ABC Model of Behavior

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรมด้วยหลัก ABC

     ABC Model เป็นเทคนิคสำคัญเทคนิคหนึ่งที่นักจิตวิทยาใช้ในการบำบัดแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยมีกรอบความคิดว่า ความเชื่อหรือความคิดที่บุคคลสร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตน จะมีอิทธิพลต่ออารมณ์และพฤติกรรมที่บุคคลใช้ตอบโต้เหตุการณ์นั้น ความมุ่งหมายหลักของ ABC Model จึงมุ่งไปที่การจัดโครงสร้างความคิดของบุคคลเสียใหม่ให้เป็นในทางบวกเพื่อพฤติกรรมที่แสดงออกมาจะได้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ใช้อารมณ์ มีเหตุมีผล และเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นได้มากขึ้น

     ABC Model เป็นผลงานของนักจิตวิทยาและนักวิจัยชื่อ Dr. Albert Ellis มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า การบำบัดแบบเน้นเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม (Rational Emotional-Behavior Therapy: REBT) เป็นเทคนิคที่นำมาใช้กับการบำบัดที่เรียกว่า การบำบัดโดยปรับความคิดเพื่อพฤติกรรมที่ดี (Cognitive-behavioral Therapy: CBT) เพื่อช่วยผู้รับการบำบัดสามารถปรับ (reshape) ความคิดหรือความรู้สึกในแง่ลบให้เป็นแง่บวกด้วยการ

  o ฝึกให้บุคคลตระหนักถึงผลเสียของความเชื่อ ซึ่งเป็นความคิดแง่ลบ ที่มีต่ออารมณ์และพฤติกรรม

Read the rest

6 Principles of Influence [Cialdini]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
หลัก 6 ประการที่มีอิทธิพลให้รู้สึกคล้อยตาม [Cialdini]

     Dr. Robert Cialdini เป็นนักจิตวิทยาที่พยายามทำความเข้าใจว่าอะไรคือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ เขาใช้เวลาเกือบสามปีในการทำวิจัยเชิงจิตวิทยากับโครงการฝึกอบรมนักขายและนักการตลาดเพื่อให้รู้ว่าบุคคลในงานอาชีพดังกล่าวทำให้ผู้อื่นยอมรับข้อเสนอของพวกเขาได้อย่างไร ผลงานวิจัยถูกนำมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ Influence: The Psychology of Persuasion (1984) ซึ่งได้ใช้เป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์จิตวิทยาสังคมที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจซื้อต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน Cialdini เชื่อว่า มีหลักทั่วไป 6 ประการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ได้แก่

1. ให้เพื่อได้รับ (Reciprocity)
     หลักทั่วไป: บุคคลมีแนวโน้มที่จะตอบแทนบุคคลที่ให้บางสิ่งแก่ตน ด้วยพฤติกรรม (กริยาอาการ), ของขวัญ, หรือการกระทำ ในรูปแบบและมูลค่าที่สมน้ำสมเนื้อกับสิ่งที่ตนได้รับ

     Cialdini กล่าวว่า คนเรามีความต้องการตอบแทนหรือทำกับผู้อื่นเหมือนกับที่ผู้อื่นทำแก่ตน หากสิ่งที่ตนได้รับเป็นสิ่งที่ดีงาม ความรู้สึกที่ติดค้างคือบุญคุณที่จะต้องตอบแทน หากสิ่งที่ได้รับคือความเลวร้าย

Read the rest

6 Categories of Intervention [Heron]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การให้ความช่วยเหลือแนะนำใน 6 รูปแบบ [Heron]

     ในการทำงาน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหน้าที่หรือธุรกิจอุตสาหกรรมประเภทใด ล้วนมีโอกาสได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือ การสนับสนุน หรือคำแนะนำจากคุณในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง การให้ความช่วยเหลือของคุณอาจจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของพวกเขาและยังมีผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การมีเทคนิคการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานการณ์และผู้รับ จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ทั้งต่อความสำเร็จของงานและการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal skill)

     John Heron ได้เสนอรูปแบบ 6 ประการในการให้ความช่วยเหลือแนะนำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และผู้รับการช่วยเหลือ โดยในระยะแรก แนวคิดนี้ได้ใช้เป็นกรอบทฤษฎีศึกษาทักษะความสัมพันธ์ที่พยาบาลมีต่อคนไข้ แต่ต่อมาก็ได้นำไปใช้กับการให้การฝึกอบรมสุขภาพและการเรียนการสอนด้านการศึกษา รวมไปถึงผู้บริหาร หัวหน้างาน โค้ช ที่ปรึกษาในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมก็ได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ในการสื่อสารกับพนักงาน ทีมงาน ลูกค้า และพบว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลและพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาในการทำงานได้เป็นอย่างดี

     โดยเหตุที่รูปแบบ 6 ประการนี้มีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งในวงการแพทย์ พยาบาล การศึกษา การผลิต ธุรกิจ อุตสาหกรรม การขาย การตลาด

Read the rest

16 Personality Factors (16 PF) Test [Cattell]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ปัจจัย 16 ประการในการทดสอบบุคลิกภาพบุคคล [Raymond Cattell]

