10 Recruitment Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาด 10 ประการในการรับพนักงานใหม่

     เราทุกคนล้วนเคยทำผิดพลาดกันมาแล้วทั้งสิ้น บางคนอาจได้เรียนรู้ในความผิดพลาด แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนได้ทำอะไรผิดไป โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกรับพนักงานใหม่ เช่น เมื่อเสร็จกระบวนการเลือกรับแล้ว คุณอาจรู้สึกมั่นใจเป็นอย่างมากว่า บุคคลที่คุณเลือกจะต้องเป็นทรัพยากรบุคคลที่สร้างคุณค่าให้แก่องค์กร เพราะเขามีประวัติส่วนตัวดีเยี่ยม มีไหวพริบในการตอบคำถามและนำเสนอตนเองในการสอบสัมภาษณ์ได้อย่างโดดเด่น แต่แล้วบุคคลดังกล่าวกลับไม่ผ่านการประเมินในขั้นทดลองงาน เข้ากับทีมงานไม่ได้ และไม่สามารถสร้างงานในแขนงใดได้เลย คุณรู้ดีว่า การเปิดรับและเริ่มกระบวนการคัดเลือกใหม่เป็นการเสียทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย และโอกาสการทำงาน แต่คุณก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเปิดรับใหม่ แต่ในเมื่อคุณไม่รู้ว่าได้ทำอะไรผิดพลาดไปในกระบวนการคัดเลือก คุณก็อาจกลับเข้าสู่วงจรเดิม คือ ได้คนที่ไม่เหมาะกับการทำงาน หรือได้คนที่ไม่ต้องการทำงานร่วมกับคุณ
     แม้ว่าจะไม่มีกระบวนการเลือกรับบุคคลเข้าทำงานกระบวนการใดที่สามารถรับประกันได้ว่า คุณจะได้คนเก่งและเหมาะสมกับงานในทุกครั้งที่เปิดรับ แต่การได้เรียนรู้ปัญหาและหลุมพราง 10 ประการต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการคัดเลือกบุคคล และได้ผู้ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณมากขึ้นกว่าเดิม

   1) ไม่มีคำบรรยายลักษณะงานที่ชัดเจน
     ในประกาศรับสมัครงาน คุณต้องลงคำบรรยายลักษณะงานให้ถูกต้องตามความเป็นจริง คำบรรยายลักษณะงานที่ดี ไม่ควรจะมีแค่

Read the rest

10 Principles of Reinvention [Osborne and Gaebler]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
หลัก 10 ประการในการปฏิรูปงานราชการส่วนท้องถิ่น [Osborne and Gaebler]

     David Osborne และ Ted Gaebler ผู้เขียนหนังสือชื่อ Reinventing Government (1992) มีความเห็นว่า ระบบการทำงานของรัฐบาลอเมริกันซึ่งสร้างขึ้นมาในยุคอุตสาหกรรมและในช่วงวิกฤติการณ์ทางทหารและทางเศรษฐกิจ มีความเหมาะสมกับยุคและวิกฤติการณ์เหล่านั้น แต่ไม่ใช่รูปแบบรัฐบาลที่ดีที่สุดสำหรับยุคต่อมาซึ่งเป็นยุคข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนมีความต้องการเพิ่มขึ้นมากทั้งในเรื่องการให้บริการ ทางเลือกในการใช้บริการ และคุณภาพของการบริการ รัฐบาลจึงควรปรับเปลี่ยนวิธีการให้บริการจากเดิมซึ่งเป็นแบบราชการ ให้มีความเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น คือ มีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ รวมทั้งปรับปรุงระบบการให้บริการให้มีอะไรที่แปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้นมา

     David Osborne และ Ted Gaebler เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาจากสภาพสังคมอเมริกันนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 ซึ่งประชาชนต้องการโอกาสที่จะได้ซื้อหาสินค้าบริการที่มีคุณภาพและมีผู้ให้บริการที่มีประสิทธิภาพ แต่ระบบราชการไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ประชาชนได้มีทางเลือกเช่นนั้น นอกจากนั้น

