Adaptive Leadership

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ทักษะผู้นำในการประเมินผลกระทบของสภาพแวดล้อมและปรับมาตรการแก้ไขให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง

     มีองค์กรมากมายที่เคยประสบความสำเร็จแต่ก็รักษาความสำเร็จนั้นไว้ไม่ได้เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวให้กับพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โกดัก ซึ่งเคยประสบความสำเร็จอย่างมากกับสินค้าของตน คือ ฟิล์มถ่ายภาพ แต่จากการไม่ได้ปรับตัวให้เข้ากับวิวัฒนาการการถ่ายภาพแบบดิจิทัล จึงต้องขายสิทธิบัตรของตนเป็นจำนวนมากเพื่อให้พ้นจากการล้มละลาย องค์กรทั้งหลายที่ต้องการหลีกเลี่ยงชะตากรรมดังกล่าว ควรศึกษาทักษะความสามารถของผู้นำในเชิงรุกซึ่งเรียกว่า 4A หรือ adaptive leadership ประกอบด้วย

   o Anticipation คาดหมายความต้องการ แนวโน้ม และทางเลือกที่สามารถสนองความต้องการในอนาคต
   o Articulation นำสิ่งที่คาดการณ์นั้นมาสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้เกิดแรงสนับสนุนร่วมกัน
   o Adaptation พัฒนาความสามารถของบุคลากรด้วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และปรับแนวทางปฏิบัติทั้งหลายตามความจำเป็น
   o Accountability แสดงความโปร่งใสให้มากที่สุดในกระบวนการตัดสินใจและพร้อมที่จะเผชิญและตอบสนองสิ่งท้าทายทั้งหลายที่จะเกิดขึ้น

     ทักษะหรือความสามารถในการเป็นผู้นำดังกล่าว จะช่วยให้ทั้งบุคคลและองค์กรมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยและสามารถยืนหยัดท่ามกลางความท้าทายจนบรรลุผลสำเร็จที่มุ่งหวังได้ในที่สุด

     ปัญหาซึ่งท้าทายความสามารถของผู้บริหาร อาจแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่
   1) ปัญหาทางเทคนิค (technical

Read the rest

Action Centred Leadership (ACL) [John Adair]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความรับผิดชอบหลักของผู้นำ [John Adair]

     เป็นรูปแบบภาวะผู้นำตามแนวคิดของ John Adair ที่ให้แนวทางแก่ผู้นำและผู้บริหารในการพาทีมและองค์กรสู่ความสำเร็จ มีรูปแบบที่ง่ายต่อการจดจำ ใช้ปฏิบัติได้จริง ตามแนวคิดนี้ ผู้บริหารและผู้นำที่ดี คือผู้นำที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความรับผิดชอบที่สำคัญสามเรื่อง มักแสดงในรูปวงกลมสามวงซ้อนเหลื่อมกัน (three overlapping circles) ประกอบด้วย การปฏิบัติภารกิจ (Task), การพัฒนาทีมงาน (Team), และการพัฒนาบุคลากร (Individual) ผู้นำที่สามารถรักษาสมดุลทั้งสามเรื่องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จะสามารถสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กรทั้งด้านผลการปฏิบัติงาน, สินค้าบริการที่มีคุณภาพ, ทีมงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน, รวมถึงพนักงานที่มีขวัญกำลังใจและความมุ่งมั่นในการทำงาน

     John Adair เกิดในปีค.ศ. 1934 เสนอแนวคิดเรื่อง Action Centred Leadership ในหนังสือของเขาชื่อ

Read the rest

ABCD Trust Model [Ken Blanchard]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
สร้างความไว้วางใจในความเป็นผู้นำด้วยคุณสมบัติ ABCD

     เป็นรูปแบบภาวะผู้นำที่เน้นการได้รับความไว้วางใจเป็นปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการทำงาน ความไว้ใจที่มีต่อกันทำให้เกิดความร่วมมือ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และผลงานที่ประสิทธิภาพ ตรงข้ามกับความไม่วางใจซึ่งเป็นที่มาของการวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิติเตียน ระแวงสงสัย และความวิตกกังวล

