8 Common Goal Setting Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาดพื้นฐาน 8 ประการในการกำหนดเป้าหมายส่วนบุคคล

     บุคคลย่อมมีเป้าหมาย (personal goal) ในการดำเนินชีวิตของตน อาจเป็นปณิธานที่เก็บซ่อนไว้ในใจแต่ผู้เดียว, อาจเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเตือนตน, หรืออาจบอกคนใกล้ชิดให้เป็นพยานรับรู้ความตั้งใจดังกล่าว เป้าหมายเป็นทั้งเครื่องชี้ทิศทางและแรงจูงใจที่ผลักดันให้บุคคลยอมอดทนฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่มุ่งหวัง ส่วนเป้าหมายที่ไม่เคยพบความสำเร็จแม้จะได้ใช้ความพยายามไปมากมายเพียงใด ก็อาจเป็นสิ่งที่สร้างความผิดหวังให้กับชีวิตจนไม่อยากอยู่ร่วมในสังคมอีกต่อไป การกำหนดเป้าหมายจึงเป็นจุดเริ่มต้นของทั้งความสำเร็จหรือล้มเหลว และเป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องเรียนรู้ว่า อะไรคือความผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มีอยู่ในเป้าหมายของเรา

     ความผิดพลาดพื้นฐานในการกำหนดเป้าหมายส่วนบุคคลมี 8 ประการ ได้แก่

1. กำหนดเป้าหมายที่ไม่สมจริง (Setting unrealistic goals)
     ในการกำหนดเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้จินตนาการและความใฝ่ฝันเพื่อค้นหาสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นความปรารถนาที่แท้จริงสำหรับเรา อย่างไรก็ตาม เราต้องมั่นใจด้วยว่า สิ่งที่เป็นเป้าหมายนั้น จะต้องมีความสมจริง คือมีโอกาสสำเร็จได้ถ้าใช้ความมานะพยายามอย่างเต็มที่ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด หลายคนกำหนดเป้าหมายที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน (perfection) ในทุกด้านซึ่งเป็นเป้าหมายที่ไม่สมจริง หรือเป้าหมายที่ตนเองไม่มีคุณสมบัติหรือความสามารถที่จะทำให้สำเร็จ

     ในทางตรงข้ามก็มีหลายคนกลัวความล้มเหลวหากกำหนดเป้าหมายให้ยากเกินไป

Read the rest

8 Causes of Conflicts [Bell and Hart]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
สาเหตุ 8 ประการของความเครียดและความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน

     คำว่าสถานที่ทำงาน (workplace) มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า เป็นสถานที่ที่บุคคลทั้งหลายเข้ามาเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จ สร้างความก้าวหน้าให้กับบุคคล คณะบุคคล และองค์กร ไม่ใช่ที่ที่ใครจะมาสร้างความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหาร หรือแม้แต่กับผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ในทางปฏิบัติ ความขัดแย้งในที่ทำงานกลับเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปทุกแห่ง ส่งผลโดยตรงต่อความเครียดและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การทำร้ายกันด้วยกำลังหรือคำพูด ขัดขวางการทำงานหรือกลั่นแกล้งผู้ที่ตนไม่พอใจ นักจิตวิทยาสองท่าน คือ Art Bell และ Brett Hart ได้ศึกษาความขัดแย้งและความเครียดในสถานที่ทำงานเพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหาโดยได้เขียนบทความหลายบทความในช่วงระหว่างปีค.ศ. 2000-2002 เกี่ยวกับมูลเหตุความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน ทั้งสองท่านมีความเห็นพ้องกันว่า การแก้ปัญหาความเครียดและความขัดแย้ง ต้องแก้ที่สาเหตุหรือต้นเหตุจึงจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดและความขัดแย้ง การไปแก้ที่ตัวความขัดแย้งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุซึ่งมักไม่เกิดผล และที่สำคัญ เป็นการสายเกินไปเพราะได้ปล่อยให้ความเครียดหรือความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้ว

     สาเหตุ 8 ประการของความเครียดและความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน ตามความเห็นของ

Read the rest