Achieving Quick Wins

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การสร้างความสำเร็จในบทบาทหน้าที่ใหม่ของผู้นำ

     การเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงานจากพนักงานธรรมดาขึ้นเป็นผู้นำโดยตำแหน่ง หรือจาก ผู้นำตำแหน่งหนึ่งเลื่อนสู่ผู้นำอีกตำแหน่งหนึ่งที่สูงกว่า ล้วนเป็นความคาดหวังและความใฝ่ฝันของบุคลากรทุกคนในองค์กร ยิ่งผู้ได้รับเลื่อนตำแหน่งสามารถปรับตัวเข้ากับหน้าที่บทบาทใหม่และสร้างผลงานให้กับองค์กรได้เร็ว (quick win) เท่าไร ก็ยิ่งเป็นเกียรติประวัติและเครื่องพิสูจน์ว่าตนเป็นผู้ที่มีความสามารถจริง และเหมาะจะได้รับการเลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ เราจึงควรมาศึกษาเรียนรู้กันว่า อะไรคือปัจจัยที่สร้างความสำเร็จแบบ quick win และอะไรคือปัจจัยที่ทำให้เขาเหล่านั้นต้องพบกับความล้มเหลว

นิยามคำว่า Quick win
     หมายถึงความสำเร็จภายหลังการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำด้วยผลงานที่จับต้องได้ เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา โดยทั่วไปแล้ว ความสำเร็จที่เรียกว่า quick win ควรเห็นผลได้ภายใน 30 - 90 วันแรกนับตั้งแต่เริ่มงานในบทบาทหน้าที่ใหม่

     เนื้อหาในบทความนี้

Read the rest

8 Ways to Improve Self-Regulation

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
แนวปฏิบัติ 8 ประการในการกำกับควบคุมตนเอง

     ในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิต เราทุกคนล้วนมีทางเลือกว่าจะรับมือกับมันอย่างไร อาจเป็นในเชิงบวกหรือในเชิงลบ แต่ถึงจะรู้อยู่แก่ใจว่า การรับมือหรือตอบโต้ในเชิงลบจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เราก็มักจะตอบโต้สถานการณ์ที่กดดันด้วยพฤติกรรมในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นการแผดเสียง การแสดงอาการโกรธจนหน้าแดงตัวสั่น บางครั้งถึงขั้นขว้างปาข้าวของหรือด่าทอด้วยคำหยาบคาย สาเหตุก็เพราะ พื้นฐานจิตใจของบุคคลที่ยังไม่ได้รับการพัฒนามักจะมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นฐานของความคิด เมื่ออารมณ์เข้าครอบงำการใช้เหตุผล สิ่งที่เป็นพื้นฐานของความคิดเหล่านั้นจึงถูกปลดปล่อยออกมา มากน้อยตามแรงกดดัน กว่าจะรู้สึกตัวหรือสงบสติอารมณ์ได้ พฤติกรรมทั้งหลายที่แสดงออกไปก็ส่งผลเสียทั้งต่อตนเอง บุคคลที่เกี่ยวข้อง และองค์กร ผลเสียที่ว่านั้นจะมีผลกระทบรุนแรงขึ้นอีกหลายเท่าหากผู้นั้นอยู่ในฐานะผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กร

     การหมั่นฝึกให้ตนเองคิดและแสดงออกในทางบวกซึ่งหมายถึงสามารถใช้เหตุผลและสติแทนการใช้อารมณ์ จะช่วยให้การมีพฤติกรรมตอบโต้ในเชิงลบลดน้อยลง ความคิดและพฤติกรรมของบุคคล มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน ผู้มุ่งหวังจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการโดยมีทัศนคติที่ดีและพฤติกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่รุมเร้ากดดัน จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถในการกำกับและควบคุมตนเอง (self-regulation) ด้วยการฝึกฝนให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสัญชาติญาณ เพราะในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ เช่น ความโกรธ ความต้องการเอาชนะ ความรู้สึกท้อแท้หดหู่ อารมณ์เหล่านี้จะเข้ามาบดบังหลักเหตุผลจนขาดสติ

Read the rest

10 Ways to Overcome a Fear of Networking

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
10 วิธีเอาชนะความกลัวเมื่อต้องเข้าสังคม

