ABCD Model for Instructional Objectives

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
เขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ด้วยหลัก ABCD

     วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เขียนได้ดี จะให้ภาพที่ชัดเจนว่าผู้สอนหรือหลักสูตรนี้คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ หรือทักษะอะไร วัตถุประสงค์การเรียนรู้ควรมีความจำเพาะเจาะจงและสามารถวัดผลได้ซึ่งนอกจากจะช่วยเป็นแนวทางให้แก่ผู้สอนแล้ว ยังเป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ด้วย นักจิตวิทยาการสอน Robert Mager ได้เสนอรูปแบบการเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เรียกว่า ABCD Model for Instructional Objectives โดยเขาได้แนะนำให้ผู้กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ถามตนเองว่า หลังการเรียนรู้ ผู้เรียนจะมีความรู้ที่ไม่เคยรู้, สามารถทำอะไรที่ไม่เคยทำ, หรือมีความแตกต่างอย่างไรระหว่างก่อนกับหลังเรียน คำตอบที่ได้จะเป็นรากฐานในการกำหนดวัตถุประสงค์และผลที่คาดหวังจะได้รับจากการเรียนรู้

     วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ต้องเขียนให้ชัดเจนไม่กำกวม สามารถสังเกตและวัดผลได้ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เน้นผลที่จะได้รับอย่างจำเพาะเจาะจง วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการออกแบบการสอนเพราะเป็นเค้าโครง (roadmap) ให้กับการออกแบบและการเขียนหลักสูตร เราเรียกกระบวนการคิดทบทวนรวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรและเนื้อหาการสอนซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ พฤติกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ว่า ข้อตกลงในการปฏิบัติ (Performance Agreement)

Read the rest

9 Levels of Learning [Gagne]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ลำดับการเรียนรู้ 9 ขั้นตอน

     Robert M. Gagne (1916 – 2002) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 1940 ระหว่างทำงานให้กับกองทัพอเมริกันในสงครามโลกครั้งที่สอง Gagne ได้วางรากฐานการสอนที่ดี (good instruction) และมาได้รับชื่อเสียงมากที่สุดจากหนังสือชื่อ The Conditions of Learning (1965) ในหนังสือดังกล่าว เขาได้กล่าวถึงสภาพจิตใจ (mental condition) ของผู้เรียนว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ ลำดับการเรียนรู้ 9 ขั้นตอนของ Gagne เป็นข้อแนะนำที่จำเป็นและเป็นประโยชน์กับการเรียนรู้ทุกประเภท แต่ที่ Gagne เน้นเป็นพิเศษในหนังสือของเขา คือการให้การฝึกอบรมในสภาพแวดล้อมการทำงานซึ่งวิทยากรหรือผู้สอนสามารถใช้เป็น checklist ตรวจความพร้อมและการเตรียมการของตนก่อนเริ่มการฝึกอบรมหรือการสอน

Read the rest

7 Steps to Turn Your Dreams into Goals and Achieve Them

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การทำความใฝ่ฝันให้เป็นจริงใน 7 ขั้นตอน

     คนเรามักมีความใฝ่ฝันที่จะทำบางสิ่งซึ่งมีความหมายในชีวิตของตนให้สำเร็จ เช่น อยากเขียนหนังสือที่มีคนอ่านจำนวนมาก, เล่นเครื่องดนตรีที่ชื่นชอบเป็นพิเศษให้เก่งจนออกงานได้, ทำธุรกิจของตนเองให้มั่นคงมีกำไร, หรือประสบความสำเร็จถึงจุดสูงสุดในชีวิตการทำงาน แต่ความคิดฝันเหล่านั้น คิดอย่างไรก็คงจะอยู่อย่างนั้นไปจนกว่าจะเริ่มลงมือทำ เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ไม่เริ่มที่จะทำอะไรก็มาจากการถอดใจและดูถูกตนเองตั้งแต่แรกว่าทำไปก็ไม่มีทางสำเร็จ โทษโชคชะตาฟ้าดินว่าไม่ประทานพรสวรรค์มาให้เหมือนคนอื่น วัน ๆ ได้แต่นั่งถอนใจ หงุดหงิดหัวเสีย ปล่อยตัวให้จมอยู่กับความสิ้นหวังและด่าทอโทษทุกสิ่งที่เกิดกับตนว่าเป็นชะตากรรมที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งก็มีความไฝ่ฝันที่จะเป็นโน่นเป็นนี่หรือทำโน่นทำนี่เช่นกัน แม้จะไม่ค่อยมั่นใจในความสำเร็จมากนัก แต่แทนที่จะงอมืองอเท้า พวกเขากลับเลือกที่จะรับผิดชอบชีวิตของตนเอง ไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องของโชคชะตา

