Affiliate Marketing

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การตลาดแบบเครือข่าย

     Affiliate marketing หรือการตลาดแบบเครือข่าย คือรูปแบบการตลาดที่บุคคลภายนอก เช่น blogger หรือ YouTuber เรียกรวม ๆ ว่า affiliate หรือ publisher ทำการโปรโมตสินค้าบริการของเจ้าของสินค้าผ่าน website หรือสื่อสังคมของตน โดยผู้โปรโมตจะได้รับค่านายหน้าตามเงื่อนไขของเจ้าของสินค้า นอกจากนั้น Affiliate marketing ยังมีความหมายรวมไปถึงระบบการตลาดแบบเครือข่ายของเจ้าของสินค้าเองด้วย การตลาดเครือข่ายมีความตื่นตัวอย่างมากหลังจากที่ Amazon ได้รณรงค์ทางการตลาดด้วยการสร้าง website และ link ที่ผุ้สนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายสามารถนำ link ดังกล่าวไปวางไว้ใน website หรือสื่อสังคมของตน เมื่อลูกค้าเข้ามาคลิก link ก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่ website ของ

Read the rest

Account-Based Marketing

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การทำการตลาดตามคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละราย

     การทำการตลาดตามคุณสมบัติของลูกค้าแต่ละราย (Account-Based Marketing: ABM) หรือการตลาดแบบ ABM คือกลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) ที่ผู้ขายสินค้าบริการ (ต่อไปในบทความนี้จะใช้คำว่า บริษัท) คัดเลือกลูกค้าเป้าหมายที่มีศักยภาพในการเติบโตก้าวหน้าและสามารถสร้างผลกำไรที่แน่นอนให้กับธุรกิจของบริษัท หลังจากนั้นจึงใช้วิธีทางการตลาดและการขายที่ออกแบบมาเป็นการเฉพาะกับลูกค้าหรือกลุ่มลูกค้านั้นเป็นเครื่องมือในการปิดการขาย กลยุทธ์การตลาดแบบนี้จะมีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ค่อนข้างสูงเพราะเน้นไปที่การคัดเลือกลูกค้าที่มีศักยภาพสูงในทางธุรกิจมาตั้งแต่แรกและมีโอกาสปิดการขายได้มากจากข้อเสนอที่ศึกษาและออกแบบมาเพื่อลูกค้านั้นเป็นการเฉพาะ

     กลยุทธ์การตลาดแบบ ABM เริ่มได้รับการยอมรับในวงการธุรกิจในช่วงทศวรรษที่ 1990 เมื่อการทำธุรกิจทั้งในแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และแบบธุรกิจกับลูกค้ารายย่อย (B2C) ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องทำการตลาดแบบเจาะจงลูกค้าให้มากขึ้น ประกอบกับการที่ Don Peppers และ Martha Rogers ได้ร่วมกันเขียนหนังสือชื่อ The One to

Read the rest

ACCESS Model [Safko and Brake]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การใช้สื่อสังคมสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจ

     ACCESS model เป็นแนวทางในการนำสื่อสังคม (social media) มาใช้สร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจ คำว่าสื่อสังคมหมายถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใน platform ต่าง ๆ เช่น Facebook, Tiktok, Google, YouTube, Twitter รวมไปถึง e-mail และสื่ออื่น ๆ ที่คล้ายกัน Lon Safko และ David K. Brake เป็นผู้นำเสนอแนวคิดเรื่อง ACCESS model ไว้ในหนังสือชื่อ The Social Media Bible: Tactics, Tools &

Read the rest

5 Product Levels [Philip Kotler]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
คุณค่า 5 ระดับที่มีอยู่ในตัวสินค้า [Kotler]

