Achieving Quick Wins

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การสร้างความสำเร็จในบทบาทหน้าที่ใหม่ของผู้นำ

     การเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงานจากพนักงานธรรมดาขึ้นเป็นผู้นำโดยตำแหน่ง หรือจาก ผู้นำตำแหน่งหนึ่งเลื่อนสู่ผู้นำอีกตำแหน่งหนึ่งที่สูงกว่า ล้วนเป็นความคาดหวังและความใฝ่ฝันของบุคลากรทุกคนในองค์กร ยิ่งผู้ได้รับเลื่อนตำแหน่งสามารถปรับตัวเข้ากับหน้าที่บทบาทใหม่และสร้างผลงานให้กับองค์กรได้เร็ว (quick win) เท่าไร ก็ยิ่งเป็นเกียรติประวัติและเครื่องพิสูจน์ว่าตนเป็นผู้ที่มีความสามารถจริง และเหมาะจะได้รับการเลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ เราจึงควรมาศึกษาเรียนรู้กันว่า อะไรคือปัจจัยที่สร้างความสำเร็จแบบ quick win และอะไรคือปัจจัยที่ทำให้เขาเหล่านั้นต้องพบกับความล้มเหลว

นิยามคำว่า Quick win
     หมายถึงความสำเร็จภายหลังการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำด้วยผลงานที่จับต้องได้ เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา โดยทั่วไปแล้ว ความสำเร็จที่เรียกว่า quick win ควรเห็นผลได้ภายใน 30 - 90 วันแรกนับตั้งแต่เริ่มงานในบทบาทหน้าที่ใหม่

     เนื้อหาในบทความนี้

Read the rest

ACHIEVE Coaching Model

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การพัฒนาศักยภาพบุคคลและคณะบุคคลด้วย ACHIEVE model

     ACHIEVE เป็นรูปแบบการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานด้วยการให้คำแนะนำ (coaching) และคำปรึกษา (mentoring) แก่ผู้เรียนรู้ (coachee) ซึ่งอาจเป็นบุคคล หรือคณะบุคคล ให้สามารถกำหนดเป้าหมายและแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าขององค์กร Dembkowski and Eldridge เป็นผู้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นมาโดย เขียนไว้ในบทความชื่อ Beyond Grow: A new coaching model (2003) ในภาพรวม ACHIEVE model มีระเบียบวิธีและลักษณะการดำเนินงานคล้าย GROW model แต่เน้นความร่วมมือระหว่าง coach และ coachee เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (behavioral change) ของ

Read the rest

9 Levels of Learning [Gagne]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ลำดับการเรียนรู้ 9 ขั้นตอน

     Robert M. Gagne (1916 – 2002) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 1940 ระหว่างทำงานให้กับกองทัพอเมริกันในสงครามโลกครั้งที่สอง Gagne ได้วางรากฐานการสอนที่ดี (good instruction) และมาได้รับชื่อเสียงมากที่สุดจากหนังสือชื่อ The Conditions of Learning (1965) ในหนังสือดังกล่าว เขาได้กล่าวถึงสภาพจิตใจ (mental condition) ของผู้เรียนว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ ลำดับการเรียนรู้ 9 ขั้นตอนของ Gagne เป็นข้อแนะนำที่จำเป็นและเป็นประโยชน์กับการเรียนรู้ทุกประเภท แต่ที่ Gagne เน้นเป็นพิเศษในหนังสือของเขา คือการให้การฝึกอบรมในสภาพแวดล้อมการทำงานซึ่งวิทยากรหรือผู้สอนสามารถใช้เป็น checklist ตรวจความพร้อมและการเตรียมการของตนก่อนเริ่มการฝึกอบรมหรือการสอน

Read the rest

7 Deadly Diseases of Management [Deming]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ปัญหา 7 ประการที่เป็นอุปสรรคกีดขวางความสำเร็จขององค์กร

