Activity-Based Management (ABM)

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การบริหารข้อมูลฐานกิจกรรม

     การบริหารข้อมูลฐานกิจกรรม (Activity-Based Management: ABM) หมายถึงการวิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพการทำกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-Based Costing: ABC) มาวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (value-chain analysis) โดยมีพื้นฐานความคิดว่าทุกกิจกรรมจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าบริการไม่ต่ำกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ข้อมูลที่ได้จากต้นทุนฐานกิจกรรม (ABC) จึงนำมาใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หลักสองประการ ได้แก่
   (1) เพื่อใช้เป็นต้นทุนของสินค้าบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนทางอ้อมซึ่งจะมีความจำเพาะเจาะจงกับตัวสินค้าบริการมากกว่าวิธีการคิดต้นทุนแบบเดิมซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยกับสินค้าบริการทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มต้นทุน (cost pool) เดียวกัน
   (2) เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารใช้วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนา (ABM) สินค้า, กระบวนการผลิต ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบริษัทให้มีความสามารถในการแข่งขันมากยิ่ง ๆ ขึ้น กิจกรรมใดที่สร้างคุณค่า ก็พัฒนาเสริมเติมความแข็งแกร่งให้มากขึ้น กิจกรรมใดไม่เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าบริการ ก็ปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือตัดทิ้งไป

     ลักษณะของกิจกรรมที่มีปัญหา เช่น มีต้นทุนสูงกว่าที่ควรโดยอาจมีสาเหตุมาจากการดำเนินกิจกรรมที่ผิดพลาดและเป็นปัญหาในตัวเอง หรืออาจเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากกิจกรรมอื่น การศึกษากิจกรรมจากผังกระบวนการทำงาน

Read the rest

7 Domains Model [Mullins]

 

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
คำถาม 7 หัวข้อที่ใช้ในการประเมินโอกาสความสำเร็จทางธุรกิจ

     John Mullins ศาสตราจารย์ประจำ Entrepreneurship Faculty, London Business School เป็นผู้พัฒนาแนวคิดที่เรียกว่า The Seven Domains Model และจัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ The New Business Road Test (2003) แนะนำให้ผู้ประกอบการทดสอบโอกาสความสำเร็จของธุรกิจเริ่มต้น (startup) รวมถึงการออกสินค้าหรือโครงการใหม่ ด้วยการตอบคำถามซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาดและอุตสาหกรรมทั้งระดับมหภาค จุลภาค รวมถึงความพร้อมของผู้บริหารและทีมงานในการบริหารและแก้ไขปัญหา รวมทั้งหมด 7 หัวข้อ (domain) การตอบคำถามเหล่านี้ จะต้องตอบอย่างตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริง ในกรณีที่คุณพบว่าไม่มีหรือไม่รู้ข้อมูลในเรื่องใด นั่นคือเครื่องชี้ว่าคุณต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนั้น อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจโดยใช้เพียงอุปาทานความเชื่อส่วนตัว

Read the rest

7 Degrees of Freedom of Growth [McKinsey]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ทางเลือก 7 ประการในการขยายธุรกิจ เรียงลำดับตามความซับซ้อนของปัญหาและอุปสรรค

     มีวิธีการมากมายที่องค์กรสามารถนำมาใช้เพื่อขยายกิจการของตนให้เติบโตก้าวหน้า แต่น่าเสียดายที่ผู้บริหารจำนวนไม่น้อยกลับติดยึดอยู่กับวิธีเดิม ๆ ที่เคยใช้มาในอดีตและวนเวียนใช้แต่วิธีการดังกล่าว ความคุ้นชินกับอุปาทานเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งกีดขวางหรือจำกัดโอกาสที่ธุรกิจจะได้เติบโตมากขึ้นไปอีกอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น เพื่อเปิดมุมมองที่กว้างขวางขึ้น ผู้บริหารจึงควรพิจารณาหนทางอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์และมีความเป็นไปได้เป็นการเพิ่มเติมด้วย

