ACHIEVE Coaching Model

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การพัฒนาศักยภาพบุคคลและคณะบุคคลด้วย ACHIEVE model

     ACHIEVE เป็นรูปแบบการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานด้วยการให้คำแนะนำ (coaching) และคำปรึกษา (mentoring) แก่ผู้เรียนรู้ (coachee) ซึ่งอาจเป็นบุคคล หรือคณะบุคคล ให้สามารถกำหนดเป้าหมายและแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าขององค์กร Dembkowski and Eldridge เป็นผู้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นมาโดย เขียนไว้ในบทความชื่อ Beyond Grow: A new coaching model (2003) ในภาพรวม ACHIEVE model มีระเบียบวิธีและลักษณะการดำเนินงานคล้าย GROW model แต่เน้นความร่วมมือระหว่าง coach และ coachee เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (behavioral change) ของ

Read the rest

ABC Analysis

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การบริหารสินค้าคงคลังด้วย ABC Analysis

     ABC Analysis เป็นแนวคิดการบริหารจัดการสินค้าคงคลังด้วยการจัดกลุ่มสินค้าตามมูลค่าการใช้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น ในรอบหนึ่งปี โดยมีพื้นฐานมาจาก Pareto นักเศรษฐศาสตร์และวิศวกรชาวอิตาลี ที่ให้ความสำคัญกับสินค้าแตกต่างกันไปตามความสำคัญที่สินค้านั้นมีต่อธุรกิจ แบ่งเป็นสามกลุ่ม คือมาก ปานกลาง และน้อย เราสามารถนำโปรแกรมพื้นฐาน เช่น Pivot Table ใน Excel มาใช้ในการจัดกลุ่มและแยกประเภทสินค้าตามเงื่อนไขที่ต้องการได้

[เพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อในการอธิบาย ในบทความนี้จะใช้คำว่า
  o “สินค้า” ในความหมายรวมของสินค้าคงคลังทุกประเภท ได้แก่ วัตถุดิบ, งานระหว่างทำ, วัสดุซ่อมบำรุง เครื่องมือ อุปกรณ์, และสินค้าสำเร็จรูป
  o “ใช้” ในความหมายของการใช้และการขายสินค้าคงคลัง]

     Pareto

Read the rest

7 Deadly Diseases of Management [Deming]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ปัญหา 7 ประการที่เป็นอุปสรรคกีดขวางความสำเร็จขององค์กร

     William Edwards Deming นักสถิติและที่ปรึกษาด้านการบริหาร ผู้ได้รับการยกย่องเป็นกูรูด้านการบริหารงานคุณภาพ ได้เขียนแนวคิดที่สำคัญไว้สามเรื่อง คือ “14 Points for Management” เพื่อเสนอปรัชญาการบริหารงานคุณภาพตามหลักสถิติ, Plan-Do-Check-Act เพื่อเสนอวงจรการบริหารงานคุณภาพ, และ “7 Deadly Diseases of Management” เพื่อชี้ให้เห็นปัญหาร้ายแรงเจ็ดประการซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางความสำเร็จขององค์กร

     เดิม Deming กล่าวถึงปัญหาซึ่งถือเป็นอุปสรรคหรือโรคร้ายที่กีดขวางความสำเร็จขององค์กรไว้เพียงห้ารายการ แต่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 เขาได้เพิ่มปัญหาขึ้นมาอีกสองรายการ คือค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายด้านคดีความ ปัญหาที่เพิ่มขึ้นมานี้เป็นปัญหาภายนอกซึ่งต้องได้รับความร่วมมือในระดับนโยบายรัฐ แต่เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ตามแนวคิดของ Deming ผู้เขียนจึงได้นำปัญหาทั้งสองมารวมเข้าในบทความนี้ด้วย

     ปัญหา 7 ประการที่เป็นอุปสรรคกีดขวางความสำเร็จขององค์กร

Read the rest

6-Box Model [Weisbord]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์กรจากองค์ประกอบทางการบริหาร 6 ประการ

