5 Stages of Decline [Jim Collins]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
องค์กรตกต่ำได้ในห้าระยะ [Jim Collins]

     การศึกษาว่าองค์กรจะล้มได้อย่างไร อาจไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้บริหารที่มุ่งแต่จะพัฒนาองค์กรให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างยิ่งใหญ่ แต่สำหรับ Jim Collins เขามองว่า การรู้ว่าองค์กรกำลังอยู่ในระยะการเสื่อมถอยหรือตกต่ำหรือไม่ หากใช่ จะฟื้นคืนกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่หรือความแข็งแกร่งเช่นเดิมได้อย่างไร มิสิ่งใดที่ควรทำและไม่ควรทำ เป็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญที่ผู้บริหารจำเป็นต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน เขาจึงได้เขียนแนวคิดเรื่อง องค์กรตกต่ำได้ในห้าระยะ ไว้ในหนังสือชื่อ How the Mighty Fall ด้วยความเชื่อว่า องค์กรทุกองค์กรมีโอกาสตกต่ำลงได้ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่เพียงใด การตกต่ำจะเกิดขึ้นเป็นห้าระยะจากภายใน ความตกต่ำขององค์กรในความหมายของ Collins ไม่ได้ดูที่ผลประกอบการแต่เพียงอย่างเดียว แต่ดูที่ความเสื่อมถอยในพลังขององค์กรด้วย โดยในสามระยะแรก องค์กรอาจจะยังมีผลประกอบการที่น่าพอใจ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อพ้นจากระยะที่สาม ความตกต่ำขององค์กรจึงสะท้อนออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม

     Collins และทีมนักวิจัย ใช้เวลาหลายปีในการศึกษาองค์กรทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จเพื่อศึกษาความแตกต่าง มุ่งเน้นไปที่การศึกษาปัจจัยสร้างความสำเร็จ และทำความเข้าใจในสาเหตุขององค์กรที่เคยยิ่งใหญ่แต่กลับต้องตกต่ำเสื่อมถอย ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

Read the rest

5S System

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ระบบ 5ส เครื่องมือเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

     5S หรือ 5ส คือระบบการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการทำพื้นที่ทำงานให้สะอาด ไม่รกไปด้วยข้าวของที่ไม่ได้ใช้ มีความปลอดภัย มีความเป็นระเบียบ เป็นสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีคุณภาพทั้งทางกายภาพและจิตใจ เพื่อให้บุคคลทำงานได้สะดวกขึ้น ไม่เสียเวลาไปกับการค้นหา, เคลื่อนไหวร่างกายในการหยิบจับสิ่งของเครื่องใช้ในการทำงาน, หรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ระบบ 5ส เหมาะกับการผลิตที่เน้นไม่ให้เกิดความสูญเปล่า (lean manufacturing) ควบคุมด้วยการมองเห็น (visual control) และเป็นพื้นฐานเริ่มแรกในการสร้างความประทับใจแก่ลูกค้า

     คำว่า 5S มาจากคำในภาษาญี่ปุ่น 5 คำ ได้รับการแปลออกเป็นภาษาต่างๆ รวมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้ง่ายแก่การจำและนำไปใช้ ดังนี้

ภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
  Seiri (tidiness) สะสาง Sort
Read the rest

16 Personality Factors (16 PF) Test [Cattell]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ปัจจัย 16 ประการในการทดสอบบุคลิกภาพบุคคล [Raymond Cattell]

     Raymond Cattell นักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีและฟิสิกส์ ได้หันความสนใจมาศึกษาจิตวิทยาในทศวรรษที่ 1920 ซึ่งในตอนนั้น เขารู้สึกผิดหวังที่พบว่าจิตวิทยาเป็นสาขาความรู้ที่เต็มไปด้วยนามธรรม ทฤษฎีและแนวคิดก็ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและยังแทบไม่มีพื้นฐานในทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีด้านบุคลิกลักษณะส่วนใหญ่จะอิงกับหลักปรัชญาและการคาดการณ์เป็นการส่วนตัว หรือไม่ก็พัฒนาขึ้นมาโดยคนในวงการแพทย์ เช่น Jean Charcot และ Sigmund Freud ซึ่งได้สร้างทฤษฎีบุคลิกภาพขึ้นมาตามสัญชาติญาณความรู้สึกและจากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลที่มีความผิดปกติในด้านสติปัญญา
(psychopathology) เป็นหลัก

     Cattell จึงสร้างแบบทดสอบบุคลิกภาพขึ้นมาอย่างเป็นระบบด้วยความมุ่งหมายที่จะค้นหาบุคลิกภาพพื้นฐานของบุคคล รวมถึงวิธีที่ใช้วัดระดับของบุคลิกภาพดังกล่าว เขาเชื่อว่าบุคลิกภาพของบุคคลต้องมีสิ่งที่เป็นหลักพื้นฐานเปรียบได้กับโลกทางวัตถุที่มีอ็อกซิเจนและไฮโดรเจนเป็นพื้นฐาน หากสามารถค้นพบและวัดหลักพื้นฐานทางบุคลิกภาพของบุคคลได้ ก็จะสามารถเข้าใจและทำนายพฤติกรรม เช่น ความคิดสร้างสรรค์, ภาวะผู้นำ, ความบริสุทธิ์ใจ, หรือความก้าวร้าวของบุคคลได้มากขึ้น เขาได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ Charles Spearman ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน

Read the rest