สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
6 แนวทางในการบริหารการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง [Kotter and Schlesinger]
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี คู่แข่งรายใหม่ กฎระเบียบทางราชการ ล้วนเป็นเหตุให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายต้องปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่การจะปรับเปลี่ยนเช่นว่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่ายๆ เพราะในการเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมจะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบอยู่บ้างไม่มากก็น้อย และเป็นธรรมดาอยู่เองที่บุคคลเหล่านี้จะออกมาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงหรือต่อรองให้การเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลกระทบเชิงลบต่อตนน้อยที่สุด
บุคคลจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงด้วยเหคุผล 4 ประการ คือ
1) ปกป้องผลประโยชน์ส่วนตน (Parochial self-interest) บุคคลต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเมื่อรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้ตนต้องสูญเสียบางสิ่งที่มีคุณค่าไป จึงห่วงอยู่แต่เพียงเรื่องเดียวว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร ไม่สนใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลดีอย่างไรต่อองค์กร การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในกรณีนี้มักทำให้เกิดการเมืองย่อยๆ ขึ้นในองค์กร มีการจับกลุ่มพูดคุยหาแนวร่วมเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
2) เข้าใจผิด (Misunderstanding) บางคนต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะความเข้าใจผิดในเนื้อหาสาระของการเปลี่ยนแปลง มักเกิดขึ้นภายในองค์กรที่หัวหน้าและลูกน้องไม่ค่อยเชื่อถือไว้ใจกัน ลูกน้องกลัวว่าหัวหน้าจะไม่ซื่อต่อตนและฉวยโอกาสการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ตนต้องได้รับความเสียหายไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจึงกลายเป็นเครื่องมือที่ลูกน้องนำมาใช้ปกป้องตนเอง
3) ขาดความอดทนที่จะรอ (Low