ เช่น เมื่อเสร็จกระบวนการเลือกรับแล้ว คุณอาจรู้สึกมั่นใจเป็นอย่างมากว่า บุคคลที่คุณเลือกจะต้องเป็นทรัพยากรบุคคลที่สร้างคุณค่าให้แก่องค์กร เพราะเขามีประวัติส่วนตัวดีเยี่ยม มีไหวพริบในการตอบคำถามและนำเสนอตนเองในการสอบสัมภาษณ์ได้อย่างโดดเด่น แต่แล้วบุคคลดังกล่าวกลับไม่ผ่านการประเมินในขั้นทดลองงาน เข้ากับทีมงานไม่ได้ และไม่สามารถสร้างงานในแขนงใดได้เลย คุณรู้ดีว่า การเปิดรับและเริ่มกระบวนการคัดเลือกใหม่เป็นการเสียทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย และโอกาสการทำงาน แต่คุณก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเปิดรับใหม่ แต่ในเมื่อคุณไม่รู้ว่าได้ทำอะไรผิดพลาดไปในกระบวนการคัดเลือก คุณก็อาจกลับเข้าสู่วงจรเดิม คือ ได้คนที่ไม่เหมาะกับการทำงาน หรือได้คนที่ไม่ต้องการทำงานร่วมกับคุณ
     แม้ว่าจะไม่มีกระบวนการเลือกรับบุคคลเข้าทำงานกระบวนการใดที่สามารถรับประกันได้ว่า คุณจะได้คนเก่งและเหมาะสมกับงานในทุกครั้งที่เปิดรับ แต่การได้เรียนรู้ปัญหาและหลุมพราง 10 ประการต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการคัดเลือกบุคคล และได้ผู้ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณมากขึ้นกว่าเดิม

   1) ไม่มีคำบรรยายลักษณะงานที่ชัดเจน
     ในประกาศรับสมัครงาน คุณต้องลงคำบรรยายลักษณะงานให้ถูกต้องตามความเป็นจริง คำบรรยายลักษณะงานที่ดี ไม่ควรจะมีแค่

Read the rest

ทำไม HR ไม่สามารถนำการเปลี่ยนแปลง

 

     งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources: HR) เป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมทั้งการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management: HRM) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development: HRD) เป็นงานที่น่าจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าในองค์กรเพราะเป็นงานที่เกี่ยวข้องทั้งการบริหารและการพัฒนาพนักงานในทุกสายงาน
     แต่ในทางปฏิบัติ HR กลับมีภาพเป็นพวกที่ติดยึดอยู่กับกฎระเบียบ ขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีบทบาทสำคัญ การบริหารและพัฒนาพนักงานซึ่งควรเป็นงานของ HR กลับตกเป็นงานในความรับผิดชอบของหัวหน้างานหรือของผู้บริหารในแต่ละสายงาน การจ่ายค่าตอบแทนก็ตกเป็นงานของฝ่ายบัญชีหรือการเงิน ส่วนการจัดทำและควบคุมกฎระเบียบ รวมถึงวินัยและการลงโทษ บางองค์กรโดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ ก็มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาภายนอกรับไปดำเนินการ งานด้าน HR ในหลายองค์กรจึงกลายเป็นงานธุรการที่เน้นหนักไปในเรื่องการดูแลความปลอดภัย ความสะอาด และจัดซื้อของใช้ในสำนักงาน

     ความตกต่ำของงาน HR จนไม่สามารถนำความเปลี่ยนแปลงใดๆ มาสู่องค์กร เป็นผลมาจากความบกพร่องของทักษะการทำงานในงานหลักของ HR Read the rest

การเตรียมตัวเข้าสอบสัมภาษณ์งาน

    

     การเข้าไปให้คนอื่นตั้งคำถามที่เราไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น หลายคนต้องมานั่งเสียใจในภายหลังว่าน่าจะตอบอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่น่าตอบอย่างนั้นอย่างนี้ นอกจากความตื่นเต้นจะมาจากการถูกตั้งคำถามที่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนแล้ว ยังมาจากความสับสนลังเลเนื่องจากคำตอบทุกคำตอบจะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้สัมภาษณ์ว่าดีพอจะคัดเลือกเราเข้าทำงานหรือไม่ ปัญหาเหล่านี้จะลดลงหรืออย่างน้อยก็เพิ่มความมั่นใจแก่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ได้มากถ้าผู้จะเข้ารับการสัมภาษณ์ได้รู้หลักการตอบคำถาม ได้เตรียมคำตอบ และได้ซักซ้อมเวลาที่ใช้ตอบไว้เป็นการล่วงหน้า

หลักการตอบคำถามในการสัมภาษณ์งาน
    1. อย่าฝืนความรู้สึกตื่นเต้นของตนเองมากเกินไป ยอมปล่อยให้ตนเองตื่นเต้นบ้างก็ได้ ที่สำคัญคือต้องคุมสติให้อยู่ มิเช่นนั้นจะฟังคำถามไม่รู้เรื่อง
    2. ฝึกซ้อมตอบคำถามที่คาดว่าจะถูกถาม อย่าท่องคำตอบที่เตรียมไว้เพราะหากคำถามเบี่ยงเบนไปจากที่คาดเพียงเล็กน้อยก็อาจกลายเป็นตอบไม่ตรงคำถามได้
    3. เตรียมซ้อมจับเวลา อย่าใช้เวลาในการตอบแต่ละคำตอบยาวเกิน 2 นาที การตอบที่กระชับ ตรงประเด็น ดีกว่าการพูดยาวแต่วกวน
    4. ค้นหาเจตนาของผู้ถามว่าต้องการคำตอบอะไรจากคำถามนั้น เกือบร้อยทั้งร้อย ผู้ถามต้องการทราบข้อมูลด้านศักยภาพเพื่อดูความเหมาะสมในการรับเข้าทำงานในตำแหน่งนั้นๆ และเป็นคำตอบที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับคำตอบของผู้สมัครรายอื่นได้ว่าใครเหนือกว่า แม้จะเป็นคำถามที่ธรรมดาที่สุด เช่น “ช่วยเล่าเรื่องของคุณให้ฟังหน่อย” ก็มีวัตถุประสงค์อยู่ตรงนี้เช่นกัน พึงระลึกว่าผู้ถามไม่มีเวลามานั่งคุยเล่นกับเรา
    5. ปกติแล้วถ้าเราตอบไม่เข้าเป้าตามความต้องการของผู้ถาม ถ้าคำตอบนั้นไม่ไร้สาระจนผู้ถามตัดสินใจได้ในทันทีว่าท่านไม่เหมาะที่จะรับเข้าทำงานแล้ว ผู้ถามจะถามซ้ำโดยระบุเจตนาที่แท้จริงหรือไม่ก็ตั้งคำถามอื่นที่ชัดเจนขึ้นเพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ Read the rest