     William Edwards Deming นักสถิติและที่ปรึกษาด้านการบริหาร ผู้ได้รับการยกย่องเป็นกูรูด้านการบริหารงานคุณภาพ ได้เขียนแนวคิดที่สำคัญไว้สามเรื่อง คือ “14 Points for Management” เพื่อเสนอปรัชญาการบริหารงานคุณภาพตามหลักสถิติ, Plan-Do-Check-Act เพื่อเสนอวงจรการบริหารงานคุณภาพ, และ “7 Deadly Diseases of Management” เพื่อชี้ให้เห็นปัญหาร้ายแรงเจ็ดประการซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางความสำเร็จขององค์กร

     เดิม Deming กล่าวถึงปัญหาซึ่งถือเป็นอุปสรรคหรือโรคร้ายที่กีดขวางความสำเร็จขององค์กรไว้เพียงห้ารายการ แต่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 เขาได้เพิ่มปัญหาขึ้นมาอีกสองรายการ คือค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายด้านคดีความ ปัญหาที่เพิ่มขึ้นมานี้เป็นปัญหาภายนอกซึ่งต้องได้รับความร่วมมือในระดับนโยบายรัฐ แต่เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ตามแนวคิดของ Deming ผู้เขียนจึงได้นำปัญหาทั้งสองมารวมเข้าในบทความนี้ด้วย

     ปัญหา 7 ประการที่เป็นอุปสรรคกีดขวางความสำเร็จขององค์กร

Read the rest

7 Degrees of Freedom of Growth [McKinsey]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ทางเลือก 7 ประการในการขยายธุรกิจ เรียงลำดับตามความซับซ้อนของปัญหาและอุปสรรค

     มีวิธีการมากมายที่องค์กรสามารถนำมาใช้เพื่อขยายกิจการของตนให้เติบโตก้าวหน้า แต่น่าเสียดายที่ผู้บริหารจำนวนไม่น้อยกลับติดยึดอยู่กับวิธีเดิม ๆ ที่เคยใช้มาในอดีตและวนเวียนใช้แต่วิธีการดังกล่าว ความคุ้นชินกับอุปาทานเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งกีดขวางหรือจำกัดโอกาสที่ธุรกิจจะได้เติบโตมากขึ้นไปอีกอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น เพื่อเปิดมุมมองที่กว้างขวางขึ้น ผู้บริหารจึงควรพิจารณาหนทางอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์และมีความเป็นไปได้เป็นการเพิ่มเติมด้วย

     Mehrdad Baghai, Stephen Coley และ David White ซึ่งร่วมงานอยู่กับบริษัท McKinsey and Company ได้จัดกลุ่มรูปแบบการพัฒนาธุรกิจและให้ชื่อรูปแบบนี้ว่า Seven Degrees of Freedom of Growth เผยแพร่ในหนังสือชื่อ The Alchemy of Growth: Practical Insights

Read the rest

6 Stages of Delegation

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
กระบวนการ 6 ขั้นตอนในการมอบหมายงานให้ประสบผลสำเร็จ

     เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น งานที่ทำก็จะเพิ่มความซับซ้อนยิ่งขึ้น ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งหน้าที่ซึ่งเคยใช้ปฏิบัติกันมาเป็นอย่างดีจะเริ่มสับสน ขาดความชัดเจน นอกจากงานจะมีปริมาณมากขึ้นแล้ว งานในหลายลักษณะยังต้องการทักษะความรู้ความชำนาญเป็นการเฉพาะมากขึ้นด้วย ดังนั้น หากผู้บริหารและผู้นำแต่ละคนยังคงกอดงานเหล่านั้นไว้กับตัว ก็อาจสร้างความเสียหายให้กับองค์กรได้ การมอบหมายงานจึงเป็นเทคนิคการบริหารรูปแบบหนึ่งที่นำมาแก้ปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในลักษณะจากบนลงล่าง คือจากผู้บังคับบัญชามอบให้ลูกน้อง และในระดับแนวราบ คือหัวหน้าทีมงานมอบให้สมาชิกทีมงาน การมอบหมายงานเป็นกระบวนการบริหารที่ท้าทายความสามารถของผู้นำ จำเป็นต้องทำให้ถูกต้องอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จึงจะได้ผลงานที่มีคุณภาพและปริมาณตามที่มุ่งหวัง

