Active Listening

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การฟังอย่างตั้งใจ

     การฟังอย่างตั้งใจ เป็นทักษะประเภท soft skill ที่เหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้ดีจริง กลับเป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประโยชนที่ได้จากการฟังอย่างตั้งใจมีมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และต่อการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน ดังนั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ใช้เวลาและความพยายามในการฝึกฝนค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นทักษะที่ทุกคนควรจะพัฒนาขึ้นมาให้เป็นคุณสมบัติประจำตัว การฟังอย่างตั้งใจ (active listening) หมายถึง การมีสมาธิทำความเข้าใจกับ “สิ่งที่ผู้พูดสื่อสารออกมา” ทั้งเนื้อหาและเจตนา และตอบสนองความเข้าใจนั้นได้อย่างเหมาะสม ตรงกันข้ามกับการฟังผ่าน ๆ (passive listening) ซึ่งจะไม่สามารถจับประเด็นเนื้อหาใด ๆ จากผู้พูด หรืออาจเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงหรือเจตนาของผู้พูด “สิ่งที่ผู้พูดสื่อสารออกมา” มีความหมายครอบคลุมทั้งข้อมูลที่เป็นถ้อยคำ (verbal message) และที่ไม่เป็นถ้อยคำหรืออวจนภาษา (non-verbal message) เช่น

Read the rest

7-38-55 Rule of Communication [Mehrabian]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การใช้ภาษาและอวจนภาษาในการสื่อสาร

     การสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด (nonverbal communication) ช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ภาษาอาจทำได้ไม่ครบถ้วนออกมาได้มากขึ้น ผู้คนในสังคมต่างก็ใช้การสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูดหรืออวจนภาษาเพื่อถ่ายทอดความหมาย อารมณ์ และความรู้สึกกันมานานแล้วทั้งโดยรู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว เช่น การผงกศีรษะ, ส่ายหน้า, อุทาน, แผดเสียงเมื่อโกรธ, เสียงสั่นเครือเมื่อโศกเศร้าหรือเมื่อตกอยู่ในอาการประหม่า ฯลฯ

     ในการสื่อสาร คำพูดจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งที่ผู้พูดได้สื่อออกมาเท่านั้น ระดับเสียง น้ำเสียง ความเร็วและจังหวะการพูด รวมถึงการหยุดเว้นระยะระหว่างคำ อาจสื่อความหมายออกมามากกว่าคำพูดที่ใช้ แม้กระทั่งท่าทางที่แสดงออกก็เป็นการส่งสัญญาณอีกลักษณะหนึ่งด้วยเช่นกัน อวจนภาษาเหล่านี้บอกให้ผู้ฟังทราบว่าผู้พูดมีความคิดและความรู้สึกในเรื่องนั้นอย่างไร 

     การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการสื่อสารด้วยคำพูดและด้วยอวจนภาษาซึ่งได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดชิ้นหนึ่ง คือผลการศึกษาของ Dr. Albert Mehrabian ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิเฟอเนียในลอสแอนเจลลิส ที่ว่า ความรู้สึก ทัศนคติ และความเชื่อของผู้ฟัง เป็นผลมาจากคำพูดของผู้พูดเพียงส่วนน้อย แต่จะมาจากน้ำเสียงและภาษากายของผู้พูดเป็นส่วนใหญ่ เขาได้สรุปผลการศึกษาและทฤษฎีของเขา (Mehrabian Communication

Read the rest

8 Causes of Conflicts [Bell and Hart]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
สาเหตุ 8 ประการของความเครียดและความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน

     คำว่าสถานที่ทำงาน (workplace) มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า เป็นสถานที่ที่บุคคลทั้งหลายเข้ามาเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จ สร้างความก้าวหน้าให้กับบุคคล คณะบุคคล และองค์กร ไม่ใช่ที่ที่ใครจะมาสร้างความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหาร หรือแม้แต่กับผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ในทางปฏิบัติ ความขัดแย้งในที่ทำงานกลับเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปทุกแห่ง ส่งผลโดยตรงต่อความเครียดและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การทำร้ายกันด้วยกำลังหรือคำพูด ขัดขวางการทำงานหรือกลั่นแกล้งผู้ที่ตนไม่พอใจ นักจิตวิทยาสองท่าน คือ Art Bell และ Brett Hart ได้ศึกษาความขัดแย้งและความเครียดในสถานที่ทำงานเพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหาโดยได้เขียนบทความหลายบทความในช่วงระหว่างปีค.ศ. 2000-2002 เกี่ยวกับมูลเหตุความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน ทั้งสองท่านมีความเห็นพ้องกันว่า การแก้ปัญหาความเครียดและความขัดแย้ง ต้องแก้ที่สาเหตุหรือต้นเหตุจึงจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดและความขัดแย้ง การไปแก้ที่ตัวความขัดแย้งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุซึ่งมักไม่เกิดผล และที่สำคัญ เป็นการสายเกินไปเพราะได้ปล่อยให้ความเครียดหรือความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้ว