     คุณมีพฤติกรรมอย่างไรเวลาเข้าที่ประชุม หรือร่วมงานเลี้ยงในชมรมอาชีพ หรือในการเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ คุณเดินเข้าไปในกลุ่มผู้คนและสร้างความคุ้นเคยอย่างเป็นธรรมชาติ หรือค่อยๆ กระมิดกระเมี้ยนขอเข้าไปร่วมกลุ่มโดยรับรู้ได้ในความเป็นส่วนเกินของตนเอง การเข้าร่วมกลุ่มร่วมสังคมเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับหลายๆ คน อาจเป็นเพราะความคิดมาก เก็บตัว ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขี้อาย ผ่านประสบการณ์ที่เลวร้ายมา หรือเพิ่งเริ่มมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ในการเข้าสังคม แม้ว่าความกลัวการเข้าสังคมเป็นเรื่องยากที่จะกำจัดมันออกไป ก็ยังนับว่าโชคดีที่ความสามารถในการเข้าสังคมไม่ใช่เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่เป็นทักษะที่ใครๆ ก็เรียนรู้ได้ คุณไม่จำเป็นต้องมีลีลาที่นุ่มนวล หรือมีท่าทีที่โอ่อ่าผ่าเผยอะไรนักหนา ขอเพียงแต่คุณใช้กลยุทธ์ที่ถูกต้อง คุณก็ประสบความสำเร็จในการเข้าสังคมได้

     วิธีการเอาชนะความกลัวในการเข้าสังคมที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ใช่วิธีที่แนะนำเพื่อนำไปใช้เข้าสังคมทั่วไป เช่น ในงานบวช หรืองานแต่งงานลูกของเพื่อน ซึ่งหากคุณไม่สามารถเข้ากับใครได้ในงานเหล่านั้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่ส่งผลเสียหายอะไรแก่ใคร แต่บทความนี้จะเน้นไปที่การเข้าสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่การงานของคุณ เพราะความผิดพลาดหรือล้มเหลวในการเข้าสังคมเหล่านี้ หากเป็นส่วนหนึ่งในความรับผิดชอบของหน้าที่การงาน นอกจากจะสร้างความเสียหายหรือเสียโอกาสให้แก่องค์กรแล้ว ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าคุณไม่เหมาะกับงานระดับบริหาร คุณจึงควรให้ความสำคัญกับการฝึกฝนทักษะการเอาชนะความกลัวในการเข้าสังคมที่จะกล่าวต่อไปนี้ และหากคุณสามารถเข้าสังคมที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานได้แล้ว การเข้าสังคมทั่วๆ

Read the rest

จะเป็นนักขายที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร

    

       นักขายหลายคนมีความรู้สึกคล้ายๆ กันว่า การขายเป็นเรื่องยากและต้องใช้ความอดทนค่อนข้างมากกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะต้องรับแรงกดดัน ไม่ว่าจากการบ่ายเบี่ยง ยกเหตุผลนานาประการของลูกค้าเพื่อปฏิเสธการซื้อ, การตั้งเป้าหมายของหัวหน้างานขายที่สูงและขยับเพิ่มขึ้นเป็นระยะจนมองไม่เห็นทางที่จะทำให้สำเร็จ, การแข่งขันกับนักขายคนอื่นที่ขายสินค้าตัวเดียวกันในพื้นที่เดียวกัน ฯลฯ นอกจากแรงกดดันต่างๆ ที่ต้องอดทนให้ได้แล้ว นักขายยังต้องเรียนรู้เทคนิคการขายเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมออีกด้วย

        กฎ 12 ข้อที่นำมาเสนอต่อไปนี้ รวบรวมมาจากประสบการณ์ของนักขายชั้นนำของโลกหลายท่าน หากนักขายท่านใดหมั่นฝึกฝนจนกลายเป็นบุคลิกภาพของตน ก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถขึ้นเป็นนักขายที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน

1. ให้คิดไว้เสมอว่าการขายเป็นเรื่องของมิตร
        นักขายจำเป็นต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า การตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ ไม่ได้มาจากความสามารถในการอธิบายคุณภาพหรือประโยชน์ใช้สอยของตัวสินค้าบริการได้อย่างครบถ้วนถูกต้องเท่านั้น แต่ยังมาจากความรู้สึกที่เป็นมิตรที่ผู้ซื้อมีต่อผู้ขายด้วย นักขายจึงต้องไม่ทำตัวเป็นแต่เพียงนักขาย แต่จะต้องทำตัวให้เป็นมิตร ใส่ใจในสุขภาพความเป็นอยู่ หรือให้คำปรึกษาในเรื่องที่เป็นปัญหาของลูกค้าซึ่งตนสามารถให้คำแนะนำได้ด้วย ไม่ใช่ติดต่อลูกค้าไปครั้งใดก็พูดแต่เรื่องการขายสินค้าบริการซึ่งนอกจากจะสร้างความอึดอัดให้ลูกค้าแล้ว ยังสะสมความรู้สึกขุ่นเคืองหรือเห็นว่านักขายผู้นั้นเป็นคนเอาแต่ได้ สนใจแต่ประโยชน์ส่วนตน ยิ่งนานไปก็จะยิ่งไม่มีโอกาสปิดการขายได้เลย นักขายที่ดีจึงให้ความสำคัญกับมิตรภาพเป็นลำดับแรก เมื่อลูกค้าเกิดความไว้วางใจและยอมรับในมิตรภาพนั้นแล้ว การปิดการขายย่อมทำได้ไม่ยากนัก บ่อยครั้งที่เมื่อความสัมพันธ์ได้พัฒนาถึงระดับหนึ่ง ลูกค้าจะเป็นคนแสดงความสนใจสอบถามรายละเอียดของสินค้าบริการจากนักขาย หรือเป็นคนเอ่ยปากขอซื้อสินค้าเองโดยนักขายไม่ต้องเหนื่อยยากในการเสนอขายแต่อย่างใด

2. อดทนต่อแรงกดดันของนายและของเพื่อนร่วมงานRead the rest

การเตรียมตัวเข้าสอบสัมภาษณ์งาน

    

     การเข้าไปให้คนอื่นตั้งคำถามที่เราไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น หลายคนต้องมานั่งเสียใจในภายหลังว่าน่าจะตอบอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่น่าตอบอย่างนั้นอย่างนี้ นอกจากความตื่นเต้นจะมาจากการถูกตั้งคำถามที่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนแล้ว ยังมาจากความสับสนลังเลเนื่องจากคำตอบทุกคำตอบจะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้สัมภาษณ์ว่าดีพอจะคัดเลือกเราเข้าทำงานหรือไม่ ปัญหาเหล่านี้จะลดลงหรืออย่างน้อยก็เพิ่มความมั่นใจแก่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ได้มากถ้าผู้จะเข้ารับการสัมภาษณ์ได้รู้หลักการตอบคำถาม ได้เตรียมคำตอบ และได้ซักซ้อมเวลาที่ใช้ตอบไว้เป็นการล่วงหน้า

หลักการตอบคำถามในการสัมภาษณ์งาน
    1. อย่าฝืนความรู้สึกตื่นเต้นของตนเองมากเกินไป ยอมปล่อยให้ตนเองตื่นเต้นบ้างก็ได้ ที่สำคัญคือต้องคุมสติให้อยู่ มิเช่นนั้นจะฟังคำถามไม่รู้เรื่อง
    2. ฝึกซ้อมตอบคำถามที่คาดว่าจะถูกถาม อย่าท่องคำตอบที่เตรียมไว้เพราะหากคำถามเบี่ยงเบนไปจากที่คาดเพียงเล็กน้อยก็อาจกลายเป็นตอบไม่ตรงคำถามได้
    3. เตรียมซ้อมจับเวลา อย่าใช้เวลาในการตอบแต่ละคำตอบยาวเกิน 2 นาที การตอบที่กระชับ ตรงประเด็น ดีกว่าการพูดยาวแต่วกวน
    4. ค้นหาเจตนาของผู้ถามว่าต้องการคำตอบอะไรจากคำถามนั้น เกือบร้อยทั้งร้อย ผู้ถามต้องการทราบข้อมูลด้านศักยภาพเพื่อดูความเหมาะสมในการรับเข้าทำงานในตำแหน่งนั้นๆ และเป็นคำตอบที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับคำตอบของผู้สมัครรายอื่นได้ว่าใครเหนือกว่า แม้จะเป็นคำถามที่ธรรมดาที่สุด เช่น “ช่วยเล่าเรื่องของคุณให้ฟังหน่อย” ก็มีวัตถุประสงค์อยู่ตรงนี้เช่นกัน พึงระลึกว่าผู้ถามไม่มีเวลามานั่งคุยเล่นกับเรา
    5. ปกติแล้วถ้าเราตอบไม่เข้าเป้าตามความต้องการของผู้ถาม ถ้าคำตอบนั้นไม่ไร้สาระจนผู้ถามตัดสินใจได้ในทันทีว่าท่านไม่เหมาะที่จะรับเข้าทำงานแล้ว ผู้ถามจะถามซ้ำโดยระบุเจตนาที่แท้จริงหรือไม่ก็ตั้งคำถามอื่นที่ชัดเจนขึ้นเพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ Read the rest