4-Frame Model [Bolman and Deal]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในองค์กรจาก 4 มุมมอง

     องค์กรเป็นองคาพยพที่ซับซ้อน เต็มไปด้วยบุคลากร แรงจูงใจ สมรรถนะ ข้อจำกัด ฯลฯ การมององค์กรในภาพรวม อาจทำให้ข้ามรายละเอียดที่สำคัญซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา Lee Bolman และ Terry Deal จึงได้เสนอแนวคิดเรื่อง Four-Frame Model ซึ่งแนะนำผู้บริหารให้ทำความเข้าใจองค์กรจากมุมมอง (หรือกรอบความคิด) ที่แตกต่างกัน 4 ด้าน วิธีนี้จะช่วยให้ผู้บริหารได้แง่คิดที่แตกต่างกันหลายๆ แบบในการจัดการกับปัญหา
     Lee Bolman และ Terry Deal เสนอ Four-Frame Model ไว้ในหนังสือชื่อ Reframing Organization (1991) โดยกล่าวว่า

Read the rest

4P’s and 4C’s Marketing Model

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ส่วนผสมการตลาด 4P's และ 4C's

     ส่วนผสมการตลาด (marketing mix) หรือรูปแบบการทำการตลาด (marketing model) เป็นองค์ประกอบหรือปัจจัยทางการตลาดที่ส่งเสริมการขายสินค้าบริการให้แก่ลูกค้า แนวคิดดั้งเดิมในเรื่องส่วนผสมการตลาด คือ 4P’s Marketing Model และในระยะต่อมา ได้เกิดแนวคิดใหม่ขึ้นมา เรียกว่า 4C’s Marketing Model มีข้อติติงมากมายว่า 4P’s model มีข้อบกพร่องในเรื่องความครบถ้วนของมุมมองจนผู้ประกอบการบางรายหันมาใช้แต่ 4C's เพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่ในทางปฏิบัติ ควรนำทั้งสอง model มาพิจารณาร่วมกันในการกำหนดกลยุทธ์และแผนการตลาด

4P’s Marketing Model
     4P’s เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ขาย /

Read the rest

4 Responses to Good News [Gable]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
วิธีการตอบสนองข่าวดีที่ได้รับใน 4 รูปแบบ [Gable]

     ข่าวดีเกิดขึ้นทุกวัน และเมื่อเล่าออกไปแล้วได้รับคำชื่นชมหรือร่วมยินดีด้วย ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มมากขึ้นไปอีก จากผลการวิจัยพบว่า เราจะรู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการสนองตอบของผู้ฟังต่อข่าวดีนั้น ส่วนใหญ่แล้วผู้ฟังมักยินดีไปกับเรา แต่ก็มีไม่น้อยที่มีท่าทีไม่ยินดียินร้าย หรือบางครั้งถึงกับแสดงท่าทีตอบกลับที่ทำให้เราต้องเสียใจ
     Shelly Gable ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา University of California, Santa Barbara กล่าวว่า มีวิธีการตอบสนองข่าวดีที่ได้รับใน 4 รูปแบบ ตัวอย่างเช่น เมื่อภรรยามาแจ้งสามีว่าเธอจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น สามีอาจตอบสนองต่อข่าวนั้นแบบใดแบบหนึ่งใน 4 แบบนี้

คำตอบ สร้างสรรค์

(Constructive)

ไม่สร้างสรรค์

(Destructive)

กระตือรือร้น

(Active)

“วิเศษเลย ผมดีใจกับคุณด้วย คุณต้องประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในตำแหน่งใหม่นี้แน่นอน”
Read the rest

4 Factors Theory of Leadership [Bowers and Seashore]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ทฤษฎี 4 ปัจจัยเพื่อการเป็นผู้นำ [Bowers and Seashore]

     การศึกษาภาวะผู้นำในยุคแรก เริ่มด้วยการสังเกตบุคลิกลักษณะ (trait) ของบุคคลสำคัญหรือของผู้นำ และนำมาจัดทำเป็นรายการว่าผู้มีคุณสมบัติเช่นนี้จึงเรียกว่าผู้นำ หรือถ้าประสงค์จะเป็นผู้นำต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยที่ทำในระยะต่อมา ไม่พบความเชื่อมโยงที่เด่นชัดระหว่างปัจจัยดังกล่าวกับความเป็นผู้นำแต่อย่างใด การวิจัยหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา จึงได้เปลี่ยนแนวทางการศึกษา จากการศึกษาบุคลิกลักษณะของผู้นำ มาเป็นศึกษาพฤติกรรมของผู้นำว่าต้องทำอย่างไรจึงสามารถสร้างความพึงพอใจและผลการปฏิบัติงานให้แก่ทีมงาน