     Philip Kotler ได้เขียนแนวคิดเกี่ยวกับคุณค่า 5 ระดับที่มีอยู่ในตัวสินค้า ไว้ในหนังสือของเขาชื่อ Marketing Management ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1967 โดยเขาได้แบ่งคุณค่าที่ลูกค้ามีให้กับสินค้าออกเป็น 5 ระดับ เหมือนชั้นของโลก คือมีแกนกลางเป็นชั้นในสุด และไล่ระดับออกมาจนถึงเปลือกโลกเป็นชั้นนอกสุด Kotler มีความเห็นว่า ลูกค้าให้คุณค่าน้อยที่สุดที่ตัวสินค้าเองซึ่งเป็นระดับในสุดหรือระดับแกนกลาง และจะให้คุณค่าเพิ่มมากขึ้นตามลำดับไล่ออกมาจนถึงชั้นนอกสุด เป็นคุณค่าทางจิตวิทยาที่พอกพูน (wrap around) เพิ่มบวกเข้าไปในตัวสินค้า เช่น การบรรจุหีบห่อ การจัดส่ง การสนับสนุน การให้บริการ และคำแนะนำ ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายจึงควรทำความเข้าใจในคุณค่าของสินค้าบริการแต่ละชั้น และกำหนดกลยุทธ์ว่าจะเน้นการสร้างความแตกต่างของคุณค่าสินค้าในชั้นใดจึงจะต่าง (differentiated) ไปจากสินค้าบริการรายอื่นและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของลูกค้า

Read the rest

4S Web Marketing Mix (WMM)

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การพัฒนา website ด้วยส่วนผสมการตลาดแบบ 4S

     รูปแบบการตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากนับตั้งแต่ได้นำ internet เข้ามาใช้ในโลกธุรกิจ การค้าบนโลก online มีปริมาณและสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีเมื่อเทียบกับการค้าแบบดั้งเดิม ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้สร้างความเข้าใจผิดขึ้นมาเรื่องหนึ่งคือ เข้าใจว่า เพียงแค่นำสินค้าและบริการขึ้นสู่ internet แล้ว กิจการของตนจะพบแต่ความสำเร็จ
     ในโลกแห่งความเป็นจริง มีธุรกิจ online หรือ e-commerce มากมายที่ล้มเหลว สาเหตุหลักมาจากการไม่ได้เตรียมพร้อมกับการแข่งขันรูปแบบใหม่ เช่น ไม่ได้นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้กับ website ของตน, ขาดกลยุทธ์และทิศทางที่ชัดเจนในการทำการตลาด online, วางสินค้าล้าสมัยคาอยู่บน website เพราะคิดว่าไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องเสียเพิ่ม, ไม่เข้าใจความต้องการของลูกค้า online, ขาดความสามารถในการดูแลรักษาระบบ, ไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า online ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากลูกค้าแบบดั้งเดิม (physical)

Read the rest

4P’s and 4C’s Marketing Model

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ส่วนผสมการตลาด 4P's และ 4C's

     ส่วนผสมการตลาด (marketing mix) หรือรูปแบบการทำการตลาด (marketing model) เป็นองค์ประกอบหรือปัจจัยทางการตลาดที่ส่งเสริมการขายสินค้าบริการให้แก่ลูกค้า แนวคิดดั้งเดิมในเรื่องส่วนผสมการตลาด คือ 4P’s Marketing Model และในระยะต่อมา ได้เกิดแนวคิดใหม่ขึ้นมา เรียกว่า 4C’s Marketing Model มีข้อติติงมากมายว่า 4P’s model มีข้อบกพร่องในเรื่องความครบถ้วนของมุมมองจนผู้ประกอบการบางรายหันมาใช้แต่ 4C's เพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่ในทางปฏิบัติ ควรนำทั้งสอง model มาพิจารณาร่วมกันในการกำหนดกลยุทธ์และแผนการตลาด

4P’s Marketing Model
     4P’s เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ขาย /

Read the rest

เทคนิคการขายแบบขุดบ่อล่อปลา (Low-Ball Techinique)