     หากคุณต้องการเป็นคนกลุ่มที่สามารถเปลี่ยนฝันให้เป็นจริง ลองศึกษาและปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งเจ็ด ต่อไปนี้

1. อย่าจมอยู่กับความสิ้นหวัง เริ่มสร้างเป้าหมายให้ชีวิต (Keep your eyes open)

   1.1 ไม่จมอยู่กับความผิดหวัง (sit idle) จะต้องกล้าเผชิญกับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

   1.2

Read the rest

5E Instructional Model

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
5 ลำดับขั้นการเรียนการสอนที่ควรนำมาใช้ปฏิบัติ

     รูปแบบการสอนแบบ 5E เป็นกลยุทธ์การสอนที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สร้างทั้งความสนใจ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และปูทางให้กับการพัฒนาทักษะโดยใช้การตั้งคำถาม (inquiry) เป็นพื้นฐานในการให้ผู้เรียนได้นำประสบการณ์ที่เรียนรู้หรือฝึกฝน มาทดลองปฏิบัติหรือแสวงหาคำตอบ เกิดเป็นการเรียนรู้จากความเข้าใจที่ผู้เรียนค่อยๆ สร้างสมขึ้นมา โดยผู้สอนจะเป็นผู้ช่วยแนะนำแก้ไขและเสริมต่อในส่วนที่จำเป็น ต่างจากการสอนแบบเดิมที่ใช้การป้อนความรู้จากผู้สอนเป็นหลัก

     การตั้งคำถาม (inquiry) เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์และผู้ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ใช้ในการหาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ การตั้งคำถามจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และความเข้าใจในแนวคิด หลักการ รูปแบบ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การตั้งคำถามจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของการศึกษาวิทยาศาสตร์ในทุกระดับและในทุกสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ 5E model เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมาโดยมุ่งหมายให้ใช้เป็นแนวทางการสอนและเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ แต่แนวทางนี้ก็สามารถนำไปปรับใช้กับการศึกษาวิชาความรู้ในสาขาอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการให้การฝึกอบรมในสถานประกอบการซึ่งผู้เรียนต่างผ่านประสบการณ์กันมามากพอที่จะเข้าใจปัญหาและนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้ นอกจากนั้น การเรียนรู้ร่วมกันตามหลัก 5E ยังเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการทำงานเป็นทีมอีกด้วย

ความเป็นมาของ 5E model
     นักการศึกษาสองท่าน คือ J. Myron

Read the rest

4 Phases for Learning New Skills

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การพัฒนาทักษะความรู้ใหม่ใน 4 ขั้น

     การพัฒนาตนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน ต้องผ่านการฝึกฝนเรียนรู้ในสี่ขั้นตอน เป็นเรื่องที่ลำบากเหนื่อยยากสำหรับทุกคน สิ่งที่ผู้เรียนรู้จำเป็นต้องมี คือ ความอดทน และความสม่ำเสมอในการเรียนรู้
     Martin M. Broadwell เป็นคนแรกที่สร้างแนวคิดนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1969 ต่อมา Noel Burch พนักงานของ Gordon Training International ได้นำแนวคิดนี้มาพัฒนาต่อในทศวรรษที่ 1970 ในชื่อ The Four Phases for Learning New Skills มีผู้นำแนวคิดนี้มาเผยแพร่ในชื่ออื่นๆ อีกมากมาย เช่น The Four Stages

Read the rest

4MAT Learning Cycle Model [Bernice McCarthy]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
วงจรการเรียนรู้แบบ 4MAT [Bernice McCarthy]

     4MAT learning model เป็น model สร้างการเรียนรู้ที่น่าสนใจและเป็นแนวทางใหม่สำหรับการเรียนรู้ ในการสอนแบบเดิมๆ ผู้สอนอาจมุ่งเน้นไปที่การป้อนข้อเท็จจริงและข้อมูลเป็นหลักเพื่อตอบคำถามว่า อะไร (what) แต่ 4MAT model จะเน้นไปที่การกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วยคำถามว่าทำไม (why) เพื่อผู้สอนจะได้สามารถขยายความเข้าใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น โดยผู้สอนจะเริ่มด้วยการเชื่อมต่อ (connect) ผู้เรียนเข้ากับการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ดึงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เรียนขึ้นมา สร้างการเชื่อมโยงส่วนบุคคลให้เกิดเป็นแรงจูงใจและความรู้สึกผูกพันกับสิ่งที่เรียน