     Mehrdad Baghai, Stephen Coley และ David White ซึ่งร่วมงานอยู่กับบริษัท McKinsey and Company ได้จัดกลุ่มรูปแบบการพัฒนาธุรกิจและให้ชื่อรูปแบบนี้ว่า Seven Degrees of Freedom of Growth เผยแพร่ในหนังสือชื่อ The Alchemy of Growth: Practical Insights

Read the rest

6-Step Problem Solving Model

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
รูปแบบการแก้ปัญหา 6 ขั้นตอน

     รูปแบบการแก้ปัญหาที่นำมาเขียนนี้ เน้นการแก้ปัญหาด้วยข้อมูลแทนการใช้อารมณ์ความรู้สึกที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ แม้จะเป็นรูปแบบที่สามารถนำมาใช้กับปัญหาได้ทุกประเภท แต่เหมาะสมกับการสืบค้นและแก้ไขปัญหาในการทำงานมากกว่าปัญหาส่วนบุคคลเพราะเน้นการร่วมพิจารณาเป็นกลุ่ม เช่น ทีมงานหรือคณะกรรมการที่มีความรู้และประสบการณ์ ร่วมกันค้นหาสาเหตุซึ่งเป็นรากเหง้าแท้จริงของปัญหาและกำหนดทางออกหรือการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ไม่ใช่ทางออกที่ฉาบฉวยหรือแบบขอไปที รูปแบบการแก้ปัญหานี้มีขั้นตอนเพียง 6 ขั้น ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการจดจำ แต่มีขอบเขตที่กว้างขวางครอบคลุมเพียงพอในการสืบค้นปัญหาและการแก้ไข

     รูปแบบการแก้ปัญหา 6 ขั้นตอน มีลำดับการพิจารณาที่วนรอบเป็นวงกลมเพื่อเน้นให้เห็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่อง ผู้พิจารณาจะต้องพิจารณาไปทีละลำดับขั้นโดยให้ได้ข้อยุติในขั้นหนึ่งก่อนจึงจะก้าวไปสู่การพิจารณาในขั้นต่อไป แต่หากในก+รพิจารณาขั้นใดพบว่าผลการพิจารณาในขั้นก่อนมีเรื่องที่ต้องทบทวน ก็สามารถย้อนกลับไปพิจารณาในขั้นนั้นอีกได้

     การสืบค้นและแก้ปัญหาการทำงาน แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. นิยามปัญหา (Define the Problem)
     การนิยามปัญหาเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเจาะลึกลงไปหาสาเหตุที่จะต้องแก้ไข ยิ่งนิยามปัญหาได้ชัดเจนมากเท่าไรก็จะยิ่งดำเนินการในขั้นต่อ ๆ ไปได้ง่ายขึ้น เรามักจะเข้าใจผิดว่าอาการที่ปรากฏเป็นตัวปัญหา

Read the rest

6 Thinking Hats and 6 Action Shoes [Edward de Bono]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
เทคนิคการคิดจากมุมมองของหมวก 6 ใบและรองเท้า 6 คู่

     Edward de Bono เป็นผู้พัฒนาแนวคิดที่เรียกว่า 6 thinking hats และ 6 Action Shoes เพื่อเปลี่ยนวิธีมองปัญหาโดยใช้การตรวจสอบข้อมูลและความคิดเห็นจากสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม หรือในหลายๆ กลุ่ม ด้วยมุมมองที่หลากหลายในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้การตัดสินใจที่นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

     Dr. Edward de Bono เป็นนักฟิสิกส์ นักเขียน และที่ปรึกษาแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ นวัตกรรม และทักษะทางความคิด เคยได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการพิจารณารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 2005 เขาได้เขียนหนังสือชื่อ Six Thinking Hats (1985) และ

Read the rest

6 Principles of Influence [Cialdini]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
หลัก 6 ประการที่มีอิทธิพลให้รู้สึกคล้อยตาม [Cialdini]

