Action Research [Kurt Lewin]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับการทำวิจัย Kurt Lewin ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน-อเมริกันของสถาบัน MIT (ผู้มีชื่อเสียงในเรื่องจิตวิทยาเด็กและทฤษฎีจิตวิทยาที่ชื่อว่า Gestalt Psychology) เป็นผู้ใช้คำว่า Action Research เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1944 โดยได้นำแนวคิดเรื่องดังกล่าวมาเขียนเป็นบทความชื่อ Action Research and Minority Problems (1946)

     Lewin มีความเห็นว่า การทำวิจัยที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้วิจัยจะต้องเข้ามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการทำวิจัยด้วยการนำเสนอแนวคิด ทฤษฎี และสรุปบทเรียนที่ได้จากการวิจัยเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและความรู้ที่ได้จากงานวิจัยได้ถูกนำไปใช้ เขาเชื่อว่าความสำเร็จในการทำวิจัยเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือระหว่างนักวิจัยซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในทางวิชาการ (academic) กับผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ (practitioner) การให้ผู้เกี่ยวข้องได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และผู้วิจัยได้ใช้ภาวะผู้นำในการนำและให้การสนับสนุนในจังหวะที่ถูกต้องเหมาะสม

Read the rest

Action Priority Matrix (APM)

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ตารางลำดับความสำคัญของโครงการ

     ตารางลำดับความสำคัญของโครงการ (Action Priority Matrix: APM) หรือบางครั้งเรียกว่า Activity Prioritization Matrix เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจเลือกโครงการที่จะจัดทำโดยดูจากผลประโยชน์ตอบแทนและความพยายามที่ใช้ไป APM เป็นเทคนิคพื้นฐานในรูปตาราง 2 x 2 matrix ที่ช่วยจัดลำดับให้คุณเลือกว่าโครงการใดน่าสนใจมากน้อยกว่ากัน, โครงการใดควรทำก่อนทำหลัง, หรือโครงการใดควรตัดทิ้งไปหากต้องการใช้ทรัพยากรและโอกาสที่ได้รับให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การจัดทำและใช้ตารางจัดลำดับความสำคัญของโครงการ


     ตารางในรูปข้างบนมีลักษณะคล้ายตารางจัดลำดับความน่าสนใจอื่นที่มีอยู่มากมาย เช่น
   o Eisenhower Matrix เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจเลือกโครงการที่จะจัดทำเช่นเดียวกัน ต่างกันตรงที่ Eisenhower Matrix แสดงความน่าสนใจของโครงการจากปัจจัยด้านความสำคัญ (Importance) และความเร่งด่วน (Urgency) ของกิจกรรม ส่วน Action Priority Matrix

Read the rest

Action Plan

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
แผนปฏิบัติ

     Action plan หรือแผนปฏิบัติ คือแผนงานซึ่งระบุขั้นตอนของภารกิจที่จะต้องกระทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนด แผนปฏิบัติเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ (Strategic plan) แผนปฏิบัติไม่ได้จำกัดการใช้อยู่เพียงในระดับหน่วยงานหรือองค์กร ผู้ที่ต้องการความสำเร็จในหน้าที่การงานของตนหรือในชีวิตส่วนตัวก็สามารถจัดทำแผนปฏิบัติได้เช่นกัน การมีแผนปฏิบัติจะช่วยสร้างความชัดเจนแก่ผู้จัดทำแผนและผู้เกี่ยวข้องว่าจะต้องมีข้อมูล, ทรัพยากร, และการกระทำอะไร เมื่อไร โดยใคร จึงสามารถบรรลุเป้าหมายนั้น กลยุทธ์แต่ละกลยุทธ์อาจมีแผนปฏิบัติได้มากกว่าหนึ่งแผน

ประโยชน์ของ Action plan
   1. Action plan ประกอบด้วยภารกิจที่จะต้องปฏิบัติเป็นลำดับขั้นตอนรวมถึงกำหนดเวลาที่ควรทำให้สำเร็จในแต่ละภารกิจ จึงเป็นเหมือนแผนที่เดินทางซึ่งให้ภาพที่ชัดเจนทั้งเส้นทาง การปฏิบัติ และปัญหาอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงวิธีการแก้ไขที่วางแผนไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ

   2. การมีเป้าหมายพร้อมภารกิจที่จะต้องกระทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ช่วยสร้างความมั่นใจและแรงจูงใจให้มุ่งสู่เป้าหมายนั้นอย่างมั่นคง

   3. ผู้ปฏิบัติสามารถประเมินได้ชัดเจนว่าได้มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติไปแล้วมากน้อยเพียงใด ปัจจุบันอยู่ในส่วนใดของแผน ทุกอย่างยังเป็นไปตามแผนหรือไม่ จะต้องปรับปรุงแก้ไขอะไร อย่างไร

การจัดทำ Action

Read the rest

Account-Based Marketing

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การทำการตลาดตามคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละราย

     การทำการตลาดตามคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละราย (Account-Based Marketing: ABM) หรือการตลาดแบบ ABM คือกลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) ที่ผู้ขายสินค้าบริการ (ต่อไปในบทความนี้จะใช้คำว่า บริษัท) คัดเลือกลูกค้าเป้าหมายที่มีศักยภาพในการเติบโตก้าวหน้าและสามารถสร้างผลกำไรที่แน่นอนให้กับธุรกิจของบริษัท หลังจากนั้นจึงใช้วิธีทางการตลาดและการขายที่ออกแบบมาเป็นการเฉพาะกับลูกค้าหรือกลุ่มลูกค้านั้นเป็นเครื่องมือในการปิดการขาย กลยุทธ์การตลาดแบบนี้จะมีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ค่อนข้างสูงเพราะเน้นไปที่การคัดเลือกลูกค้าที่มีศักยภาพสูงในทางธุรกิจมาตั้งแต่แรกและมีโอกาสปิดการขายได้มากจากข้อเสนอที่ศึกษาและออกแบบมาเพื่อลูกค้านั้นเป็นการเฉพาะ

     กลยุทธ์การตลาดแบบ ABM เริ่มได้รับการยอมรับในวงการธุรกิจในช่วงทศวรรษที่ 1990 เมื่อการทำธุรกิจทั้งในแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และแบบธุรกิจกับลูกค้ารายย่อย (B2C) ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องทำการตลาดแบบเจาะจงลูกค้าให้มากขึ้น ประกอบกับการที่ Don Peppers และ Martha Rogers ได้ร่วมกันเขียนหนังสือชื่อ The One to

Read the rest

Action Learning [Reginald Revans]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การเรียนรู้จากการกระทำ

     Action Learning เป็นกระบวนการคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาในธุรกิจ อุตสาหกรรม กลุ่มบุคคล และสังคม ด้วยการหยิบยกประเด็นปัญหาขึ้นมาหารือ, ไตร่ตรองทบทวน, เรียนรู้, วางแผนแก้ไข, นำแผนไปปฏิบัติ และนำผลที่ได้มาทบทวนอีกครั้งเป็นวัฏจักร ศาสตราจารย์ Reginald Revans อาจารย์มหาวิทยาลัยและที่ปรึกษาด้านการบริหารเป็นผู้ให้กำเนิดแนวคิดเรื่อง Action Learning ในกลางทศวรรษที่ 1940 เขาเชื่อว่า วิธีการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่ได้ผล คือการจัดตั้งกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา จำนวน 6-8 คน ขึ้นมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเพื่อร่วมกันค้นหาหนทางแก้ไข การดำเนินการตามข้อเสนอของกลุ่มอาจไม่สามารถแก้ปัญหาให้สำเร็จได้ภายในครั้งเดียว แต่สำหรับศาสตราจารย์ Revans เขาคิดว่าสิ่งสำคัญที่ต้องแก้ไขไม่น้อยกว่าตัวปัญหา คือความยึดติดในความคิดและความเชื่อของบุคคล การให้โอกาสผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ เปิดรับแนวคิดใหม่ และลดทิฐิที่ยึดติดของพวกเขาลงได้ เขาได้ใช้วิธีดังกล่าวพัฒนาการบริหารจนสามารถฟื้นฟูองค์กรหลายแห่งที่กำลังจะต้องปิดกิจการให้สามารถกลับมาดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง Revans

Read the rest

Action Centred Leadership (ACL) [John Adair]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความรับผิดชอบหลักของผู้นำ [John Adair]

     เป็นรูปแบบภาวะผู้นำตามแนวคิดของ John Adair ที่ให้แนวทางแก่ผู้นำและผู้บริหารในการพาทีมและองค์กรสู่ความสำเร็จ มีรูปแบบที่ง่ายต่อการจดจำ ใช้ปฏิบัติได้จริง ตามแนวคิดนี้ ผู้บริหารและผู้นำที่ดี คือผู้นำที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความรับผิดชอบที่สำคัญสามเรื่อง มักแสดงในรูปวงกลมสามวงซ้อนเหลื่อมกัน (three overlapping circles) ประกอบด้วย การปฏิบัติภารกิจ (Task), การพัฒนาทีมงาน (Team), และการพัฒนาบุคลากร (Individual) ผู้นำที่สามารถรักษาสมดุลทั้งสามเรื่องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จะสามารถสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กรทั้งด้านผลการปฏิบัติงาน, สินค้าบริการที่มีคุณภาพ, ทีมงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน, รวมถึงพนักงานที่มีขวัญกำลังใจและความมุ่งมั่นในการทำงาน

     John Adair เกิดในปีค.ศ. 1934 เสนอแนวคิดเรื่อง Action Centred Leadership ในหนังสือของเขาชื่อ

Read the rest

Acquisition Integration Approach Model (AIA Model)

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
แนวทางการบริหารภายหลังการควบรวมกิจการ

     จากสภาะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในแทบทุกธุรกิจ การควบรวมกิจการโดยการเข้าซื้อหุ้นหรือทรัพย์สินของกิจการอื่น (acquisition) เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางเลือกที่นิยมนำมาใช้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจที่มีชื่อเสียง เช่น PricewaterhouseCoopers, Booz Allen and Hamilton พบว่า 30-50% ของการเข้าซื้อกิจการ ผู้ซื้อ (acquiring firm) ไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายทั้ง ๆ ที่กิจการที่ซื้อมานั้น (target firm) ก็เป็นกิจการที่มีสินค้าบริการที่คล้ายกันกับของผู้ซื้อ มีขนาดธุรกิจที่ใกล้เคียงกันจนเรียกได้ว่ามีการแข่งขันกันอยู่จริงในตลาด การซื้อกิจการไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการซื้อหุ้นหรือซื้อทรัพย์สิน เป็นการเข้าใช้อำนาจตัดสินใจในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเป็นผู้เข้าถือครองทรัพย์สินที่เป็นหัวใจในการแข่งขัน เช่น หน่วยวิจัยและพัฒนา ล้วนทำให้ผู้ซื้อมีกำลังในการแข่งขันมากขึ้น แล้วอะไรคือสาเหตุของความล้มเหลว และหากจะให้ประสบความสำเร็จ จะต้องทำอย่างไร

     ผลการศึกษาวิจัยได้ให้แนวคิดที่หลากหลายในเรื่องนี้
  o งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่า ความสามารถในกระบวนการประสานธุรกิจของผู้ซื้อและผู้ที่ถูกซื้อให้เป็นเนื้อเดียวกัน (integration

Read the rest

Achieving Quick Wins

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การสร้างความสำเร็จในบทบาทหน้าที่ใหม่ของผู้นำ

     การเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงานจากพนักงานธรรมดาขึ้นเป็นผู้นำโดยตำแหน่ง หรือจาก ผู้นำตำแหน่งหนึ่งเลื่อนสู่ผู้นำอีกตำแหน่งหนึ่งที่สูงกว่า ล้วนเป็นความคาดหวังและความใฝ่ฝันของบุคลากรทุกคนในองค์กร ยิ่งผู้ได้รับเลื่อนตำแหน่งสามารถปรับตัวเข้ากับหน้าที่บทบาทใหม่และสร้างผลงานให้กับองค์กรได้เร็ว (quick win) เท่าไร ก็ยิ่งเป็นเกียรติประวัติและเครื่องพิสูจน์ว่าตนเป็นผู้ที่มีความสามารถจริง และเหมาะจะได้รับการเลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ เราจึงควรมาศึกษาเรียนรู้กันว่า อะไรคือปัจจัยที่สร้างความสำเร็จแบบ quick win และอะไรคือปัจจัยที่ทำให้เขาเหล่านั้นต้องพบกับความล้มเหลว

นิยามคำว่า Quick win
     หมายถึงความสำเร็จภายหลังการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำด้วยผลงานที่จับต้องได้ เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา โดยทั่วไปแล้ว ความสำเร็จที่เรียกว่า quick win ควรเห็นผลได้ภายใน 30 - 90 วันแรกนับตั้งแต่เริ่มงานในบทบาทหน้าที่ใหม่

     เนื้อหาในบทความนี้

Read the rest

Achieving Economies of Scale

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การประหยัดจากการเพิ่มขนาดการผลิต

     Economies of scale หรือ การประหยัดจากขนาด หมายถึงความได้เปรียบของต้นทุนการผลิต (cost advantage) อันเนื่องมาจากการเพิ่มการผลิตหรือการให้บริการในปริมาณที่เหมาะสมกับความสามารถในการบริหาร (เพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อ ต่อไปในบทความนี้จะใช้คำว่า การผลิต ในความหมายรวมทั้งการผลิตและการบริการ) ต้นทุนการผลิตที่กล่าวมานั้น เป็นได้ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร โดยอยู่ในรูปความสัมพันธ์เชิงผกผันระหว่าง

   1) การเพิ่มปริมาณการผลิต กับ ต้นทุนคงที่ต่อหน่วย กล่าวคือ ยิ่งเพิ่มปริมาณการผลิต ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยก็จะยิ่งลดลง
   2) การเพิ่มปริมาณการผลิต กับ ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย กล่าวคือ ยิ่งเพิ่มปริมาณการผลิต การผลิตก็จะยิ่งเสถียรและมีประสิทธิภาพ ส่วนสูญเสียลดลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่ลดลงเนื่องจากการซื้อในปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยลดลง

     กลไกของการประหยัดจากขนาดอันเป็นผลจากประสิทธิภาพในการผลิต สอดคล้องกับแนวคิดของ Adam Smith นักเศรษฐศาสตร์ชาวสก็อตผู้กล่าวว่า

Read the rest