     ความไว้วางใจเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของความสัมพันธ์ทุกประเภท เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้องค์กรธรรมดา ๆ กลายเป็นองค์กรผลงานเลิศ (high-performance organization) ความไว้วางใจเป็นความรู้สึกที่ควรมีด้วยกันทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายหัวหน้าหรือผู้นำ และฝ่ายลูกน้องหรือผู้ตาม เมื่อใดที่ความไว้วางใจขาดหายไป ลูกน้องอาจหันไปพึ่งพิงผู้อื่นที่ตนไว้วางใจมากกว่า และหัวหน้าก็อาจไม่อยากมอบหมายงานสำคัญให้ทีมงานหรือผู้ที่ตนไม่ไว้วางใจทำอีกต่อไป งานที่เคยทำได้อย่างราบรื่นก็จะล่าช้าออกไปเนื่องจากต้องมาเริ่มต้นศึกษากันใหม่ ความไว้วางใจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะและบำรุงเลี้ยงให้เติบโต แต่ก็สามารถล้มหรือหมดสิ้นได้ในพริบตา เมื่อใดที่ความไว้วางใจที่เคยมี ได้หมดสิ้นลง การจะกลับรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่นั้นยากและใช้เวลามากกว่าเดิมหลายเท่า เพราะเป็นการเริ่มที่ติดลบ คือ ต้องกำจัดความหวาดระแวงให้หมดไปก่อนจึงจะเริ่มสร้างความไว้วางใจขึ้นมาใหม่ได้

ความหมายของความไว้วางใจ
     ความไว้วางใจ หมายถึงความเชื่อมั่นที่ฝ่ายหนึ่งมีในความซื่อสัตย์ (honesty), ซื่อตรง (integrity), และน่าเชื่อถือ

Read the rest

3D Leadership Model [Reddin]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ประสิทธิผลของผู้นำใน 3 มิติ

     ภาวะผู้นำ 3 มิติ (3D Leadership Model) หรือ Three-Dimensional Grid เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการนำรูปแบบการบริหารไปใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นผลงานของ Bill Reddin ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมการบริหารชาวอังกฤษผู้พัฒนาแนวคิดเรื่อง Situational Demands ซึ่งกล่าวถึงพฤติกรรมของผู้บริหารหรือผู้นำที่ควรมีหรือควรเป็นในสถานการณ์ที่กำหนด แม้ผู้นำแต่ละคนจะมีรูปแบบการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งแต่ก็ไม่ควรยึดติดอยู่กับรูปแบบนั้น ควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่จึงจะสามารถสร้างความสำเร็จที่แท้จริงได้

     Bill Reddin เสนอแนวคิดเรื่องภาวะผู้นำ 3 มิติครั้งแรกในผลงานวิจัยเรื่อง Managerial Effectiveness and Style: Individual or Situation เขาได้กล่าวถึงภาวะผู้นำหลายรูปแบบรวมถึงผลสัมฤทธิ์ของภาวะผู้นำเหล่านั้นในสถานการณ์ต่าง ๆ หลักสำคัญที่ต้องการนำเสนอ คือ ไม่มีภาวะผู้นำรูปแบบใดเพียงรูปแบบเดียวที่มีประสิทธิผลสูงสุดในทุกสถานการณ์

Read the rest

7 Transformations of Leadership [Rooke and Torbert]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การปรับเปลี่ยนสู่สุดยอดความเป็นผู้นำใน 7 ระดับ

     นักจิตวิทยาการบริหารสมัยใหม่ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้นำคนหนึ่งต่างจากผู้นำอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่เพราะบุคลิกภาพหรือรูปแบบการบริหาร แต่เป็นแนวคิดที่ต่างกันในการประเมินสภาพแวดล้อมและตอบสนองสิ่งท้าทาย David Rooke ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กร และ William R. Torbert ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมในองค์กร ได้ร่วมกันเขียนบทความเรื่อง Seven Transformations of Leadership ลงพิมพ์ใน Harvard Business Review ฉบับเดือนเมษายน 2005 โดยไม่ได้เน้นปรัชญาภาวะผู้นำแบบใดเป็นการเฉพาะ แต่เน้นที่แนวคิดและพฤติกรรมการบริหารของผู้นำ Rooke และ Torbert มั่นใจว่า การทำความเข้าใจและปรับปรุงแก้ไขแนวคิดของบุคคล จะช่วยเพิ่มทั้งความสามารถในการเป็นผู้นำและความสามารถโดยรวมขององค์กร