Read the rest

10 Cs of Supplier Evaluation [Carter]

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
หลัก 10 ประการในการประเมิน Supplier [Carter]

     มีคำสองคำที่มักนำมาใช้แทนกันจนหลายคนคิดว่ามีความหมายเดียวกัน คือคำว่า supplier และ vendor แต่ในความเป็นจริง สองคำนี้มีความหมายต่างกัน กล่าวคือ
   • vendor หมายถึง บุคคลหรือองค์กรที่ขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค มีการจัดซื้อจัดหาแต่ละครั้งจำนวนไม่มาก เป็นความสัมพันธ์แบบ ธุรกิจกับลูกค้า (business to customer) จัดเป็นห่วงข้อสุดท้ายในสายโซ่อุปทาน
   • supplier หมายถึง บุคคลหรือองค์กรที่ขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้ผลิตหรือธุรกิจอื่น มีจำนวนมากในการจัดซื้อจัดหาแต่ละครั้ง เป็นความสัมพันธ์แบบ ธุรกิจกับธุรกิจ (business to business) จัดเป็นห่วงลำดับต้นหรือลำดับกลางในสายโซ่อุปทาน

     Ray Carter ผู้อำนวยการ DPSS

Read the rest

10 Common Time Management Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการบริหารเวลา

     เวลาไม่เคยคอยใคร ผู้มีปัญหาเรื่องการบริหารเวลามักจะมีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่าทำงานไม่ทัน งานที่ได้รับมอบหมายมันช่างมากมายเกินกว่าที่จะทำให้เสร็จได้ และมีหลายชิ้นที่มาเสร็จเอาในวินาทีสุดท้าย หันไปทางไหนก็เจอแต่งานนั่นงานนี่เต็มไปหมด ชีวิตมีแต่ความเครียด หมดกำลังใจที่จะทำงาน และอยากลาออกไปหางานอื่นทำซึ่งน่าจะสบายกว่านี้
     เราทุกคนมีเวลาเท่ากันหมด หากเพื่อนร่วมงานซึ่งมีความสามารถในการทำงานใกล้เคียงกัน แต่สามารถทำงานที่คล้ายกันให้สำเร็จได้โดยไม่ต้องหน้าดำเหมือนคุณ ปัญหาน่าจะไม่ได้อยู่ที่ไม่มีเวลา แต่อยู่ที่คุณยังบริหารเวลาได้ไม่ดีเท่าเพื่อนของคุณ ความผิดพลาดพื้นฐานในการบริหารเวลาที่จะกล่าวต่อไปนี้อาจมีบางส่วนใกล้เคียงกับปัญหาที่คุณกำลังประสบอยู่ ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้มันเกิดกับคุณได้ ก็น่าจะทำให้คุณสามารถบริหารเวลาได้ดีขึ้น มีความเครียดน้อยลง มีเวลาที่จะสร้างผลงานได้มากขึ้น และได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชามอบหมายให้รับผิดชอบงานที่มีความท้าทายและมีความสำคัญต่อองค์กรมากขึ้น

   1) ไม่ได้วางแผนว่ามีงานอะไรต้องทำบ้าง
     คุณเคยลืมทำงานหรือกิจกรรมที่สำคัญไปบ้างหรือไม่ หากเคย สาเหตุอาจมาจากคุณไม่ได้วางแผนการทำงานประจำวันว่าจะต้องทำอะไรบ้างในวันนั้น อาจไม่ถึงกับว่านาทีนั้นทำอะไร ชั่วโมงโน้นทำอะไร แต่อย่างน้อยก็ต้องมีเป้าหมายของงานที่ต้องการทำให้เสร็จ อาจใช้การจดรายการที่ต้องทำไว้ในสมุดแผนงานประจำวัน ในกรณีที่เป็นงานซึ่งมีภารกิจย่อยหลายภารกิจ คุณควรแตกงานนั้นออกเป็นภารกิจย่อยที่ชัดเจน จำเพาะเจาะจง อย่าใช้คำกว้างเกินไป เช่น เตรียมเรื่องเข้าประชุม เพราะด้วยคำกว้างๆ เช่นนี้