กระบวนการมอบหมายงาน
     การมอบหมายงานให้ประสบผลสำเร็จ จะต้องมอบสิ่งที่ควรมอบ ให้แก่ผู้รับที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ในเวลาที่สมควร พร้อมการมอบอำนาจหน้าที่และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติ การมอบหมายงานเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนา การสร้างแรงจูงใจ การส่งเสริมการพัฒนาตนเองของพนักงาน และการวางแผนสืบทอดตำแหน่งในองค์กร มีลำดับการปฏิบัติแบ่งเป็น 6 ขั้น ดังนี้

1. พิจารณาว่างานใดควรมอบหมายออกไป (Sort the tasks

Read the rest

6 Problem Behaviors [Waldroop and Butler]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
พฤติกรรม 6 ประการที่เป็นปัญหากับทีมงาน [Waldroop and Butler]

     คนเรา ถึงจะมีความรู้สามารถมากมายเพียงใด ก็อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่สร้างปัญหาให้กับคนอื่นได้โดยไม่ตั้งใจ เช่น จุกจิกในรายละเอียดต่างๆ มากเกินไป, กลัวคนอื่นทำไม่ได้อย่างใจจึงกวาดงานมาทำเองจนล้น, หรือต้องการให้งานมีความสำคัญจึงปั่นงานธรรมดาๆ ให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตโดยไม่จำเป็น พฤติกรรมดังกล่าวอาจมาจากความหวังดีของเจ้าของพฤติกรรมที่ต้องการให้งานสมบูรณ์ถูกต้องด้วยมาตรฐานสูงสุดโดยไม่ทันได้นึกถึงผลกระทบที่มีต่อความรู้สึกของผู้ร่วมงาน ผู้บริหารและผู้นำ (ต่อไปจะใช้คำว่าผู้นำอย่างเดียวเพื่อความกระชับของเนื้อหา) จะต้องสังเกตพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเหล่านี้และเข้าจัดการแก้ไขทันทีก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นปัญหาของทีมงานหรือขององค์กร

     ในทางจิตวิทยา พฤติกรรมซึ่งสร้างปัญหาในการทำงาน มีสาเหตุมาจาก
  (1) ไม่สามารถเข้าใจโลกในมุมมองของคนอื่น
     บางคนไม่สามารถออกจากกรอบความคิดของตนเอง ไม่พร้อมที่จะมองโลกในมุมมองของคนอื่น มีพฤติกรรมที่ขาดการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่สามารถสลัดความรู้สึกที่จะต้องเอาให้ได้ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก การจะทำให้บุคคลที่ติดยึดอยู่กับความคิดของคนเองสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน เจ้านาย ลูกน้อง ลูกค้า หรือแม้กระทั่งคู่แข่ง จำเป็นจะต้องให้บุคคลนั้นรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และยอมรับความเป็นจริงว่าทุกคนล้วนมีเหตุผลในมุมมองของตนซึ่งควรจะต้องรับฟัง

  (2) ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเมื่อไรควรใช้อำนาจและควรใช้อย่างไร
     มีคนจำนวนไม่น้อยใช้อำนาจไปในทางมิชอบ และก็มีคนอีกไม่น้อยเช่นกันใช้อำนาจไม่เป็น

Read the rest

16 Personality Factors (16 PF) Test [Cattell]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ปัจจัย 16 ประการในการทดสอบบุคลิกภาพบุคคล [Raymond Cattell]

     Raymond Cattell นักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีและฟิสิกส์ ได้หันความสนใจมาศึกษาจิตวิทยาในทศวรรษที่ 1920 ซึ่งในตอนนั้น เขารู้สึกผิดหวังที่พบว่าจิตวิทยาเป็นสาขาความรู้ที่เต็มไปด้วยนามธรรม ทฤษฎีและแนวคิดก็ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและยังแทบไม่มีพื้นฐานในทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีด้านบุคลิกลักษณะส่วนใหญ่จะอิงกับหลักปรัชญาและการคาดการณ์เป็นการส่วนตัว หรือไม่ก็พัฒนาขึ้นมาโดยคนในวงการแพทย์ เช่น Jean Charcot และ Sigmund Freud ซึ่งได้สร้างทฤษฎีบุคลิกภาพขึ้นมาตามสัญชาติญาณความรู้สึกและจากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลที่มีความผิดปกติในด้านสติปัญญา
(psychopathology) เป็นหลัก