     Rooke และ Torbert ร่วมกับคณะนักวิจัยจำนวนหนึ่ง ใช้เวลากว่า

Read the rest

7 Signs of Ethical Collapse [Jennings]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
สัญญาณเจ็ดประการที่ชี้ความบกพร่องทางจริยธรรมขององค์กร [Jennings]

     การล้มละลายและปิดกิจการของบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Enron, WorldCom, Tyco, Arthur Anderson, Health South ฯลฯ ได้เปิดประเด็นคำถามต่อผู้คนมากมายว่า ก่อนวันนั้นจะมาถึง มีสัญญาณบอกเหตุอะไรให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลายได้ทราบก่อนหรือไม่ว่า ความวิบัติกำลังจะเกิดขึ้นกับองค์กร ความสงสัยใครรู้นี้ชักนำให้ Marianne M. Jennings ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านจริยธรรมธุรกิจ Arizona State University ทำการศึกษาค้นคว้าหาสัญญาณบอกเหตุดังกล่าวโดยมีข้อสมมุติฐานว่าสาเหตุสำคัญมาจากความเสื่อมโทรมด้านจริยธรรมในการบริหาร Jenningsได้ทำ presentation ปัญหาด้านจริยธรรมของบริษัท เช่น General Electric, Merrill Lynch, AT&T, Arthur Anderson, United Health Group

Read the rest

7 Habits of Highly Effective People [Stephen Covey]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
อุปนิสัย 7 ประการของผู้ประสบความสำเร็จ

     Stephen R. Covey เขียนหนังสือชื่อ 7 Habits of Highly Effective People (1989) หรือ อุปนิสัย 7 ประการของผู้ประสบความสำเร็จด้วยความเชื่อว่า ความคิดเห็นที่เรามีต่อสิ่งใด ล้วนเป็นผลมาจากการรับรู้ (perception) ของเราที่มีต่อสิ่งนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นกับตัวเรา จะต้องเปลี่ยนที่การรับรู้ของเราเอง หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มียอดขายตั้งแต่จัดพิมพ์ครั้งแรกถึง 25 ล้านเล่ม

     จากการศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในช่วงระยะกว่า 200 ปีที่ผ่านมา Covey ได้พบว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงนิยามความหมายของความสำเร็จเป็นสามช่วง กล่าวคือ

     ก่อนทศวรรษที่ 1920: ความสำเร็จเป็นเรื่องของการมีจริยธรรมเป็นคุณสมบัติประจำตัว (character ethic)

Read the rest

6 Rules for Success [Schwarzenegger]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
กฎ 6 ข้อแห่งความสำเร็จ [Schwarzenegger]

     เขื่อว่าทุกคนคงรู้จัก Arnold Schwarzenegger กันดี เขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จทั้งการเป็นแชมป์โลกกีฬาเพาะกาย  ดาราฮอลลิวูด และผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนในตลาดการเงิน เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านั้นคือ กฎ 6 ข้อแห่งความสำเร็จที่เขาสร้างขึ้นมาเองและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในชีวิตประจำวัน แม้กฎที่ว่านี้จะมีบางส่วนขัดแย้งกับกฎทางสังคมอยู่บ้าง แต่ Arnold ยืนยันว่ากฎที่เขาสร้างขึ้นมาทั้ง 6 ข้อนี้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายได้จริง

1. ยึดมั่นตามความใฝ่ฝันของตน (Trust Yourself)
     กฎข้อแรกของความสำเร็จ คือ ต้องมีความใฝ่ฝันหรือเป้าหมาย มิเช่นนั้นก็จะเป๋ไปเป๋มา (drift around) อย่างไร้จุดหมายและไม่พบกับความสำเร็จใดๆ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าการมีความใฝ่ฝัน คือ ความใฝ่ฝันหรือเป้าหมายที่มีนั้นจะต้องเป็นของเราเอง ไม่ใช่เอาความใฝ่ฝันที่พ่อแม่มีต่อตัวเรามาเป็นความใฝ่ฝันของเรา Arnold เล่าว่า

Read the rest

6 Emotional Leadership Styles

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ภาวะผู้นำ 6 รูปแบบที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของทีมงาน [Goleman]

