ADDIE Model of Instructional Design

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การออกแบบหลักสูตรและการสอนด้วย ADDIE Model

     ADDIE model เป็นเครื่องมือออกแบบการสอนที่ช่วยให้ HR และผู้ให้การฝึกอบรมสามารถสร้างหลักสูตรการสอนและการฝึกอบรมขึ้นใช้ภายในองค์กร ADDIE เป็นโมเดลที่พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1975 โดย the Centre for Educational Technology at Florida State University เพื่อใช้ในกองทัพสหรัฐฯ และได้รับความนิยมนำไปใช้เป็นโมเดลการออกแบบการสอนในหน่วยงานราชการและธุรกิจเอกชนอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง

ADDIE model คืออะไร
     ADDIE model เป็นกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ที่ให้กรอบแนวคิดแบบมีโครงสร้าง รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ Instructional System Design หรือ ISD นิยมนำมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ในองค์กร

Read the rest

10 Dimensions of a Learning Organization [Schein]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
หลัก 10 ประการเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร

     Edgar Schein มีความเห็นว่า องค์กรจะอยู่รอดได้ก็ต่อเมื่อสามารถพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ให้รับการเปลี่ยนแปลงได้แล้วเท่านั้น Schein ให้การเรียนรู้ในองค์กรมีลำดับความสำคัญสูงกว่าเรื่องอื่น ๆ ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงของธุรกิจ การผลิต ประสิทธิภาพ หรือแม้กระทั่งความอยู่รอดของธุรกิจเพราะเขามองว่าทุกสิ่งที่กล่าวมาล้วนเป็นผลมาจากความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กร Schein ได้กำหนดคุณสมบัติหรือหลัก 10 ประการเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรไว้ในหนังสือของเขา ชื่อ The Organizational Culture and Leadership

     แนวทางการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Schein ประกอบด้วย

1. เรียนรู้การแก้ไขปัญหาในเชิงรุก (Proactivity)
     วัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรต้องเริ่มจากความเชื่อที่ว่า ผู้บริหารและผู้นำทั้งหลายในองค์กรต้องเป็นผู้แก้ปัญหาในเชิงรุก (proactively) ไม่ใช่มามัวรอ (passively) ให้คนอื่นบอกว่าจะมีหนทางแก้ไขอย่างไร กระบวนการเรียนรู้เพื่อจัดการกับปัญหาในเชิงรุกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมจึงมีความสำคัญมากกว่าการจัดการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีอื่น

     การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและขอรับคำแนะนำจากผู้นำว่าจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างไร

Read the rest

9 Levels of Learning [Gagne]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ลำดับการเรียนรู้ 9 ขั้นตอน

     Robert M. Gagne (1916 – 2002) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 1940 ระหว่างทำงานให้กับกองทัพอเมริกันในสงครามโลกครั้งที่สอง Gagne ได้วางรากฐานการสอนที่ดี (good instruction) และมาได้รับชื่อเสียงมากที่สุดจากหนังสือชื่อ The Conditions of Learning (1965) ในหนังสือดังกล่าว เขาได้กล่าวถึงสภาพจิตใจ (mental condition) ของผู้เรียนว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ ลำดับการเรียนรู้ 9 ขั้นตอนของ Gagne เป็นข้อแนะนำที่จำเป็นและเป็นประโยชน์กับการเรียนรู้ทุกประเภท แต่ที่ Gagne เน้นเป็นพิเศษในหนังสือของเขา คือการให้การฝึกอบรมในสภาพแวดล้อมการทำงานซึ่งวิทยากรหรือผู้สอนสามารถใช้เป็น checklist ตรวจความพร้อมและการเตรียมการของตนก่อนเริ่มการฝึกอบรมหรือการสอน

Read the rest

8-Step Change Model [Kotter]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงใน 8 ขั้นตอน

     John Kotter ศาสตราจารย์ด้านภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลงแห่งHarvard Business School ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงใน 8 ขั้นตอน ไว้ในหนังสือชื่อ Leading Change (1995) ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยองค์กร 100 แห่งที่อยู่ระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามแผนพัฒนาขององค์กร จุดมุ่งหมายของการนำเสนอแนวคิดเรื่องนี้คือ เพื่อเพิ่มความสามารถและโอกาสความสำเร็จของบุคคลและคณะบุคคลในการสร้างการเปลี่ยนแปลง Kotter กล่าวว่า ทุกขั้นตอนในกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีความสำคัญ การก้าวข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง อาจส่งผลให้กระบวนการทั้งหมดประสบความล้มเหลวได้

     กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดของ Kotter แบ่งออกเป็น 3 ระยะ (phrases) รวม 8 ขั้นตอน (steps) ดังนี้

<ระยะที่หนึ่ง>

Read the rest

7 Types of Waste

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความสูญเปล่า 7 ประเภทในกระบวนการผลิต