Read the rest

10 Common Strategy Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการจัดการกลยุทธ์

     กลยุทธ์ เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในการดำเนินงาน และเป็นที่มาของความได้เปรียบในการแข่งขัน ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ คือผู้ที่วางกลยุทธ์ได้เหมาะสมกับสภาพปัญหา สภาพแวดล้อม ทรัพยากร และสามารถดำเนินกลยุทธ์นั้นได้อย่างไม่ผิดพลาด กลยุทธ์และการดำเนินกลยุทธ์จึงเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ แต่แม้จะเข้าใจในความสำคัญของกลยุทธ์เพียงใด ก็มีผู้บริหารจำนวนไม่มากนักที่ประสบความสำเร็จในการจัดการกลยุทธ์
     ข้อผิดพลาดพื้นฐานที่เกี่ยวกับการกำหนดและดำเนินกลยุทธ์ซึ่งนำมากล่าวต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้ดำเนินกลยุทธ์ทุกคนควรหลีกเลี่ยง

   1) สับสนระหว่าง “การตลาด” กับ “กลยุทธ์”
     Michael Porter กล่าวว่า ความผิดพลาดที่สำคัญประกาหนึ่งของผู้บริหาร คือการพยายามแข่งขันเพื่อชิงความเป็นเลิศ และในการแข่งขันนั้น แม้จะทำเช่นเดียวกับผู้อื่นอยู่ แต่กลับคิดว่าจะได้รับผลที่ดีกว่า เพราะเชื่อมั่นในความสามารถหรือฝีมือในการบริหารของตน โดยทั่วไปแล้ว กลยุทธ์ส่วนใหญ่ในทางธุรกิจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับลูกค้าและการสนองความต้องการของลูกค้า หลายๆ องค์กรจึงมีกลยุทธ์ที่มุ่งสร้างความพอใจแก่ลูกค้าด้วยการเสนอคุณค่าหรือคุณประโยชน์ในแบบต่างๆ (value proposition) แต่หากคุณเข้าใจว่าการเสนอคุณค่าหรือคุณประโยชน์เป็นเรื่องกลยุทธ์ ก็ถือว่าคุณกำลังนำเรื่องการตลาดไปสับสนปะปนกับกลยุทธ์

Read the rest

10 Common Presentation Mistakes

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการนำเสนองาน

     เชื่อว่าทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานคงได้เคยนำเสนองาน (presentation) ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาบ้าง เช่น การนำเสนอโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบ การรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือการฝึกอบรมทั้งแบบภายในและภายนอกองค์กร ในส่วนของผู้บริหาร ภารกิจที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่ง คือ การให้ข้อมูลหรือการแสดงวิสัยทัศน์และโน้มน้าวให้บุคคลที่เกี่ยวข้องยอมรับในสิ่งเหล่านั้น การนำเสนองานที่มีความซับซ้อนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนจึงจำเป็นต้องหมั่นฝีกฝนทักษะการนำเสนองานและเรียนรู้ว่าอะไรเป็นข้อผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยง
     ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการในการนำเสนองานที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงอย่าให้เกิดขึ้นกับการนำเสนองานของคุณเป็นอันขาด

   1) เตรียมตัวมาไม่พอ
     คุณคงเคยเห็นการนำเสนองานในลักษณะคล้าย talk show ที่พิธีกรขึ้นไปพูดแบบสบายๆ บนเวที มี slide หรือ video ขึ้นบนจอภาพขนาดใหญ่ด้านหลังและเปลี่ยนสัมพันธ์ไปตามจังหวะการบรรยายแบบลื่นไหล มันทำให้รู้สึกว่า การขึ้นไปกล่าวอะไรบนเวทีต่อหน้าผู้ชมเป็นร้อยหรือเป็นพัน ช่างเป็นเรื่องที่ง่ายดายเสียเหลือเกิน แต่ในความเป็นจริง ผู้บรรยายเหล่านั้นล้วนใช้เวลาในการเตรียมตัวและซักซ้อมมานาน บางครั้งเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน

Read the rest