     สาเหตุ 8 ประการของความเครียดและความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน ตามความเห็นของ

Read the rest

7 C’s of Effective Communication

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
คุณสมบัติ 7 ประการของการสื่อสารที่ประสบผลสำเร็จ

     7 C’s of Communication คือรายการตรวจสอบ (checklist) ที่ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารและเพิ่มโอกาสให้ผู้รับข้อมูลได้เข้าใจข้อมูลตรงตามความตั้งใจของผู้สื่อสาร เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ได้ทั้งกับการสื่อสารด้วยวาจา เช่น การประชุม, การทำ presentation, การอภิปรายความคิดเห็นกับทีมงาน และกับการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การเขียน email, การเขียนรายงาน ผู้สื่อสารมักมั่นใจในตนเองว่าได้สื่อสารข้อมูลที่ตั้งใจออกไปอย่างชัดเจนครบถ้วนแล้ว แต่เพื่อให้มั่นใจว่าการสื่อสารนั้นมีองค์ประกอบที่สร้างผลสำเร็จตามความมุ่งหมายอย่างแท้จริง ควรนำหลัก 7 C’s of Communication มาตรวจสอบข้อมูลที่สื่อสารว่ามีองค์ประกอบครบถ้วนหรือไม่

     องค์ประกอบหรือคุณสมบัติ 7 ประการของการสื่อสารที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย

1. ชัดเจน (Clear)
     ในการสื่อสารไม่ว่าจะด้วยการพูดหรือการเขียน ข้อมูลที่สื่อสารต้องมีความชัดเจนซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ

      1.1

Read the rest

5 Canons of Rhetoric

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
หลัก 5 ประการในการจัดทำสุนทรพจน์

     Cicero (106 B.C. - 43 B.C.) นักสุนทรพจน์ที่ยิ่งใหญ่ชาวโรมัน ได้เขียนหลัก 5 ประการในการจัดทำสุนทรพจน์ไว้ในหนังสือของเขาชื่อ De Inventione เมื่อประมาณ 50 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาในปีที่ 95 ของคริสต์ศักราช นักสุนทรพจน์ที่ยิ่งใหญ่ชาวโรมันอีกผู้หนึ่ง คือ Quintilian (35 B.C. - 24 A.D.) ได้ขยายหลักสุนทรพจน์ของ Cicero ให้ลงลึกในรายละเอียดและเขียนเป็นหนังสือรวม 12 เล่มชื่อ Institutio Oratoria หนังสือชุดนี้ได้ใช้เป็นตำราหลักในการศึกษาการจัดเตรียมและการกล่าวสุนทรพจน์สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

     หลักหรือข้อบัญญัติในการจัดทำและแสดงสุนทรพจน์ให้มีพลังและน่าประทับใจ ประกอบด้วย

Read the rest

4 Responses to Good News [Gable]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
วิธีการตอบสนองข่าวดีที่ได้รับใน 4 รูปแบบ [Gable]

     ข่าวดีเกิดขึ้นทุกวัน และเมื่อเล่าออกไปแล้วได้รับคำชื่นชมหรือร่วมยินดีด้วย ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มมากขึ้นไปอีก จากผลการวิจัยพบว่า เราจะรู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการสนองตอบของผู้ฟังต่อข่าวดีนั้น ส่วนใหญ่แล้วผู้ฟังมักยินดีไปกับเรา แต่ก็มีไม่น้อยที่มีท่าทีไม่ยินดียินร้าย หรือบางครั้งถึงกับแสดงท่าทีตอบกลับที่ทำให้เราต้องเสียใจ
     Shelly Gable ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา University of California, Santa Barbara กล่าวว่า มีวิธีการตอบสนองข่าวดีที่ได้รับใน 4 รูปแบบ ตัวอย่างเช่น เมื่อภรรยามาแจ้งสามีว่าเธอจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น สามีอาจตอบสนองต่อข่าวนั้นแบบใดแบบหนึ่งใน 4 แบบนี้

คำตอบ สร้างสรรค์

(Constructive)

ไม่สร้างสรรค์

(Destructive)

กระตือรือร้น

(Active)

“วิเศษเลย ผมดีใจกับคุณด้วย คุณต้องประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในตำแหน่งใหม่นี้แน่นอน”
Read the rest

10 Common Presentation Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการนำเสนองาน

     เชื่อว่าทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานคงได้เคยนำเสนองาน (presentation) ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาบ้าง เช่น การนำเสนอโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบ การรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือการฝึกอบรมทั้งแบบภายในและภายนอกองค์กร ในส่วนของผู้บริหาร ภารกิจที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่ง คือ การให้ข้อมูลหรือการแสดงวิสัยทัศน์และโน้มน้าวให้บุคคลที่เกี่ยวข้องยอมรับในสิ่งเหล่านั้น การนำเสนองานที่มีความซับซ้อนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนจึงจำเป็นต้องหมั่นฝีกฝนทักษะการนำเสนองานและเรียนรู้ว่าอะไรเป็นข้อผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยง
     ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการนำเสนองานที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงอย่าให้เกิดขึ้นกับการนำเสนองานของคุณเป็นอันขาด