    เทคนิคการขายแบบขุดบ่อล่อปลา (Low ball technique) เป็นวิธีการเจรจาต่อรอง หรือชักชวนให้ซื้อสินค้า บริการ หรือทำข้อตกลงในเรื่องที่ที่ผู้ซื้อดูจะได้เปรียบมาตั้งแต่แรก เมื่อได้โอกาสก็ปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมรายละเอียดในภายหลัง นักคิดด้านการตลาดได้ประกาศเทคนิคนี้เมื่อปี ค.ศ. 1978 เมื่อพบว่าเป็นเทคนิคที่ใช้ได้ผลเป็นอย่างดี วิธีการใช้คือ เริ่มด้วยข้อเสนอแรกที่ซ่อนเจตนาบางอย่างที่ต้องการไว้ มีเพียงข้อร้องขอที่แสนจะพื้น ๆ แล้วจึงมาเพิ่มสิ่งที่ต้องการจริงในภายหลัง ในสถานการณ์เช่นนี้ คู่เจรจามักจะตอบตกลงแบบไม่ยากเย็นนัก เพราะคิดว่า ถึงจะยอมผ่อนปรนข้อเสนอที่เพิ่มเติมนั้น ตนก็ยังได้เปรียบ หารู้ไม่!

    เทคนิควิธีนี้ต้องใช้ให้เนียน คนทุกคนต้องการความแน่นอนคงเส้นคงวาและมักจะไม่พอใจหากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในภายหลังเพราะทำให้รู้สึกเหมือนถูกหลอก การนำเทคนิคนี้มาใช้ จึงมีหลักสำคัญที่ต้องปฏิบัติอยู่ 2 ประการ คือ
    1. ข้อเสนอทั้งตอนแรกและที่เสริมมาในตอนหลัง ควรเป็นข้อเสนอของคน ๆ เดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดการระแวงว่าเป็นสัญญาหรือข่อเสนอคนละชุด (Burger and Petty, Read the rest

บุคลิกภาพของตราสินค้า (Brand Personality)

    ตราสินค้า มิได้เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ทราบว่าสินค้านั้นเป็นของผู้ผลิตรายใดเท่านั้น แต่ด้วยการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ที่สร้างภาพลักษณ์ของกลุ่มเป้าหมายลงไปในตราสินค้า ทำให้ตราสินค้านั้นเกิดมีบุคลิกภาพ (Brand Personality) เฉพาะของมันขึ้นมา เป็นเอกลักษณ์ที่เมื่อนึกถึงบุคลิกภาพดังกล่าวก็จะนึกถึงสินค้านั้น ไม่ใช่สินค้าอื่น

    ผู้สร้างบุคลิกภาพของตราสินค้า มักจะใช้ตราสินค้าเป็นตัวอธิบายบุคลิกภาพที่ชื่นชอบของลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เช่น บุคลิกภาพของโคคาโคล่า คือ ความเยือกเย็น ความเป็นอเมริกัน ความเป็นของแท้ บุคลิกภาพนี้เองที่ทำให้โคคาโคล่าต่างไปจากคู่แข่ง ถ้าตราสินค้าใดสามารถแสดงบุคลิกภาพอันเป็นที่ยอมรับของลูกค้าได้มากเท่าไร ตราสินค้านั้นก็จะยิ่งมีความโดดเด่นเสมือนเป็นตัวแทนความชื่นชอบของลูกค้าได้มากเท่านั้น ในการโฆษณาสินค้า ผู้โฆษณาจะผูกโยงบุคลิกภาพที่ต้องการสร้างให้เป็นตัวแทนของสินค้าเข้าไว้ในการโฆษณา เช่น
  o บุคลิกภาพของ Marlboro คือ ความผ่อนคลาย อันเป็นภาพของคาวบอยที่ ผ่อนอารมณ์คลายเครียดหลังเสร็จสิ้นจากการทำงาน ด้วยการสูบบุหรี่ เป็นภาพตัวแทนของความเป็นชาย
  o บุคลิกภาพของ Virginia Slim คือ ความเป็นสตรีที่มีรสนิยม
  o บุคลิกภาพของ Read the rest