10 Recruitment Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาด 10 ประการในการรับพนักงานใหม่

     เราทุกคนล้วนเคยทำผิดพลาดกันมาแล้วทั้งสิ้น บางคนอาจได้เรียนรู้ในความผิดพลาด แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนได้ทำอะไรผิดไป โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกรับพนักงานใหม่ เช่น เมื่อเสร็จกระบวนการเลือกรับแล้ว คุณอาจรู้สึกมั่นใจเป็นอย่างมากว่า บุคคลที่คุณเลือกจะต้องเป็นทรัพยากรบุคคลที่สร้างคุณค่าให้แก่องค์กร เพราะเขามีประวัติส่วนตัวดีเยี่ยม มีไหวพริบในการตอบคำถามและนำเสนอตนเองในการสอบสัมภาษณ์ได้อย่างโดดเด่น แต่แล้วบุคคลดังกล่าวกลับไม่ผ่านการประเมินในขั้นทดลองงาน เข้ากับทีมงานไม่ได้ และไม่สามารถสร้างงานในแขนงใดได้เลย คุณรู้ดีว่า การเปิดรับและเริ่มกระบวนการคัดเลือกใหม่เป็นการเสียทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย และโอกาสการทำงาน แต่คุณก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเปิดรับใหม่ แต่ในเมื่อคุณไม่รู้ว่าได้ทำอะไรผิดพลาดไปในกระบวนการคัดเลือก คุณก็อาจกลับเข้าสู่วงจรเดิม คือ ได้คนที่ไม่เหมาะกับการทำงาน หรือได้คนที่ไม่ต้องการทำงานร่วมกับคุณ
     แม้ว่าจะไม่มีกระบวนการเลือกรับบุคคลเข้าทำงานกระบวนการใดที่สามารถรับประกันได้ว่า คุณจะได้คนเก่งและเหมาะสมกับงานในทุกครั้งที่เปิดรับ แต่การได้เรียนรู้ปัญหาและหลุมพราง 10 ประการต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการคัดเลือกบุคคล และได้ผู้ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณมากขึ้นกว่าเดิม

   1) ไม่มีคำบรรยายลักษณะงานที่ชัดเจน
     ในประกาศรับสมัครงาน คุณต้องลงคำบรรยายลักษณะงานให้ถูกต้องตามความเป็นจริง คำบรรยายลักษณะงานที่ดี ไม่ควรจะมีแค่

Read the rest

การประเมินความต้องการและกำหนดวัตถุประสงค์การฝึกอบรม

     การวิเคราะห์งาน (Task Analysis) เป็นการศึกษาเนื้องานอย่างละเอียดเพื่อดูว่าพนักงานนั้นมีความต้องการทักษะอะไรเพื่อใช้ในการทำงาน ส่วนมากจะนำมาใช้กับพนักงานระดับล่างซึ่งหน่วยงานจะรับผู้ไม่มีประสบการณ์แล้วฝึกอบรมใหม่ตั้งแต่ต้นเพื่อให้พนักงานใหม่นั้นได้เรียนรู้ทักษะและความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน การวิเคราะห์งานจึงเป็นกิจกรรมที่นำมาใช้เพื่อกำหนดความต้องการการฝึกอบรมของพนักงานใหม่

     คำบรรยายลักษณะงาน (job description) และคำพรรณนางาน (job specification) ก็สามารถนำมาใช้เป็นพื้นฐานอ้างอิงในการกำหนดความต้องการการฝึกอบรมได้เพราะในเอกสารดังกล่าวได้ระบุหน้าที่และทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานเอาไว้ นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดความต้องการการฝึกอบรมได้จากการทบทวนค่ามาตรฐานการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานที่เป็นอยู่ และการสอบถามหัวหน้างาน

     มีคำอีกคำที่คล้ายกันคือคำว่า การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน (Performance Analysis) ใช้สำหรับการประเมินความต้องการการฝึกอบรมของพนักงานที่ทำงานอยู่แล้วในปัจจุบันโดยการค้นหาข้อเท็จจริงว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้างในการปฏิบัติงานและพิจารณาว่าข้อบกพร่องเช่นว่านั้นควรแก้ไขด้วยการใช้การฝึกอบรม หรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์วิธีอื่น

     ความต้องการการฝึกอบรมมีที่มาจากแหล่งต่าง ดังนี้
  1. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  2. การสังเกตของหัวหน้างานหรือผู้เชี่ยวชาญ
  3. การสัมภาษณ์พนักงานหรือหัวหน้างาน
  4. การทดสอบความรู้และทักษะที่ใช้ในงาน
  5. การสำรวจเจตคติ
  6. ผลการประเมินของหน่วยงาน

     ขั้นแรกของการประเมินคือการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับที่ควรเป็น เช่น ยอดขาย อัตราการเกิดอุบัติเหตุ Read the rest