     เชื่อว่าหลายท่านที่อ่านบทความนี้คงมีผู้นำที่ชื่นชมอยู่ในใจบ้างไม่มากก็น้อย ความรู้สึกชื่นชมที่ว่านี้ น่าจะไม่ใช่มาจากฐานะตำแหน่งของผู้นำ แต่มาจากการที่ผู้นำนั้นสามารถใช้ภาวะความเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และโอกาส สร้างบรรยากาศความกระตือรือร้นให้ทีมงานอยากทะยานออกไปปฏิบัติภารกิจในความรับผิดชอบให้สำเร็จโดยเร็ว มีความสุขในการทำงาน ภูมิใจที่ได้แสดงความคิดเห็นและเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานซึ่งมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในทางตรงข้าม ก็อาจมีผู้อ่านหลายท่านมีความรู้สึกด้านลบกับผู้นำซึ่งแม้จะมีการแสดงออกที่นุ่มนวลเปิดกว้าง แต่ทีมงานกลับเต็มไปด้วยการทะเลาะเบาะแว้ง หรือไม่พอใจผู้นำที่ชอบแต่สั่งๆ ในเวลาที่ควรรับฟังความคิดเห็นของทีมงาน หรือผู้นำที่ไม่ยอมตัดสินใจในเวลาที่ควรใช้ความเด็ดขาด

     Daniel Goleman, Richard Boyatzis และ Annie Mckee เชื่อว่าอารมณ์ความรู้สึกที่ทีมงานมีต่อผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ ล้วนเป็นปัจจัยที่ผลักดันหรือบั่นทอนความสำเร็จตามเป้าหมายของทีมงาน พวกเขาจึงได้ทำวิจัยเพื่อค้นหารูปแบบภาวะผู้นำที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของทีมงาน รวมทั้งสถานการณ์ที่ควรและไม่ควรนำรูปแบบนั้นมาใช้ ประชากรในการทำวิจัยคือผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจำนวน 3,871 คน

     Goleman และคณะนำผลการวิจัยที่ได้ มาเขียนเป็นหนังสือชื่อ Primal Leadership (2002) ตามผลการวิจัย

Read the rest

14 Misconceptions About Leadership

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความเข้าใจผิด 14 ประการในเรื่องภาวะผู้นำ

     ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เช่น ผู้นำคือผู้ที่มีความสามารถพิเศษกว่าคนทั่วไป อาจส่งผลได้ทั้งทางบวกและทางลบ ผลในทางบวกคือ เกิดเป็นความศรัทธาและความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ ส่วนผลในทางลบคือ การวางมือ ปล่อยให้ผู้นำได้ใช้ความสามารถที่เป็นพิเศษนั้นดำเนินการไปเพียงลำพัง โดยทีมงานคอยแต่จะรับคำสั่งและความช่วยเหลือจากผู้นำ
    ถึงจะมีผลในทางบวกอยู่บ้าง แต่ความเข้าใจผิดก็คือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้นำที่ดีจะไม่ปล่อยให้ความเข้าใจผิดนั้นคงมีอยู่ต่อไปแม้ความเข้าใจผิดนั้นจะเกิดประโยชน์แก่ตน เพราะหากปล่อยให้ทีมงานได้ทราบความจริงด้วยตนเองในภายหลังว่า ผู้นำที่แท้ก็เป็นปุถุชนคนหนึ่งที่มีโอกาสผิดพลาดและมีความสามารถจำกัดเช่นเดียวกับคนอื่นๆ คนเหล่านั้นอาจไม่ได้คิดว่าที่ผู้นำไม่ได้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทีมงานทราบ เป็นเพราะการมองข้ามความจำเป็นในเรื่องนี้ แต่พวกเขาอาจคิดไปได้ว่า ผู้นำตั้งใจสร้างความเข้าใจผิด หรือตั้งใจหลอกให้พวกเขาเข้าใจเช่นนั้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการทำงานเป็นทีม

     ความเข้าใจผิดในเรื่องภาวะความเป็นผู้นำ มีมากมาย แต่ที่พบเห็นกันบ่อยๆ มี 14 ประการ ดังนี้

1. ผู้นำ ถ้าไม่มั่นใจก็คงไม่สั่ง (Leaders are confident in their

Read the rest