5 P’s of Strategy Model [Mintzberg]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การพัฒนากลยุทธ์ตามหลัก 5 P [Mintzberg]

     ในการกำหนดกลยุทธ์ เรามักใช้วิธีระดมความคิดเพื่อค้นหาโอกาสและนำมาวางแผนว่าจะได้รับประโยชน์จากโอกาสนั้นได้อย่างไร กลยุทธ์มีความมุ่งหมายไปที่ความสำเร็จในอนาคต ใช้เวลาและคุณสมบัติหลายด้านขององค์กรในการนำไปปฏิบัติ ถึงแม้ว่าการแข่งขันจะเป็นปัจจัยที่สำคัญทางธุรกิจ แต่การพัฒนากลยุทธ์โดยมุ่งความสำคัญไปแต่เรื่องการแข่งขันแต่เพียงอย่างเดียว ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ผู้พัฒนากลยุทธ์จำเป็นต้องนำวัฒนธรรม ความสามารถ และการพัฒนาทั้งหลายที่มีอยู่ในองค์กรมาร่วมในการพิจารณาด้วย กลยุทธ์เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีความอ่อนไหว กลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลในวันนี้ อาจใช้อะไรไม่ได้เลยเมื่อเวลาผ่านไป ความสำเร็จของกลยุทธ์ นอกจากจะขึ้นกับการวางแผนและการปฏิบัติแล้ว ยังขึ้นอยู่กับตลาดและการเปลี่ยนแปลงซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุม ธุรกิจที่ต้องการความสำเร็จจึงต้องหมั่นปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้รับกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

     Mintzberg ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารชาวแคนาดาและอาจารย์มหาวิทยาลัย McGill ได้พัฒนาแนวคิดการพัฒนากลยุทธ์ตามหลัก 5 P ขึ้นในปี ค.ศ. 1987 เป็นการให้นิยามกลยุทธ์ในมุมมองที่แตกต่างกัน 5 ประการ และเสนอให้นำมุมมองเหล่านั้นมาพิจารณาประกอบในการกำหนดและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ มุมมองทั้งห้าประกอบด้วย

1. กลยุทธ์จะต้องมีแผนงาน (Plan)
     นิยามหรือคุณสมบัติแรกของกลยุทธ์

Read the rest

5 Levels of Leadership [John C. Maxwell]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ [John C. Maxwell]

     เราพบเห็นผู้นำได้ในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจ โคชกีฬา หรือแม้แต่ครูสอนหนังสือในห้องเรียน ก็ล้วนเป็นผู้นำในความหมายของการนำพาผู้ตามให้บรรลุเป้าหมายทั้งของตนเอง ทีมงาน และองค์กรที่ตนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ความเป็นผู้นำจึงเป็นเรื่องของการเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้า (growth) ทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตาม, ผลิตภาพที่ผู้นำและผู้ตามร่วมกันสร้างขึ้นมา รวมถึงการพัฒนาผู้ตามให้มีความเป็นผู้นำ
     John C. Maxwell ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นผู้นำ ได้อธิบายการพัฒนาภาวะผู้นำไว้ ในหนังสือของเขาชื่อ Developing the Leader Within You และได้ขยายความเพิ่มเติมในหนังสือชื่อ The 5 Levels of Leadership โดยชี้ให้เห็นแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตั้งแต่ระดับที่หนึ่งซึ่งเป็นผู้นำโดยตำแหน่ง ผู้ตามจำใจต้องปฏิบัติตามเพียงเพื่อจะได้ไม่ต้องรับโทษ ไปจนถึงผู้นำระดับที่ห้าซึ่งผู้ตามปฏิบัติตามด้วยความรักและความศรัทธาโดยไม่คำนึงว่าผู้นำจะมีตำแหน่งหรือไม่ Maxwell

Read the rest