     Dr. Robert Cialdini เป็นนักจิตวิทยาที่พยายามทำความเข้าใจว่าอะไรคือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ เขาใช้เวลาเกือบสามปีในการทำวิจัยเชิงจิตวิทยากับโครงการฝึกอบรมนักขายและนักการตลาดเพื่อให้รู้ว่าบุคคลในงานอาชีพดังกล่าวทำให้ผู้อื่นยอมรับข้อเสนอของพวกเขาได้อย่างไร ผลงานวิจัยถูกนำมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ Influence: The Psychology of Persuasion (1984) ซึ่งได้ใช้เป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์จิตวิทยาสังคมที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจซื้อต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน Cialdini เชื่อว่า มีหลักทั่วไป 6 ประการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ได้แก่

1. ให้เพื่อได้รับ (Reciprocity)
     หลักทั่วไป: บุคคลมีแนวโน้มที่จะตอบแทนบุคคลที่ให้บางสิ่งแก่ตน ด้วยพฤติกรรม (กริยาอาการ), ของขวัญ, หรือการกระทำ ในรูปแบบและมูลค่าที่สมน้ำสมเนื้อกับสิ่งที่ตนได้รับ

     Cialdini กล่าวว่า คนเรามีความต้องการตอบแทนหรือทำกับผู้อื่นเหมือนกับที่ผู้อื่นทำแก่ตน หากสิ่งที่ตนได้รับเป็นสิ่งที่ดีงาม ความรู้สึกที่ติดค้างคือบุญคุณที่จะต้องตอบแทน หากสิ่งที่ได้รับคือความเลวร้าย

Read the rest

4 P’s of Persuasion

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
หลัก 4 ประการในการเขียนเอกสารประเภทชักชวน

     หลัก 4 ประการในการเขียนนี้ เน้นไปที่การเขียนเอกสารประเภทชักจูงโน้มน้าว เช่น บทโฆษณา หรือเอกสารเชิญชวนต่างๆ การเขียนงานให้มีพลังในการโน้มน้าวจิตใจของผู้อ่าน จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระที่เขียน เกิดอารมณ์คล้อยตามจนลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการ เช่น ถ้าเป็นบทโฆษณา ก็คือการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการที่โฆษณา

     การเขียนมีโครงสร้างหลายแบบ เช่น การเขียนของนักหนังสือพิมพ์จะมีโครงสร้างที่เรียกว่า ปิรามิดกลับหัว หรือ inverted pyramid โดยผู้เขียนจะนำส่วนที่สำคัญมากที่สุดขึ้นมาก่อน ตามด้วยรายละเอียดอื่นที่สำคัญ และหากยังมีเนื้อที่หน้ากระดาษเหลือ ก็จะนำข้อมูลทั่วไป หรือที่มาของข้อมูลเหล่านั้นมาเขียนให้เต็มหน้ากระดาษ โครงสร้างนี้เหมาะกับงานเขียนหนังสือพิมพ์ที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเรื่องให้จบก็สามารถได้เนื้อหาสาระที่สำคัญของข่าว แต่หากเป็นงานเขียนที่มุ่งหมายให้ผู้อ่านอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น งานเขียนโฆษณา ในยุคแรกจะใช้โครงสร้างที่เรียกว่า AIDA ซึ่งย่อมาจาก Attention, Interest, Desire, Action

Read the rest

4-Step Innovation Process [Weiss and Legrand]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
กระบวนการสร้างนวัตกรรมใน 4 ขั้นตอน [Weiss and Legrand]

     สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก มักมองนวัตกรรมว่าเป็นเรื่องไกลตัวเพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง ใช้ประโยชน์ได้ไม่ทันคุ้มค่าใช้จ่าย ก็ตกยุค สู้คอยลอกเลียนคนอื่นแบบตามน้ำไปเรื่อยๆ ไม่ได้ หรือบางคนก็คิดว่า นวัตกรรมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ เช่น หากมีพนักงานคนหนึ่งในบริษัทเกิดความคิดบรรเจิดบางอย่างขึ้นมาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เมื่อบริษัทนำไปใช้ เกิดเป็นที่ชอบใจของลูกค้า ก็เหมาเอาว่า นั่นเป็นผลสำเร็จของการสร้างนวัตกรรม
     แม้ความบังเอิญนั้นจะถือเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรม แต่การจะหวังให้บังเอิญกันได้บ่อยๆ ก็อาจเป็นความหวังที่ไม่ชัดเจนเท่าไรนัก ที่จริงแล้ว นวัตกรรมเป็นความท้าทายที่ประกอบด้วยความไม่แน่นอน ความเสี่ยง และซับซ้อนในตัวของมันเอง ทางเลือกที่ดีกว่าการคอยให้นวัตกรรมเกิดขึ้นเองแบบบังเอิญคือ การตั้งใจสร้างนวัตกรรมตามกระบวนการที่ออกแบบมาเพื่อการสร้างนวัตกรรมเป็นการเฉพาะ นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาจะเป็นที่ยอมรับของลูกค้าหรือไม่ เป็นกระบวนการพัฒนาอีกส่วนหนึ่งที่ต้องกระทำต่อเนื่องไป การพยายามสร้างนวัตกรรมในสินค้าบริการ จะทำให้องค์กรได้มีโอกาสทบทวนความต้องการของลูกค้าและความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

     กระบวนการสร้างนวัตกรรมใน 4 ขั้นตอนที่นำมาเสนอนี้ เป็นผลงานของ David Weise

Read the rest

4-Frame Model [Bolman and Deal]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในองค์กรจาก 4 มุมมอง

     องค์กรเป็นองคาพยพที่ซับซ้อน เต็มไปด้วยบุคลากร แรงจูงใจ สมรรถนะ ข้อจำกัด ฯลฯ การมององค์กรในภาพรวม อาจทำให้ข้ามรายละเอียดที่สำคัญซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา Lee Bolman และ Terry Deal จึงได้เสนอแนวคิดเรื่อง Four-Frame Model ซึ่งแนะนำผู้บริหารให้ทำความเข้าใจองค์กรจากมุมมอง (หรือกรอบความคิด) ที่แตกต่างกัน 4 ด้าน วิธีนี้จะช่วยให้ผู้บริหารได้แง่คิดที่แตกต่างกันหลายๆ แบบในการจัดการกับปัญหา
     Lee Bolman และ Terry Deal เสนอ Four-Frame Model ไว้ในหนังสือชื่อ Reframing Organization (1991) โดยกล่าวว่า

Read the rest

4 Dimensions of Management [Birkinshaw]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
รูปแบบการบริหารใน 4 มิติ [Birkinshaw]

     การบริหารเป็นภารกิจที่ซับซ้อน ผู้บริหารต้องมีความยืดหยุ่นในการแสดงบทบาทหน้าที่ ต้องตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบการบริหารอย่างไรจึงจะสร้างความสำเร็จสูงสุดให้กับองค์กร การบริหารในบางรูปแบบอาจเป็นไปตามธรรมชาติการทำงานของผู้บริหาร ในขณะที่บางรูปแบบอาจเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องค่อยๆ ปรับรูปแบบการบริหารของตนไปจนได้รูปแบบที่นำความสำเร็จมาสู่ทั้งทีมงานและองค์กร
     Julian Birkinshaw ศาสตราจารย์ด้านการบริหารกิจการระหว่างประเทศและการดำเนินกลยุทธ์ แห่ง London Business School ได้เขียนรูปแบบการบริหารใน 4 มิติ (the Four Dimensions of Management model) ไว้ในหนังสือชื่อ Reinventing Management (2010) อธิบายกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานในองค์กรว่า กระบวนการทำงานทั้งหลายในองค์กร มักถูกสภาพการณ์ที่เป็นอยู่เวลานั้นเป็นตัวกำหนด การบริหารงานจึงมีลักษณะตั้งรับและต้องคอยแก้ไขไปตามสถานการณ์ เป็นเหตุให้การปฏิบัติงานถูกเบี่ยงเบนออกไปจากทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร การบริหารงานมักใช้ ราคา เอกลักษณ์ของสินค้า

Read the rest