   1) เตรียมตัวมาไม่พอ
     คุณคงเคยเห็นการนำเสนองานในลักษณะคล้าย talk show ที่พิธีกรขึ้นไปพูดแบบสบายๆ บนเวที มี slide หรือ video ขึ้นบนจอภาพขนาดใหญ่ด้านหลังและเปลี่ยนสัมพันธ์ไปตามจังหวะการบรรยายแบบลื่นไหล มันทำให้รู้สึกว่า การขึ้นไปกล่าวอะไรบนเวทีต่อหน้าผู้ชมเป็นร้อยหรือเป็นพัน ช่างเป็นเรื่องที่ง่ายดายเสียเหลือเกิน แต่ในความเป็นจริง ผู้บรรยายเหล่านั้นล้วนใช้เวลาในการเตรียมตัวและซักซ้อมมานาน บางครั้งเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน

Read the rest

10 Common Negotiation Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการเจรจาต่อรอง

     ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จล้วนเคยผ่านการเจรจาต่อรองมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาสัญญา การขอมติในที่ประชุม หรือการตกลงเป้าหมายการทำงานกับทีมงาน ผู้บริหารที่เจรจาต่อรองไม่เป็นจะต้องรับภาระที่มากเกินสมควร อาจถึงขั้นสูญสูญเสียธุรกิจ หรือความเคารพนับถือจากทีมงาน หรืออาจไม่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างซึ่งควรจบลงได้ไม่ยากนักถ้าสามารถเจรจาต่อรอง
     เราทุกคนอาจทำผิดพลาดในการเจรจาต่อรองได้ทั้งสิ้น แต่หากเรารู้เท่าทันปัญหา มีการเตรียมตัวที่ดี และหมั่นฝึกฝน เราก็จะสามารถเอาชนะความผิดพลาดและบรรลุข้อตกลงที่ดีได้ ความผิดพลาดในการเจรจาต่อรอง 10 ประการต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่คุณในฐานะผู้บริหารจะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น

   1) เตรียมตัวไม่พร้อม
     ความผิดพลาดที่มาเป็นอันดับหนึ่งในการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ คือ การเข้าเจรจาต่อรองทั้งๆ ที่ยังไม่พร้อม ผู้บริหารบางคนคิดว่า การแสดงความเชื่อมั่นในตนเองออกไปให้ชัดแจ้ง เช่น ด้วยการใช้เสียงดัง, เปิดเผย ตรงไปตรงมา ก็สามารถบรรลุข้อตกลงที่ต้องการได้ บางคนคิดว่า ลำพังประสบการณ์ในการเจรจาของตนก็สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบนโต๊ะเจรจาได้แล้ว แต่ในข้อเท็จจริง เพียงความเชื่อมั่นในตนเองและการมีประสบการณ์เท่านั้นยังไม่พอ นักเจรจาที่ฉลาดจะใช้เวลาค่อนข้างมากไปในการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาอย่างระมัดระวัง

Read the rest

10 Common Email Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการใช้ Email

     จากผลการศึกษาของ McKinsey & Company พบว่า คนที่ทำงานในสำนักงานใช้เวลา 28% ของการทำงานไปกับการอ่านและตอบ email สถิตินี้อาจจะดูมากเกินจริง อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ email เป็นหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การใช้ email เป็นวิธีที่เร็วและง่ายในการติดต่อกับสมาชิกทีมงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะกับผู้ที่อยู่ห่างไกล แต่ email ก็เป็นเครื่องมือสื่อสารที่อาจสร้างความเข้าใจผิดหรือถึงขนาดเป็นความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้ส่งได้โดยง่ายหากไม่ระวังความผิดพลาดต่างๆ รวมถึงมารยาทในการติดต่อ
     Diane Gottsman ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมารยาทและผู้ก่อตั้ง Protocol School of Texas กล่าวว่า email ที่เขียนไม่ดีอาจทำลายภาพความเป็นมืออาชีพของคุณในวงธุรกิจ คุณจึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ

Read the rest

10 Commandments for Media Consumers

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้บริโภคสื่อ

     บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้บริโภคสื่อ หรือ 10 Commandments for Media Consumers เป็นรายการตรวจสอบเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสื่อประเมินบทบาทของตนที่มีต่อสื่อสาธารณะได้อย่างถูกต้อง
     Cees Hamelink เป็นผู้สร้างรายการตรวจสอบที่เรียกว่าบัญญัติ 10 ประการนี้ขึ้นมา โดยเขียนไว้ในบทความชื่อ “Ethics for Media Users” ลงพิมพ์ในวารสาร the European Journal of Communication ฉบับเดือนธันวาคม 1995 เขาเป็นผู้สนใจในเรื่องจริยธรรมของหนังสือพิมพ์และความรับผิดชอบของสื่อสารมวลชน Hamelink กล่าวถึงบทบาทของผู้บริโภคสื่อในสามกลุ่ม คือ ผู้ชม ผู้อ่าน และผู้ฟัง ที่ต้องเอาจริงเอาจังกับความเป็นอิสระ

Read the rest