     ความสูญเปล่า (Waste) ในบทความนี้หมายถึง กิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรไปโดยไม่เกิดประโยชน์หรือคุณค่าใด ๆ แก่ผู้บริโภค เป็นค่าใช้จ่ายที่รวมอยู่ในต้นทุนของสินค้า ส่งผลให้กำไรของผู้ผลิตลดลงหรือราคาสินค้าสูงขึ้น โดยปกติแล้ว ไม่มีลูกค้าคนใดอยากจ่ายเงินให้กับความรู้สึกว่าสินค้านี้แพงเกินกว่าประโยชน์ที่ได้รับ การกำจัดความสูญเปล่าจึงช่วยให้ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนและปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น การลดหรือการกำจัดความสูญเปล่าจัดเป็นสาระสำคัญของการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Lean management) ซึ่งบริษัท Toyota ได้พัฒนาและนำมาใช้ปฏิบัติจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

ความเป็นมา
     ความคิดเกี่ยวกับการกำจัดความสูญเปล่าอย่างเป็นระบบ มีกำเนิดจากปรัชญา Kaizen ของญี่ปุ่นซึ่งมีแนวคิดว่า ผลงานสำคัญ ๆ ทั้งหลายล้วนเป็นผลมาจากการสะสมเปลี่ยนแปลงในเรื่องเล็กน้อยต่อเนื่องกันมา Kaizen จึงเป็นแนวคิดที่เปิดให้พนักงานทั้งหมดได้มีส่วนร่วมในการระดมความคิดและข้อเสนอแนะที่หลากหลายมาใช้เพื่อการพัฒนา

     ทศวรรษที่ 1950 เป็นช่วงเวลาที่ปรัชญา Kaizen เข้ามีบทบาทเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ Taiichi Onno ซึ่งได้รับมอบหมายให้วางแผนการผลิตรถยนต์ Toyota

Read the rest

7 Transformations of Leadership [Rooke and Torbert]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การปรับเปลี่ยนสู่สุดยอดความเป็นผู้นำใน 7 ระดับ

     นักจิตวิทยาการบริหารสมัยใหม่ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้นำคนหนึ่งต่างจากผู้นำอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่เพราะบุคลิกภาพหรือรูปแบบการบริหาร แต่เป็นแนวคิดที่ต่างกันในการประเมินสภาพแวดล้อมและตอบสนองสิ่งท้าทาย David Rooke ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กร และ William R. Torbert ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมในองค์กร ได้ร่วมกันเขียนบทความเรื่อง Seven Transformations of Leadership ลงพิมพ์ใน Harvard Business Review ฉบับเดือนเมษายน 2005 โดยไม่ได้เน้นปรัชญาภาวะผู้นำแบบใดเป็นการเฉพาะ แต่เน้นที่แนวคิดและพฤติกรรมการบริหารของผู้นำ Rooke และ Torbert มั่นใจว่า การทำความเข้าใจและปรับปรุงแก้ไขแนวคิดของบุคคล จะช่วยเพิ่มทั้งความสามารถในการเป็นผู้นำและความสามารถโดยรวมขององค์กร

     Rooke และ Torbert ร่วมกับคณะนักวิจัยจำนวนหนึ่ง ใช้เวลากว่า

Read the rest

7 Surprises for New CEOs [Michael Porter]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความประหลาดใจ 7 เรื่องที่ CEO ป้ายแดงไม่ได้คาดคิดมาก่อน

     CEO ป้ายแดงที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งมักไม่เข้าใจว่า เพราะเหตุใดเขาจึงไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่สร้างความสำเร็จให้กับองค์กรได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้ง ๆ ที่เขาก็เป็นผู้บริหารสูงสุดที่ต้องรับผิดชอบกับสิ่งเหล่านั้น และทั้ง ๆ ที่เขามีอำนาจมากกว่าใครในองค์กรแต่ทำไมกลับไม่สามารถใช้มันได้อย่างเสรี พวกเขาเคยคิดว่าเมื่อไต่เต้าขึ้นสู่ความสำเร็จสูงสุดในหน้าที่การงานแล้ว จะนำประสบการณ์ที่สะสมมาทั้งชีวิตมาใช้ให้เต็มที่ แต่ก็ต้องประหลาดใจเมื่อได้พบว่างานและบทบาทของ CEO แตกต่างและซับซ้อนไปกว่าที่เขาเคยนึกไว้โดยสิ้นเชิง สาเหตุของข้อจำกัดเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ CEO มีเรื่องมากมายให้ต้องทำทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลและเวลาไม่พอ อีกส่วนหนึ่งมาจากการเข้ารับบทบาทใหม่ที่ไม่คุ้นเคยและลักษณะของงานที่เปลี่ยนไป มีความขัดแย้งในตัว (paradox) เช่น ยิ่งมีอำนาจมากก็ยิ่งใช้ยาก หรือมีประสบการณ์มากแต่ไม่มีอันไหนเลยที่มีประโยชน์ต่อตำแหน่ง CEO

     Michael E. Porter, Jay W. Lorsch และ Nitin

Read the rest

6 Change Approaches [Kotter and Schlesinger]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
6 แนวทางในการบริหารการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง [Kotter and Schlesinger]

     การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี คู่แข่งรายใหม่ กฎระเบียบทางราชการ ล้วนเป็นเหตุให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายต้องปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่การจะปรับเปลี่ยนเช่นว่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่ายๆ เพราะในการเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมจะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบอยู่บ้างไม่มากก็น้อย และเป็นธรรมดาอยู่เองที่บุคคลเหล่านี้จะออกมาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงหรือต่อรองให้การเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลกระทบเชิงลบต่อตนน้อยที่สุด

     บุคคลจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงด้วยเหคุผล 4 ประการ คือ

   1) ปกป้องผลประโยชน์ส่วนตน (Parochial self-interest) บุคคลต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเมื่อรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้ตนต้องสูญเสียบางสิ่งที่มีคุณค่าไป จึงห่วงอยู่แต่เพียงเรื่องเดียวว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร ไม่สนใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลดีอย่างไรต่อองค์กร การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในกรณีนี้มักทำให้เกิดการเมืองย่อยๆ ขึ้นในองค์กร มีการจับกลุ่มพูดคุยหาแนวร่วมเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
   2) เข้าใจผิด (Misunderstanding) บางคนต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะความเข้าใจผิดในเนื้อหาสาระของการเปลี่ยนแปลง มักเกิดขึ้นภายในองค์กรที่หัวหน้าและลูกน้องไม่ค่อยเชื่อถือไว้ใจกัน ลูกน้องกลัวว่าหัวหน้าจะไม่ซื่อต่อตนและฉวยโอกาสการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ตนต้องได้รับความเสียหายไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจึงกลายเป็นเครื่องมือที่ลูกน้องนำมาใช้ปกป้องตนเอง
   3) ขาดความอดทนที่จะรอ (Low

Read the rest

5 Stages of Grief [Ross and Kessler]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
5 ลำดับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ต่อความสูญเสียในชีวิต

     Elisabeth Kubler-Ross นักจิตวิทยาชาวสวิส-อเมริกัน และ David Kessler ได้นำเสนอแนวคิดที่ว่า ผู้ป่วยหนักที่ใกล้จะเสียชีวิต และผู้ที่สูญเสียบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รัก จะมีสภาวะอารมณ์ที่สับสนและเปลี่ยนแปลงไปในห้าลำดับ เริ่มตั้งแต่การปฏิเสธไม่ยอมรับกับเรื่องที่เกิดขึ้น, ความโกรธเพื่อระบายความอัดอั้น, การต่อรองเพื่อแลกกับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น, ความสิ้นหวัง ท้อแท้, และการยอมรับความเป็นจริงของชีวิต แม้สภาวะทางอารมณ์ทั้งห้านี้จะอ่านพบได้ทั่วไป แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นทฤษฎี ในทางจิตวิทยามองแนวคิดนี้ว่าอาจมีคุณค่าอยู่บ้างในอดีต แต่ค่อนข้างจะล้าสมัยสำหรับวงการวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ในปัจจุบัน

     แนวคิดนี้ ได้จัดพิมพ์ในหนังสือชื่อ On Death and Dying ในปี ค.ศ. 1969 โดย Kubler-Ross เธอมีความสนใจเป็นพิเศษว่าบุคคลจะมีความรู้สึกและการตอบสนองอย่างไรเมื่อทราบว่าตนจะต้องตายไปในไม่ช้า เธอจึงได้ศึกษาเรื่องนี้กับผู้ป่วยใกล้ตายที่ University of Chicago’s Medical

Read the rest

ทำไม HR ไม่สามารถนำการเปลี่ยนแปลง

 

     งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources: HR) เป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมทั้งการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management: HRM) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development: HRD) เป็นงานที่น่าจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าในองค์กรเพราะเป็นงานที่เกี่ยวข้องทั้งการบริหารและการพัฒนาพนักงานในทุกสายงาน
     แต่ในทางปฏิบัติ HR กลับมีภาพเป็นพวกที่ติดยึดอยู่กับกฎระเบียบ ขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีบทบาทสำคัญ การบริหารและพัฒนาพนักงานซึ่งควรเป็นงานของ HR กลับตกเป็นงานในความรับผิดชอบของหัวหน้างานหรือของผู้บริหารในแต่ละสายงาน การจ่ายค่าตอบแทนก็ตกเป็นงานของฝ่ายบัญชีหรือการเงิน ส่วนการจัดทำและควบคุมกฎระเบียบ รวมถึงวินัยและการลงโทษ บางองค์กรโดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ ก็มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาภายนอกรับไปดำเนินการ งานด้าน HR ในหลายองค์กรจึงกลายเป็นงานธุรการที่เน้นหนักไปในเรื่องการดูแลความปลอดภัย ความสะอาด และจัดซื้อของใช้ในสำนักงาน

     ความตกต่ำของงาน HR จนไม่สามารถนำความเปลี่ยนแปลงใดๆ มาสู่องค์กร เป็นผลมาจากความบกพร่องของทักษะการทำงานในงานหลักของ HR Read the rest