     Cattell จึงสร้างแบบทดสอบบุคลิกภาพขึ้นมาอย่างเป็นระบบด้วยความมุ่งหมายที่จะค้นหาบุคลิกภาพพื้นฐานของบุคคล รวมถึงวิธีที่ใช้วัดระดับของบุคลิกภาพดังกล่าว เขาเชื่อว่าบุคลิกภาพของบุคคลต้องมีสิ่งที่เป็นหลักพื้นฐานเปรียบได้กับโลกทางวัตถุที่มีอ็อกซิเจนและไฮโดรเจนเป็นพื้นฐาน หากสามารถค้นพบและวัดหลักพื้นฐานทางบุคลิกภาพของบุคคลได้ ก็จะสามารถเข้าใจและทำนายพฤติกรรม เช่น ความคิดสร้างสรรค์, ภาวะผู้นำ, ความบริสุทธิ์ใจ, หรือความก้าวร้าวของบุคคลได้มากขึ้น เขาได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ Charles Spearman ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน

Read the rest

5 Forces [Porter]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ปัจจัย 5 ประการที่สร้างพลังการแข่งขันในธุรกิจอุตสาหกรรม [Porter]

     ศาสตราจารย์ Michael E. Porter แห่ง Harvard Business School ได้พัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า Five Forces และนำเผยแพร่ในวาiสาร Harvard Business Review เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1979 และจัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Competitive Strategy, Techniques for Analyzing Industries and Competitors ในปี 1980 เพื่อใช้เป็นกรอบประเมินสภาพความรุนแรง (intensity) ของการแข่งขันรวมทั้งโอกาสการเข้ามีส่วนร่วมทำกำไร (attractiveness) ในอุตสาหกรรม ตามแนวคิดนี้

Read the rest

14 Misconceptions About Leadership

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความเข้าใจผิด 14 ประการในเรื่องภาวะผู้นำ

     ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เช่น ผู้นำคือผู้ที่มีความสามารถพิเศษกว่าคนทั่วไป อาจส่งผลได้ทั้งทางบวกและทางลบ ผลในทางบวกคือ เกิดเป็นความศรัทธาและความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ ส่วนผลในทางลบคือ การวางมือ ปล่อยให้ผู้นำได้ใช้ความสามารถที่เป็นพิเศษนั้นดำเนินการไปเพียงลำพัง โดยทีมงานคอยแต่จะรับคำสั่งและความช่วยเหลือจากผู้นำ
    ถึงจะมีผลในทางบวกอยู่บ้าง แต่ความเข้าใจผิดก็คือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้นำที่ดีจะไม่ปล่อยให้ความเข้าใจผิดนั้นคงมีอยู่ต่อไปแม้ความเข้าใจผิดนั้นจะเกิดประโยชน์แก่ตน เพราะหากปล่อยให้ทีมงานได้ทราบความจริงด้วยตนเองในภายหลังว่า ผู้นำที่แท้ก็เป็นปุถุชนคนหนึ่งที่มีโอกาสผิดพลาดและมีความสามารถจำกัดเช่นเดียวกับคนอื่นๆ คนเหล่านั้นอาจไม่ได้คิดว่าที่ผู้นำไม่ได้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทีมงานทราบ เป็นเพราะการมองข้ามความจำเป็นในเรื่องนี้ แต่พวกเขาอาจคิดไปได้ว่า ผู้นำตั้งใจสร้างความเข้าใจผิด หรือตั้งใจหลอกให้พวกเขาเข้าใจเช่นนั้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการทำงานเป็นทีม

     ความเข้าใจผิดในเรื่องภาวะความเป็นผู้นำ มีมากมาย แต่ที่พบเห็นกันบ่อยๆ มี 14 ประการ ดังนี้

1. ผู้นำ ถ้าไม่มั่นใจก็คงไม่สั่ง (Leaders are confident in their

Read the rest