ที่มาของแนวคิด
     4MAT มีรากฐานส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดของ David Kolb เรื่องรูปแบบการเรียนรู้ (learning styles)
     Kolb กล่าวว่าการเรียนรู้มีอยู่ 4 รูปแบบ ผู้เรียนแต่ละคนจะชอบการการเรียนรู้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน

Read the rest

4-Level of Training Evaluation Model [Kirkpatrick]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การประเมินผลการฝึกอบรม 4 ลำดับของ Kirkpatrick

     ผู้จัดการฝึกอบรมทุกคน ย่อมต้องการรู้ว่าผู้รับการฝึกอบรมนำสิ่งที่ได้เรียนรู้กลับไปใช้ในงานหรือไม่ และการนำความรู้ทักษะนั้นไปใช้ในการทำงานส่งผลต่อฐานะทางธุรกิจหรือบทบาทหน้าที่ที่องค์กรมีต่อสังคมหรือไม่เพียงใด การประเมินผลการฝึกอบรมของ Kirkpatrick หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Kirkpatrick Model สามารถให้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้ได้ นอกจากนั้นยังสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ผู้รับการฝึกอบรมได้เรียนรู้และจะสามารถปรับปรุงการเรียนรู้ของพวกเขาต่อไปในอนาคตได้มากน้อยเพียงใดอีกด้วย Kirkpatrick Model เป็น model วิเคราะห์และประเมินผลโครงการฝึกอบรมที่รู้จักกันมากที่สุด โดยมีหัวข้อการพิจารณาที่ไล่เรียงกันไป 4 ลำดับ คือ Reaction, Learning, Behavior และ Result

ที่มาและแนวคิด
     Donald Kirkpatrick (1924 – 2014) ศาสตราจารย์กิตติคุณมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นผู้สร้าง model

Read the rest

70-20-10 Rule

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
70-20-10 Rule สัดส่วนการเรียนรู้แบบผสมผสาน

กฎ 70-20-10 คืออะไร มีที่มาอย่างไร
     กฎ 70-20-10 เป็น Model เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา บางครั้งเขียนว่า 70:20:10 หรือ 70/20/10 เป็น model ที่แตกวิธีการเรียนรู้ของบุคคลออกเป็นส่วนๆ สัดส่วนของกฎ 70-20-10 ได้มาจากการสำรวจสอบถามผู้บริหารระดับสูงประมาณ 200 คนว่าพวกเขาเรียนรู้หรือได้ความรู้ในการทำงานมาอย่างไร วัตถุประสงค์ของการสำรวจ เพื่อชี้ให้เห็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้นมีวิธีการพัฒนาความรู้ความสามารถของพวกเขามาอย่างไร
     จากการสำรวจ ผู้บริหารได้แจกแจงการเรียนรู้ของพวกเขาว่า
     • 70% มาจากประสบการณ์ (experience) ในการทำงานที่ท้าทาย
     • 20% มาจากการมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับผู้อื่น
     •

Read the rest

ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมความปลอดภัย

    สมัยก่อน เวลาที่เราชมว่าใครฉลาด จะหมายความว่าบุคคลนั้น หัวดี หรือมีความฉลาดทางปัญญา (Intelligence Quotient: IQ) มีโอกาสความก้าวหน้าในชีวิต ในสุภาษิตไทยเองก็มีคำกล่าวว่า “คนโง่ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด” ซึ่งมีความหมายไปในเชิงดูถูกผู้มีปัญญาน้อยว่าย่อมต้องแพ้คนมีปัญญามากกว่าวันยันค่ำ ความฉลาดทางปัญญาจึงเป็นเหมือนเครื่องชี้ความสำเร็จของบุคคลทั้งในการศึกษาเล่าเรียนและในการประกอบอาชีพการงาน การทำข้อสอบที่ตรงหรือใกล้เคียงกับธงคำตอบมากที่สุด หรือความสามารถทำปัญหาให้หมดไปโดยไม่คำนึงถึงวิธีการจึงเป็นเครื่องวัดความฉลาดของบุคคลในสมัยนั้น ความฉลาดทางปัญญาแบ่งออกเป็นสองประเภท คือฉลาดไหวพริบ (Aptitude) และฉลาดเรียนรู้ (Achievement)

    จนกระทั่งประมาณต้นทศวรรษที่ 1990 Daniel Goleman ได้นำเสนอผลงานวิจัยว่า ความฉลาดทางปัญญามีส่วนในความสำเร็จของบุคคลเพียงไม่เกิน 20% ส่วนที่เหลืออีก 80% เป็นผลมาจากปัจจัยอื่น ส่วนใหญ่ในนั้นคือความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ) ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญสองประการ ได้แก่

    1) ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเองและมีความคิดเชิงบวก (Intrapersonal intelligence) Read the rest