4-Step Innovation Process [Weiss and Legrand]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
กระบวนการสร้างนวัตกรรมใน 4 ขั้นตอน [Weiss and Legrand]

     สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก มักมองนวัตกรรมว่าเป็นเรื่องไกลตัวเพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง ใช้ประโยชน์ได้ไม่ทันคุ้มค่าใช้จ่าย ก็ตกยุค สู้คอยลอกเลียนคนอื่นแบบตามน้ำไปเรื่อยๆ ไม่ได้ หรือบางคนก็คิดว่า นวัตกรรมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ เช่น หากมีพนักงานคนหนึ่งในบริษัทเกิดความคิดบรรเจิดบางอย่างขึ้นมาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เมื่อบริษัทนำไปใช้ เกิดเป็นที่ชอบใจของลูกค้า ก็เหมาเอาว่า นั่นเป็นผลสำเร็จของการสร้างนวัตกรรม
     แม้ความบังเอิญนั้นจะถือเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรม แต่การจะหวังให้บังเอิญกันได้บ่อยๆ ก็อาจเป็นความหวังที่ไม่ชัดเจนเท่าไรนัก ที่จริงแล้ว นวัตกรรมเป็นความท้าทายที่ประกอบด้วยความไม่แน่นอน ความเสี่ยง และซับซ้อนในตัวของมันเอง ทางเลือกที่ดีกว่าการคอยให้นวัตกรรมเกิดขึ้นเองแบบบังเอิญคือ การตั้งใจสร้างนวัตกรรมตามกระบวนการที่ออกแบบมาเพื่อการสร้างนวัตกรรมเป็นการเฉพาะ นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาจะเป็นที่ยอมรับของลูกค้าหรือไม่ เป็นกระบวนการพัฒนาอีกส่วนหนึ่งที่ต้องกระทำต่อเนื่องไป การพยายามสร้างนวัตกรรมในสินค้าบริการ จะทำให้องค์กรได้มีโอกาสทบทวนความต้องการของลูกค้าและความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

     กระบวนการสร้างนวัตกรรมใน 4 ขั้นตอนที่นำมาเสนอนี้ เป็นผลงานของ David Weise

Read the rest

10 Types of Innovation [Doblin]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
นวัตกรรม 10 ประเภท [Doblin]

     บริษัททั้งหลายที่อยู่ในตลาดการแข่งขัน จำเป็นต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่เรียกว่านวัตกรรมเพื่อให้สามารถสู้กับคู่แข่งในตลาดได้ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทำได้หลายวิธี แต่การเลือกวิธีที่เหมาะสมกับบริษัทและทรัพยากรที่มีอยู่ ได้มากที่สุด ถือเป็นหัวใจของความสำเร็จ นวัตกรรมเป็นพลังขับดันของธุรกิจ หากบริษัทไม่ได้มีการสร้างสรรค์สิ่งใดใหม่ขึ้นมา ผลที่เกิดขึ้นกับบริษัท อย่างดีที่สุดก็คือ การย่ำอยู่กับที่ ไม่พัฒนาไปไหน แต่ที่เลวร้ายที่สุดอาจถึงขั้นม้วนเสื่อ แม้ว่าคุณจะมีความคิดริเริ่มที่ดีอย่างไรในตอนเริ่มธุรกิจ คุณก็ยังจำเป็นต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ต้องตกเป็นผู้ล้าหลังคู่แข่งที่มีนวัตกรรม

     นวัตกรรมส่วนใหญ่มักไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุไม่ใช่เพราะขาดความคิดริเริ่ม แต่เป็นเพราะขาดความสอดคล้องของระบบที่จะนำนวัตกรรมไปใช้ ส่วนใหญ่ที่ล้มเหลวเพราะเน้นไปที่ตัวสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ในทางปฏิบัติ นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จจะต้องใช้นวัตกรรมหลายๆ ประเภทประกอบกัน บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมจะวิเคราะห์รูปแบบ (pattern) ของนวัตกรรมในอุตสาหกรรม แล้วจึงเลือกสร้างนวัตกรรมขึ้นมาในหลายๆ ประเภท ไม่ใช่เฉพาะแค่ตัวสินค้า ถ้าคุณลองแตกนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จของสินค้าหรือบริการใด คุณจะพบว่านวัตกรรมนั้นมีระบบการส่งต่อคุณค่านับตั้งแต่โครงสร้างภายในบริษัท ไปจนถึงมือลูกค้า และนี่คือเหตุผลที่นวัตกรรมบางอันประสบความสำเร็จ

Read the rest

12 Principles of the Network Economy [Kelly]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ลักษณะสำคัญ 12 ประการของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเครือข่าย

     Kevin Kelly เขียนบทความชื่อ New Rules for the New Economy ลงพิมพ์ในนิตยสาร Weird ฉบับเดือน กันยายน ค.ศ. 1997 โดยเสนอแนวคิดเกี่ยวกับหลัก 12 ประการที่ใช้เพื่อสร้างการเจริญเติบโตในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง เขากล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงจากระบบ analogue มาเป็นระบบ digital หรือที่เรียกว่า digital revolution ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวขวัญกันครึกโครม แต่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งซึ่งดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มั่นคง และเป็นการปฏิวัติที่มีความรุนแรงมากกว่า digital revolution นั่นคือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเครือข่าย หรือ

Read the rest

สร้างนวัตกรรมอย่างไรไม่ให้เป็น นวกรรม

    ในภาวการณ์แข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน หลายองค์กรไม่สามารถที่จะรักษาความสามารถในการทำกำไรของตนเอาไว้ได้ สินค้ามีอายุการอยู่ในตลาดสั้นลง ตลาดถูกคู่แข่งแย่งไปมากขึ้นเรื่อยๆ และแม้จะทุ่มเทงบประมาณลงไปกับนวัตกรรมและกระตุ้นการทุ่มเทของทีมงานสักเท่าไรก็ดูไม่ช่วยสถานการณ์ให้ดีขึ้นมา ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าการสร้างนวัตกรรมเป็นสิ่งไม่ดี แต่ต้องการพูดว่าถ้าบริหารไม่ดี แทนที่จะเป็นการสร้าง ”นวัตกรรม” จะกลายเป็นการสร้าง “นวกรรม” แทน

    นวัตกรรมทางธุรกิจมักอยู่ใน 2 ลักษณะ ถ้าไม่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป คือออกมาอ่อยเหยื่อแบบเติมนั่นนิดเติมนี่หน่อย (เช่นโทรศัพท์มือถือที่มี function เพิ่มมาทีละอย่างสองอย่างก็ออกเป็นรุ่นใหม่ได้) ก็เป็นแบบเฉียบพลัน (เช่น การเปลี่ยนระบบปฏิบัติการในเครื่องคอมพิวเตอร์จาก Text mode ในระบบ Dos แบบเก่า มาเป็น Graphic Mode ในระบบ Windows) แต่ไม่ว่านวัตกรรมจะเป็นแบบใด นวัตกรรมก็เป็นผลมาจากการพัฒนาอย่างเป็นระบบหรือต่อยอดสินค้าบริการที่มีอยู่เดิม การบรรลุความสำเร็จทางนวัตกรรมของบริษัทส่วนใหญ่จะไม่ใช้วิธีลุยเดี่ยวไปในสมมุติฐานใดสมมุติฐานหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่จะตั้งไว้หลายอย่างและทดสอบไปพร้อมๆกัน แต่การตั้งสมมุติฐานแบบเหวี่ยงแหก็ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ผู้บริหารจึงต้องรู้ว่านวัตกรรมตัวใดมีโอกาสประสบความสำเร็จ มากน้อย Read the rest