Adrenaline in Workplace

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
คุณและโทษของอดรีนาลีนในการทำงาน

     อดรีนาลีน (adrenaline) หรือ epinephrine เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่หลั่งจากต่อมหมวกไตเมื่อตระหนักถึงภัยหรือสิ่งเร้า ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ อัตราการเต้นของหัวใจและแรงดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น เหงื่อออก หายใจถี่ มีปริมาณโลหิตและอ็อกซิเจนในอวัยวะและกล้ามเนื้อมากขึ้น การหลั่งอดรีนาลีนเป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาตามธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดและหลุดพ้นจากสภาวะกดดันที่เป็นอันตราย เมื่อร่างกายหลั่งอดรินาลีน บุคคลจะมีความรู้สึกกระฉับกระเฉง ตื่นตัว มีความสุข บางคนถึงขั้นเสพติด เข้าทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงเพราะอยากมีความรู้สึกดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เช่น ขับรถแข่ง, โดดจากเครื่องบินหรือหน้าผาสูง, โหนรอกข้ามป่าหรือหุบเหว ฯลฯ

ประโยชน์ของอดรีนาลีน
     อดรีนาลีน ช่วยสร้างตวามตื่นตัวให้กับร่างกาย เราจึงเห็นองค์กรหลายแห่ง นิยมให้พนักงานออกกำลังกายเบา ๆ ก่อนเริ่มทำงาน อดรีนาลีนอาจไม่มีผลโดยตรงต่อการทำงานเป็นทีม แต่การได้มีประสบการณ์ร่วมกันในกิจกรรมหรือภารกิจที่น่าตื่นเต้น จะช่วยกระชับความสัมพันธ์และความเห็นอกเห็นใจกัน นอกจากนั้นการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะช่วยสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน

     นักวิจัยจาก the University of Essex

Read the rest

Activity Log

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
บันทึกกิจกรรม

     เวลาเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เมื่อผ่านไปแล้วก็ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อีก เราทุกคนจึงควรใช้มันอย่างมีเป้าหมายและคุ้มค่า แต่ถึงกระนั้น คนส่วนใหญ่ก็มักจะปล่อยเวลาให้เสียเปล่าไปวันละหลายชั่วโมงโดยไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ถ้ายิ่งเป็นคนที่ไม่เห็นคุณค่าของเวลา ก็มักจะปล่อยมันให้หมดสิ้นไปราวกับเป็นทรัพยากรที่มีใช้อย่างไม่จำกัด สาเหตุหลักก็คงเนื่องมาจากการใช้เวลา เป็นเรื่องส่วนตัวของใครของมัน หากมิใช่ผู้บังคับบัญชาที่กำลังรองาน หรือพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของเราแล้ว ก็คงไม่มีใครจะมาสนใจว่าเราจะใช้เวลาได้อย่างมีคุณค่าหรือไม่ มารู้ตัวอีกทีก็เมื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียน หรือเพื่อนร่วมงานที่เข้างานมาพร้อมกัน ได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานจนทิ้งห่างกันไปแบบไม่เห็นฝุ่น บทความนี้จึงอยากชักชวนให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับเวลาก่อนที่ทุกสิ่งจะสายเกินไปโดยนำ activity log มาใช้เป็นเครื่องมือประกอบการพิจารณาความคุ้มค่าของเวลาในแต่ละวัน

     activity log ในบทความนี้ มุ่งเน้นการจดบันทึกการใช้เวลากับกิจกรรมการทำงานในสำนักงานและกิจกรรมส่วนตัวของผู้ทำงานดังกล่าว ไม่ใช่ activity log ที่ใช้ในกิจกรรมการขนส่งซึ่งมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า Electronic Logging Device (ELD) บันทึกระยะเวลาเริ่มต้น สิ้นสุดของการสตาร์ทเครื่องยนต์ ความเร็ว และสถานที่ที่รถคันนั้นอยู่ตามสัญญาณ GPS โดยอัตโนมัติ

     activity

Read the rest

ACHIEVE Coaching Model

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การพัฒนาศักยภาพบุคคลและคณะบุคคลด้วย ACHIEVE model