     Raymond Cattell นักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีและฟิสิกส์ ได้หันความสนใจมาศึกษาจิตวิทยาในทศวรรษที่ 1920 ซึ่งในตอนนั้น เขารู้สึกผิดหวังที่พบว่าจิตวิทยาเป็นสาขาความรู้ที่เต็มไปด้วยนามธรรม ทฤษฎีและแนวคิดก็ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและยังแทบไม่มีพื้นฐานในทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีด้านบุคลิกลักษณะส่วนใหญ่จะอิงกับหลักปรัชญาและการคาดการณ์เป็นการส่วนตัว หรือไม่ก็พัฒนาขึ้นมาโดยคนในวงการแพทย์ เช่น Jean Charcot และ Sigmund Freud ซึ่งได้สร้างทฤษฎีบุคลิกภาพขึ้นมาตามสัญชาติญาณความรู้สึกและจากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลที่มีความผิดปกติในด้านสติปัญญา
(psychopathology) เป็นหลัก

     Cattell จึงสร้างแบบทดสอบบุคลิกภาพขึ้นมาอย่างเป็นระบบด้วยความมุ่งหมายที่จะค้นหาบุคลิกภาพพื้นฐานของบุคคล รวมถึงวิธีที่ใช้วัดระดับของบุคลิกภาพดังกล่าว เขาเชื่อว่าบุคลิกภาพของบุคคลต้องมีสิ่งที่เป็นหลักพื้นฐานเปรียบได้กับโลกทางวัตถุที่มีอ็อกซิเจนและไฮโดรเจนเป็นพื้นฐาน หากสามารถค้นพบและวัดหลักพื้นฐานทางบุคลิกภาพของบุคคลได้ ก็จะสามารถเข้าใจและทำนายพฤติกรรม เช่น ความคิดสร้างสรรค์, ภาวะผู้นำ, ความบริสุทธิ์ใจ, หรือความก้าวร้าวของบุคคลได้มากขึ้น เขาได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ Charles Spearman ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน

Read the rest

2-Factor Theory of Emotion [Schachter and Singer]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ทฤษฎีอารมณ์จากเหตุสองปัจจัย [Schachter and Singer]

     นักวิจัยได้พยายามค้นหาเหตุผลเพื่ออธิบายว่า อารมณ์ของมนุษย์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีผลต่อการสั่งการของสมองหรือสติปัญญาของมนุษย์อย่างไร ทำให้มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดและอารมณ์เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 หลายทฤษฎี ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติใหญ่ทางความคิดด้านจิตวิทยา หนึ่งในทฤษฎีแรกๆ ที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงนี้ คือ ทฤษฎีอารมณ์จากเหตุสองปัจจัย (Two-Factor Theory of Emotion) ของนักวิจัยสองท่าน คือ Stanley Schachter และ Jerome E. Singer ซึ่งมีแนวคิดหลักว่า อารมณ์เป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสองปัจจัย คือ ความตื่นตัวทางร่างกาย (physiological arousal) กับ การลงความเห็นทางปัญญา (cognitive label) โดยความตื่นตัวทางร่างกายจะได้รับการตีความตามปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจของบุคคลในแต่ละสถานการณ์ ส่งผลให้เกิดเป็นอารมณ์หรือความรู้สึก

Read the rest

2-Factor Theory [Frederick Herzberg]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ทฤษฎีสองปัจจัย [Frederick Herzberg]

     ทฤษฎีนี้ นอกจากจะชื่อว่า 2-Factor Theory แล้ว ยังเรียกกันในชื่ออื่นๆ อีก เช่น Herzberg’s Motivation-Hygiene Theory, Motivator-Hygiene Theory และ Dual-Factor Theory เป็นทฤษฎีที่ Frederick Herzberg นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1959
    Herzberg มีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานของมนุษย์ เขาทำวิจัยเพื่อศึกษาว่า ทัศนคติมีผลต่อแรงจูงใจอย่างไร โดยขอให้ผู้รับการสัมภาษณ์ซึ่งเป็นพนักงานในสถานประกอบการ อธิบายว่าสถานการณ์หรือปัจจัยใดที่ทำให้พวกเขารู้สึกดีและไม่ดีในงานที่ทำ คำตอบที่ได้ สร้างความแปลกใจแก่ Herzberg เป็นอย่างมาก คือ แทนที่ปัจจัยที่ให้ความรู้สึกที่ดี และปัจจัยที่ให้ความรู้สึกที่ไม่ดี จะเป็นปัจจัยตัวเดียวกัน

Read the rest

17 Principles of Success [Napoleon Hill]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
หลัก 17 ประการสู่ความสำเร็จ [Napoleon Hill]

     ในปี ค.ศ. 1908 Napoleon Hill ได้สัมภาษณ์ Andrew Carnegie หนึ่งในบุคคลผู้ทรงอิทธิพลและรวยมากที่สุดคนหนึ่งในวงการธุรกิจสมัยนั้น จากการสัมภาษณ์ Carnegie ได้มอบหมายเชิงท้าทายให้ Napoleon Hill ทำวิจัยและสัมภาษณ์บุคคลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด 500 คนในยุคนั้น เพื่อให้ได้คำตอบว่า อะไรคือหลักของความสำเร็จ

     Napoleon Hill นำผลจากการสัมภาษณ์และการวิจัยมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ Law of Success และ Think and Grow Rich ซึ่งยังคงเป็นหนังสือขายดีมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับ “หลัก 17

Read the rest