     คงเป็นเรื่องยากที่จะระบุลงไปให้ชัดเจนว่าองค์กรของเรามีความไม่เหมาะสมในเรื่องใด, ทำงานได้เต็มศักยภาพตามที่ออกแบบมาหรือไม่, และมีช่องว่างระหว่างสถานะที่เป็น กับที่ควรเป็น อยู่ในเรื่องใด ทั้งนี้เพราะความไม่เหมาะสมเหล่านั้นเป็นสภาพที่แฝงตัวอยู่ มองเห็นไม่ชัดในระดับพื้นผิว ต่อเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจึงค่อยได้รู้ว่าปัญหานั้นมีความบกพร่องอยู่ในส่วนใด และบ่อยครั้งที่ความบกพร่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่อยู่กับองค์กรมาโดยตลอด เพียงแต่เราไม่รู้มาก่อนเท่านั้นว่ามีความบกพร่องนั้นอยู่

     การพลาดโอกาสได้แก้ไขสิ่งบกพร่องที่มีอยู่ในระบบการทำงานก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น เป็นแรงผลักดันให้ Marvin Weisbord นักวิเคราะห์ธุรกิจชาวอเมริกัน เขียนแนวคิดของเขาที่เรียกว่า Six-Box Model ลงในบทความชื่อ Organizational Diagnosis: Six Places to Look for Trouble With or Without a Theory โดยเสนอให้ผู้บริหารตรวจวินิจฉัยองค์ประกอบทางการบริหาร 6 รายการ การตรวจสอบองค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริหารได้มองเห็นทางเลือกในการปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องซึ่งแฝงตัวอยู่และเติมเต็มช่องว่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่

Read the rest

5 Functions of Management [Fayol]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
หน้าที่ 5 ประการทางการบริหาร [Fayol]

     Henri Fayol วิศวกรและผู้บริหารอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ชาวฝรั่งเศส ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาการบริหารงานสมัยใหม่ และบิดาสำนักการบริหารเชิงระบบ ได้นำเสนอทฤษฎีการบริหารธุรกิจที่เรียกว่า Fayolism เพื่อให้ความรู้ด้านการบริหาร Fayol เห็นว่า ธุรกิจและอุตสาหกรรมได้พัฒนาและมีความความซับซ้อนมากขึ้น องค์กรจำเป็นต้องมีการบริหารที่เป็นมืออาชีพมากกว่าที่เป็นอยู่ จึงได้เขียน หลักการบริหาร 14 ประการ (14 Principles of Management) ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1916 และจากประสบการณ์ความสำเร็จในฐานะผู้บริหารกิจกรรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ขนาดใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส เขาได้แจกแจงกิจกรรมในธุรกิจอุตสาหกรรมออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมด้านเทคนิค, การค้า, การเงิน, ความปลอดภัย, บัญชี, และการบริหาร

Read the rest

5 Disciplines of Learning Organizations [Senge]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
วินัย 5 ประการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ [Senge]

     Peter Senge เขียนหนังสือชื่อ “The Fifth Discipline” ในปี ค.ศ. 1990 และ “The Fifth Discipline Fieldbook: Strategies and Tools for Building a Learning Organization” ในปี ค.ศ. 1994 โดยสรุปรวมผลงานวิจัยเพื่อตอบคำถามว่า องค์กรต่างๆ สร้างความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นมาได้อย่างไร และทำไมบางองค์กรจึงสามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ได้ดีกว่าองค์กรอื่น Senge ประมวลแนวปฏิบัติทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นมาเป็นวินัย 5 ประการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ พร้อมให้นิยาม

Read the rest

4 Dimensions of Relational Works [Butler and Waldroop]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ทักษะ 4 ประเภทในงานที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น

     ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (interpersonal savvy) เข้าใจปัญหาของผู้ร่วมงานและสามารถเข้าไปจัดการกับความขัดแย้งที่สมาชิกในทีมมีต่อกัน เป็นคุณสมบัติที่เรามักพบเห็นได้ในตัวผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และผู้จัดการฝ่ายขาย  แต่ที่จริงแล้ว คุณสมบัติเช่นว่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในเกือบจะทุกเรื่องทางธุรกิจ ไม่ใช่เฉพาะแต่กับงานด้านทรัพยากรมนุษย์หรืองานขายเท่านั้น จากผลงานวิจัยตลอดระยะเวลา 18 ปีของ Thimothy Butler และ James Waldroop เพื่อหาคำตอบว่า นักธุรกิจได้พัฒนาตนเองขึ้นมาจนประสบความสำเร็จในงานอาชีพได้อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า บุคคลเหล่านั้นประสบความสำเร็จได้มากเมื่อได้ทำงานที่เขาให้ความสนใจอย่างจริงจัง ผลการศึกษานี้ได้ถูกนำมาปรับใช้ในการเพิ่มผลผลิตและการคัดเลือกคนเข้าทำงาน โดยก่อนจะมอบหมายงานหรือก่อนจะรับบุคคลเข้าทำงาน จะศึกษาทดสอบว่าบุคคลนั้นมีความสนใจในงานที่จะได้รับมอบหมาย หรืองานที่มาสมัคร อย่างจริงจังหรือไม่เพียงใด และถือเป็นปัจจัยคัดสรรที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวุฒิหรือประวัติการศึกษา

     โดยหลักบริหารทั่วไป ผู้บริหารสามารถเพิ่มผลผลิตหรือผลงานได้ด้วยการ

  1. คัดสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน
  2. มอบหมายงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ
  3. ให้รางวัลที่สมควรเพื่อตอบแทนผลการปฏิบัติงาน
  4. ส่งเสริมผู้ปฏิบัติให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

Read the rest

360 Degree Feedback and Evaluation

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ข้อมูลป้อนกลับและการประเมินผลแบบ 360 องศา

     ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา คุณอาจมีประเด็นหรือหัวข้อที่จะใช้ในการประเมินอยู่ในมือ และมั่นใจว่าหัวข้อเหล่านั้นสามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานของลูกน้องคุณได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ทำกันแบบเดิมซึ่งมีผู้ประเมินเพียงคนเดียวในลักษณะจากบนลงล่าง แม้หัวข้อการประเมินจะครบถ้วนสมบูรณ์เพียงใด ก็อาจให้ภาพที่ไม่ครบถ้วน ส่วนที่ขาดหายไปคือ ข้อเท็จจริงที่อาจถูกบิดเบือนไปด้วยมุมมองส่วนตัวและอคติที่มีอยู่ในใจของผู้ประเมิน แต่ด้วยการประเมินแบบ 360 องศา คุณจะได้รับข้อมูลจากผู้ประเมินคนอื่นๆ ที่มาช่วยเติมภาพในส่วนที่ขาดหายหรือที่ถูกบิดเบือนไป ข้อมูลจากมุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลาย จะปะติดปะต่อกันเป็นภาพที่สมบูรณ์ ผู้ประเมินคนหนึ่งอาจให้มุมมองที่คับแคบหรือมีอคติ แต่ผู้ประเมินอื่นๆ อาจให้ภาพที่ครบถ้วนสมบูรณ์กว่า การประเมินด้วยวิธีนี้จึงไม่เพียงให้ภาพที่ชัดเจนว่าควรพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานของพนักงานในเรื่องใด แต่ยังช่วยให้เกิดการทำงานเป็นทีม การประจบประแจงเจ้านายจะไม่มีผลใดๆ หากข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินของคนอื่นๆ ชี้ว่าพนักงานผู้นี้ขี้โอ่ ไม่ให้ความร่วมมือ เอาเปรียบ และชอบเอาการเมืองมาใช้ในการทำงาน

การประเมินแบบ 360 องศา คืออะไร
     360 Degree Feedback มีชื่อเรียกในชื่ออื่นๆ อีกหลายชื่อ

Read the rest

14 Principles of Management [Fayol]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
หลักการบริหาร 14 ประการของ Fayol

     เมื่อเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม การผลิตสินค้าได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรแทนแรงคน และเปลี่ยนแหล่งกำเนิดสินค้า จากครัวเรือนมาเป็นโรงงาน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการศึกษาและพัฒนาความรู้เรื่องการบริหาร แทบไม่มีเครื่องมือ, model,  หรือวิธีการบริหารอะไรให้ผู้บริหารได้ใช้เลย แม้ว่าเมื่อสิ้นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จะมีการสร้างหลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ขึ้นมา เช่น หลักการบริหารของ Taylor ก็เป็นเพียงการหาวิธีการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าครั้งละมากๆ แต่ขาดหลักที่จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร Henry Fayol (1841-1925) นับเป็นคนแรกที่ได้วางรากฐานการบริหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การสังเกตและการวิเคราะห์ประสบการณ์การทำงานของผู้บริหารอยู่นานหลายปี และนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เป็น หลักการบริหาร 14 ประการ เพื่อใช้เป็นแนวทางให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจและการบริหารจัดการ

ประวัติย่อของ Henri Fayol
     Henri Fayol เป็นชาวฝรั่งเศส เกิดที่อิสตันบูลในปี ค.ศ. 1841 เมื่ออายุ 19

Read the rest