     ACHIEVE เป็นรูปแบบการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานด้วยการให้คำแนะนำ (coaching) และคำปรึกษา (mentoring) แก่ผู้เรียนรู้ (coachee) ซึ่งอาจเป็นบุคคล หรือคณะบุคคล ให้สามารถกำหนดเป้าหมายและแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าขององค์กร Dembkowski and Eldridge เป็นผู้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นมาโดย เขียนไว้ในบทความชื่อ Beyond Grow: A new coaching model (2003) ในภาพรวม ACHIEVE model มีระเบียบวิธีและลักษณะการดำเนินงานคล้าย GROW model แต่เน้นความร่วมมือระหว่าง coach และ coachee เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (behavioral change) ของ

Read the rest

Absence Management

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การบริหารการหยุดงานของพนักงาน

     แม้แต่พนักงานที่ขยัน ฉลาด กระตือรือร้น สร้างความสำเร็จในทุกเรื่อง ก็ยังต้องหยุดงานบ้างเป็นบางครั้งบางคราว หลายองค์กรจึงมองการหยุดงานว่าเป็นชีวิตส่วนตัวของพนักงานซึ่งต้องมีเจ็บป่วยหรือหยุดเพื่อทำกิจธุระจำเป็นบ้างเป็นธรรมดา นอกจากนั้น ในบางส่วนของการหยุด ยังเป็นสิทธิที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องยินยอมให้ลูกจ้างหยุดงานได้ องค์กรส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยให้ความสนใจกับการหยุดงานของพนักงานตราบใดยังไม่เกินจำนวนวันที่กฎหมายและองค์กรอนุญาตให้หยุด

     การหยุดงานของพนักงาน แม้จะอยู่ภายในกรอบของระเบียบข้อบังคับที่กฎหมายและองค์กรกำหนด แต่องค์กรก็ควรมีแผนการบริหารจัดการวันหยุดของพนักงานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายขององค์กรในกรณีที่พนักงานเกิดหยุดงานไปหลายคนในคราวเดียว หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ในองค์กรทั้งหลาย คือ หน่วยงานด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งนอกจากจะมีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลและผลกระทบจากการหยุดงานของพนักงานของแต่ละส่วนงานแล้ว ยังต้องจัดทำนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อการบริหารการหยุดงานที่สอดรับกับข้อกำหนดทางกฎหมายและความสม่ำเสมอในการทำงานของพนักงานอีกด้วย

การบริหารการหยุดงานคืออะไร
     การบริหารการหยุดงาน (absence management) หมายถึง นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่องค์กรจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
  1. ควบคุมให้การหยุดงานของพนักงานเป็นไปตามความจำเป็นและเป็นจริง ตามที่กฎหมายและองค์กรกำหนด
  2. ให้มีขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการพิจารณาอนุมัติและจดบันทึก
  3. ให้มีแผนงานทดแทนงานของผู้หยุดงาน เพื่อรักษาความสม่ำเสมอในการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จำเป็นต้องหยุดงานในระยะยาว เช่น การคลอดและดูแลบุตร

     ในการบริหารการหยุดงาน หน่วยงานด้านทรัพยากรบุคคลมักจะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบในการ
  1) จัดทำนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการหยุดงาน
  2)

Read the rest

ABCD Trust Model [Ken Blanchard]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
สร้างความไว้วางใจในความเป็นผู้นำด้วยคุณสมบัติ ABCD

     เป็นรูปแบบภาวะผู้นำที่เน้นการได้รับความไว้วางใจเป็นปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการทำงาน ความไว้ใจที่มีต่อกันทำให้เกิดความร่วมมือ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และผลงานที่ประสิทธิภาพ ตรงข้ามกับความไม่วางใจซึ่งเป็นที่มาของการวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิติเตียน ระแวงสงสัย และความวิตกกังวล

     ความไว้วางใจเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของความสัมพันธ์ทุกประเภท เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้องค์กรธรรมดา ๆ กลายเป็นองค์กรผลงานเลิศ (high-performance organization) ความไว้วางใจเป็นความรู้สึกที่ควรมีด้วยกันทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายหัวหน้าหรือผู้นำ และฝ่ายลูกน้องหรือผู้ตาม เมื่อใดที่ความไว้วางใจขาดหายไป ลูกน้องอาจหันไปพึ่งพิงผู้อื่นที่ตนไว้วางใจมากกว่า และหัวหน้าก็อาจไม่อยากมอบหมายงานสำคัญให้ทีมงานหรือผู้ที่ตนไม่ไว้วางใจทำอีกต่อไป งานที่เคยทำได้อย่างราบรื่นก็จะล่าช้าออกไปเนื่องจากต้องมาเริ่มต้นศึกษากันใหม่ ความไว้วางใจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะและบำรุงเลี้ยงให้เติบโต แต่ก็สามารถล้มหรือหมดสิ้นได้ในพริบตา เมื่อใดที่ความไว้วางใจที่เคยมี ได้หมดสิ้นลง การจะกลับรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่นั้นยากและใช้เวลามากกว่าเดิมหลายเท่า เพราะเป็นการเริ่มที่ติดลบ คือ ต้องกำจัดความหวาดระแวงให้หมดไปก่อนจึงจะเริ่มสร้างความไว้วางใจขึ้นมาใหม่ได้