     นักวิจัยสองท่านจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน คือ Dr. David Bowers และ Dr. Stanley Seashore ได้ศึกษาภาวะผู้นำโดยเน้นไปที่ภาวะผู้นำทางธุรกิจและอุตสาหกรรม เขาได้เริ่มด้วยการทบทวนผลงานของนักวิจัยชั้นนำหลายท่านที่ได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องคุณสมบัติของผู้นำที่ดี (หมายถึงมีเป้าหมายที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่มุ่งทำลาย) ประกอบกับผลการวิจัยของตนเองที่สำรวจพฤติกรรมผู้นำสำนักงานตัวแทนบริษัทประกันชีวิตชั้นนำแห่งหนึ่งจำนวน 40 สำนักงานเพื่อศึกษาผลกระทบของการกำกับดูแลและการใช้ภาวะความเป็นผู้นำที่มีต่อความพึงพอใจของลูกค้าและผลการปฏิบัติงานของตัวแทน ผลการค้นคว้าและวิจัยพบว่า มีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการซึ่งเรียกได้ว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานของภาวะผู้นำ

Read the rest

4 Dimensions of Management [Birkinshaw]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
รูปแบบการบริหารใน 4 มิติ [Birkinshaw]

     การบริหารเป็นภารกิจที่ซับซ้อน ผู้บริหารต้องมีความยืดหยุ่นในการแสดงบทบาทหน้าที่ ต้องตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบการบริหารอย่างไรจึงจะสร้างความสำเร็จสูงสุดให้กับองค์กร การบริหารในบางรูปแบบอาจเป็นไปตามธรรมชาติการทำงานของผู้บริหาร ในขณะที่บางรูปแบบอาจเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องค่อยๆ ปรับรูปแบบการบริหารของตนไปจนได้รูปแบบที่นำความสำเร็จมาสู่ทั้งทีมงานและองค์กร
     Julian Birkinshaw ศาสตราจารย์ด้านการบริหารกิจการระหว่างประเทศและการดำเนินกลยุทธ์ แห่ง London Business School ได้เขียนรูปแบบการบริหารใน 4 มิติ (the Four Dimensions of Management model) ไว้ในหนังสือชื่อ Reinventing Management (2010) อธิบายกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานในองค์กรว่า กระบวนการทำงานทั้งหลายในองค์กร มักถูกสภาพการณ์ที่เป็นอยู่เวลานั้นเป็นตัวกำหนด การบริหารงานจึงมีลักษณะตั้งรับและต้องคอยแก้ไขไปตามสถานการณ์ เป็นเหตุให้การปฏิบัติงานถูกเบี่ยงเบนออกไปจากทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร การบริหารงานมักใช้ ราคา เอกลักษณ์ของสินค้า

Read the rest

4 Corners Model [Porter]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การวิเคราะห์คู่แข่งใน 4 มิติ [Porter]

     หากคุณไม่มีอะไรต้องกังวลเกี่ยวกับคู่แข่ง ธุรกิจก็คงจะเป็นเรื่องง่ายๆ ตรงไปตรงมา หรือถ้าในตลาดไม่มีคู่แข่ง คุณก็แค่ทำสินค้าที่ลูกค้าต้องการ เพียงเท่านี้ก็ได้เงินและประสบความสำเร็จทางธุรกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีองค์กรธุรกิจใดอยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพัง ทุกตลาดล้วนมีการแข่งขัน (ยกเว้นธุรกิจที่ผูกขาดโดยนโยบายของรัฐ) ส่วนจะเข้มข้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากธุรกิจ หากคุณต้องการประสบความสำเร็จในธุรกิจและมีผลกำไรปีแล้วปีเล่า สิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องทำก็คือ เป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคู่แข่งก็ทำงานหนักไม่น้อยไปกว่าคุณ ทุกคนล้วนเชื่อมั่นในจุดเด่นและความสามารถของตน คุณจึงจำเป็นต้องหาวิธีที่จะก้าวล้ำไปกว่าคู่แข่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

     มีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ อาทิ ความคาดหวังของลูกค้า เป้าหมายด้านการเงิน วัฒนธรรมและคุณค่าขององค์กร ระดับทักษะความสามารถของพนักงาน แม้กระทั่งข้อสมมุติฐานในเรื่องจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์กรเอง คู่แข่งก็ไม่ต่างไปจากคุณ คือจะมองปัจจัยทุกๆ ปัจจัยที่น่าจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ การกำหนดกลยุทธ์จึงเป็นงานที่ซับซ้อนเพราะจะดูแต่เฉพาะความสามารถหลักทางธุรกิจของตนแต่เพียงอย่างเดียวและกำหนดกุลยุทธ์ง่ายๆ ด้วยการเพิ่มความสามารถของตนให้สูงที่สุดเท่านั้นไม่ได้ ผู้วางกลยุทธ์จะต้องเข้าใจกลยุทธ์ของคู่แข่งรายสำคัญ สามารถคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งเพื่อวางกลยุทธ์ของตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมด้วย
     Michael Porter

Read the rest