ความหมายของความไว้วางใจ
     ความไว้วางใจ หมายถึงความเชื่อมั่นที่ฝ่ายหนึ่งมีในความซื่อสัตย์ (honesty), ซื่อตรง (integrity), และน่าเชื่อถือ

Read the rest

ABC Model of Behavior

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรมด้วยหลัก ABC

     ABC Model เป็นเทคนิคสำคัญเทคนิคหนึ่งที่นักจิตวิทยาใช้ในการบำบัดแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยมีกรอบความคิดว่า ความเชื่อหรือความคิดที่บุคคลสร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตน จะมีอิทธิพลต่ออารมณ์และพฤติกรรมที่บุคคลใช้ตอบโต้เหตุการณ์นั้น ความมุ่งหมายหลักของ ABC Model จึงมุ่งไปที่การจัดโครงสร้างความคิดของบุคคลเสียใหม่ให้เป็นในทางบวกเพื่อพฤติกรรมที่แสดงออกมาจะได้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ใช้อารมณ์ มีเหตุมีผล และเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นได้มากขึ้น

     ABC Model เป็นผลงานของนักจิตวิทยาและนักวิจัยชื่อ Dr. Albert Ellis มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า การบำบัดแบบเน้นเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม (Rational Emotional-Behavior Therapy: REBT) เป็นเทคนิคที่นำมาใช้กับการบำบัดที่เรียกว่า การบำบัดโดยปรับความคิดเพื่อพฤติกรรมที่ดี (Cognitive-behavioral Therapy: CBT) เพื่อช่วยผู้รับการบำบัดสามารถปรับ (reshape) ความคิดหรือความรู้สึกในแง่ลบให้เป็นแง่บวกด้วยการ

  o ฝึกให้บุคคลตระหนักถึงผลเสียของความเชื่อ ซึ่งเป็นความคิดแง่ลบ ที่มีต่ออารมณ์และพฤติกรรม

Read the rest

9 Levels of Learning [Gagne]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ลำดับการเรียนรู้ 9 ขั้นตอน

     Robert M. Gagne (1916 – 2002) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 1940 ระหว่างทำงานให้กับกองทัพอเมริกันในสงครามโลกครั้งที่สอง Gagne ได้วางรากฐานการสอนที่ดี (good instruction) และมาได้รับชื่อเสียงมากที่สุดจากหนังสือชื่อ The Conditions of Learning (1965) ในหนังสือดังกล่าว เขาได้กล่าวถึงสภาพจิตใจ (mental condition) ของผู้เรียนว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ ลำดับการเรียนรู้ 9 ขั้นตอนของ Gagne เป็นข้อแนะนำที่จำเป็นและเป็นประโยชน์กับการเรียนรู้ทุกประเภท แต่ที่ Gagne เน้นเป็นพิเศษในหนังสือของเขา คือการให้การฝึกอบรมในสภาพแวดล้อมการทำงานซึ่งวิทยากรหรือผู้สอนสามารถใช้เป็น checklist ตรวจความพร้อมและการเตรียมการของตนก่อนเริ่มการฝึกอบรมหรือการสอน

Read the rest

8-Step Change Model [Kotter]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงใน 8 ขั้นตอน

     John Kotter ศาสตราจารย์ด้านภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลงแห่งHarvard Business School ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงใน 8 ขั้นตอน ไว้ในหนังสือชื่อ Leading Change (1995) ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยองค์กร 100 แห่งที่อยู่ระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามแผนพัฒนาขององค์กร จุดมุ่งหมายของการนำเสนอแนวคิดเรื่องนี้คือ เพื่อเพิ่มความสามารถและโอกาสความสำเร็จของบุคคลและคณะบุคคลในการสร้างการเปลี่ยนแปลง Kotter กล่าวว่า ทุกขั้นตอนในกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีความสำคัญ การก้าวข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง อาจส่งผลให้กระบวนการทั้งหมดประสบความล้มเหลวได้

     กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดของ Kotter แบ่งออกเป็น 3 ระยะ (phrases) รวม 8 ขั้นตอน (steps) ดังนี้

<ระยะที่หนึ่ง>

Read the rest

8 Ways to Improve Self-Regulation

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
แนวปฏิบัติ 8 ประการในการกำกับควบคุมตนเอง

     ในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิต เราทุกคนล้วนมีทางเลือกว่าจะรับมือกับมันอย่างไร อาจเป็นในเชิงบวกหรือในเชิงลบ แต่ถึงจะรู้อยู่แก่ใจว่า การรับมือหรือตอบโต้ในเชิงลบจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เราก็มักจะตอบโต้สถานการณ์ที่กดดันด้วยพฤติกรรมในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นการแผดเสียง การแสดงอาการโกรธจนหน้าแดงตัวสั่น บางครั้งถึงขั้นขว้างปาข้าวของหรือด่าทอด้วยคำหยาบคาย สาเหตุก็เพราะ พื้นฐานจิตใจของบุคคลที่ยังไม่ได้รับการพัฒนามักจะมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นฐานของความคิด เมื่ออารมณ์เข้าครอบงำการใช้เหตุผล สิ่งที่เป็นพื้นฐานของความคิดเหล่านั้นจึงถูกปลดปล่อยออกมา มากน้อยตามแรงกดดัน กว่าจะรู้สึกตัวหรือสงบสติอารมณ์ได้ พฤติกรรมทั้งหลายที่แสดงออกไปก็ส่งผลเสียทั้งต่อตนเอง บุคคลที่เกี่ยวข้อง และองค์กร ผลเสียที่ว่านั้นจะมีผลกระทบรุนแรงขึ้นอีกหลายเท่าหากผู้นั้นอยู่ในฐานะผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กร

     การหมั่นฝึกให้ตนเองคิดและแสดงออกในทางบวกซึ่งหมายถึงสามารถใช้เหตุผลและสติแทนการใช้อารมณ์ จะช่วยให้การมีพฤติกรรมตอบโต้ในเชิงลบลดน้อยลง ความคิดและพฤติกรรมของบุคคล มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน ผู้มุ่งหวังจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการโดยมีทัศนคติที่ดีและพฤติกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่รุมเร้ากดดัน จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถในการกำกับและควบคุมตนเอง (self-regulation) ด้วยการฝึกฝนให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสัญชาติญาณ เพราะในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ เช่น ความโกรธ ความต้องการเอาชนะ ความรู้สึกท้อแท้หดหู่ อารมณ์เหล่านี้จะเข้ามาบดบังหลักเหตุผลจนขาดสติ

Read the rest

7 Transformations of Leadership [Rooke and Torbert]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การปรับเปลี่ยนสู่สุดยอดความเป็นผู้นำใน 7 ระดับ

     นักจิตวิทยาการบริหารสมัยใหม่ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้นำคนหนึ่งต่างจากผู้นำอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่เพราะบุคลิกภาพหรือรูปแบบการบริหาร แต่เป็นแนวคิดที่ต่างกันในการประเมินสภาพแวดล้อมและตอบสนองสิ่งท้าทาย David Rooke ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กร และ William R. Torbert ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมในองค์กร ได้ร่วมกันเขียนบทความเรื่อง Seven Transformations of Leadership ลงพิมพ์ใน Harvard Business Review ฉบับเดือนเมษายน 2005 โดยไม่ได้เน้นปรัชญาภาวะผู้นำแบบใดเป็นการเฉพาะ แต่เน้นที่แนวคิดและพฤติกรรมการบริหารของผู้นำ Rooke และ Torbert มั่นใจว่า การทำความเข้าใจและปรับปรุงแก้ไขแนวคิดของบุคคล จะช่วยเพิ่มทั้งความสามารถในการเป็นผู้นำและความสามารถโดยรวมขององค์กร

     Rooke และ Torbert ร่วมกับคณะนักวิจัยจำนวนหนึ่ง ใช้เวลากว่า

Read the rest