Affinity Diagram

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การจัดระเบียบข้อมูลจำนวนมาก

     ในการบริหารงานโครงการและการทำวิจัย เราจะพบข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากมาย ข้อมูลแต่ละชุดอาจมีมิติที่หลากหลายทั้งด้านเวลา ปริมาณ คุณภาพ ความสอดคล้องและไม่สอดคล้องซึ่งอาจสร้างความสับสนวุ่นวายจนหาข้อสรุปที่ชัดเจนไม่ได้ Jiro Kawakita นักมานุษยวิทยาชาวญี่ปุ่นจึงได้พัฒนาเครื่องมือชื่อ Affinity diagram ขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1960 เพื่อลดความยุ่งยากดังกล่าว เครื่องมือนี้ช่วยให้เราสามารถแยกแยะข้อมูลจำนวนมากออกเป็นกลุ่มจนมองเห็นประเด็นสำคัญ (common theme) ของข้อมูลแต่ละกลุ่มอันนำไปสู่ข้อสรุปและหาทางออกของปัญหาได้

Affinity Diagram คืออะไร
     Affinity diagram หรือที่เรียกกันในชื่ออื่น ๆ เช่น affinity map, affinity chart, K-J Method, thematic analysis เป็นเครื่องมือและวิธีการที่ทีมงานนิยมนำใช้ในการระดมความคิด จัดระเบียบข้อมูลด้วยการแยกแยะข้อมูลทั้งหลายทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับผลผลิต กระบวนการ ความซับซ้อน

Read the rest

Affiliate Marketing

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การตลาดแบบเครือข่าย

     Affiliate marketing หรือการตลาดแบบเครือข่าย คือรูปแบบการตลาดที่บุคคลภายนอก เช่น blogger หรือ YouTuber เรียกรวม ๆ ว่า affiliate หรือ publisher ทำการโปรโมตสินค้าบริการของเจ้าของสินค้าผ่าน website หรือสื่อสังคมของตน โดยผู้โปรโมตจะได้รับค่านายหน้าตามเงื่อนไขของเจ้าของสินค้า นอกจากนั้น Affiliate marketing ยังมีความหมายรวมไปถึงระบบการตลาดแบบเครือข่ายของเจ้าของสินค้าเองด้วย การตลาดเครือข่ายมีความตื่นตัวอย่างมากหลังจากที่ Amazon ได้รณรงค์ทางการตลาดด้วยการสร้าง website และ link ที่ผุ้สนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายสามารถนำ link ดังกล่าวไปวางไว้ใน website หรือสื่อสังคมของตน เมื่อลูกค้าเข้ามาคลิก link ก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่ website ของ

Read the rest

Adrenaline in Workplace

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
คุณและโทษของอดรีนาลีนในการทำงาน

     อดรีนาลีน (adrenaline) หรือ epinephrine เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่หลั่งจากต่อมหมวกไตเมื่อตระหนักถึงภัยหรือสิ่งเร้า ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ อัตราการเต้นของหัวใจและแรงดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น เหงื่อออก หายใจถี่ มีปริมาณโลหิตและอ็อกซิเจนในอวัยวะและกล้ามเนื้อมากขึ้น การหลั่งอดรีนาลีนเป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาตามธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดและหลุดพ้นจากสภาวะกดดันที่เป็นอันตราย เมื่อร่างกายหลั่งอดรินาลีน บุคคลจะมีความรู้สึกกระฉับกระเฉง ตื่นตัว มีความสุข บางคนถึงขั้นเสพติด เข้าทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงเพราะอยากมีความรู้สึกดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เช่น ขับรถแข่ง, โดดจากเครื่องบินหรือหน้าผาสูง, โหนรอกข้ามป่าหรือหุบเหว ฯลฯ

ประโยชน์ของอดรีนาลีน
     อดรีนาลีน ช่วยสร้างตวามตื่นตัวให้กับร่างกาย เราจึงเห็นองค์กรหลายแห่ง นิยมให้พนักงานออกกำลังกายเบา ๆ ก่อนเริ่มทำงาน อดรีนาลีนอาจไม่มีผลโดยตรงต่อการทำงานเป็นทีม แต่การได้มีประสบการณ์ร่วมกันในกิจกรรมหรือภารกิจที่น่าตื่นเต้น จะช่วยกระชับความสัมพันธ์และความเห็นอกเห็นใจกัน นอกจากนั้นการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะช่วยสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน

     นักวิจัยจาก the University of Essex

Read the rest

ADL Matrix

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ตารางกลยุทธ์ธุรกิจแบบ ADL

     ในการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ จำเป็นต้องพิจารณาวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมว่าอยู่ในสถานะใด คู่แข่งเป็นอย่างไร และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ใช้อยู่เหมาะกับสถานะของอุตสาหกรรมและสภาพการแข่งขันหรือไม่ บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดบริษัทหนึ่ง คือ Arthur D Little ได้เสนอเครื่องมือที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากปัจจัยหลักสองประการ คือ
  o สถานภาพการแข่งขัน (Competitive Position) ของธุรกิจว่ามีความสามารถในการแข่งขันมากน้อยในระดับใด
  o ธุรกิจอยู่ในช่วงใดของวงจรชีวิตอุตสาหกรรม (Industry Maturity)

ADL Matrix คืออะไร
     ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจชื่อ Arthur D Little ได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ประกอบการพิจารณากำหนดกลยุทธ์ธุรกิจโดยเรียกเครื่องมือนี้ตามชื่อบริษัทว่า ADL Matrix แนวคิดหลักของเครื่องมือนี้คือ ธุรกิจหรือบริษัทไม่สามารถกำหนดกลยุทธ์โดยดูแต่สถานะด้านการแข่งขันของตน แต่จะต้องนำวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมมาพิจารณาด้วย ตัวอย่างเช่น หากสินค้าของบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดสูงและมั่นคง

Read the rest

ADDIE Model of Instructional Design

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การออกแบบหลักสูตรและการสอนด้วย ADDIE Model

     ADDIE model เป็นเครื่องมือออกแบบการสอนที่ช่วยให้ HR และผู้ให้การฝึกอบรมสามารถสร้างหลักสูตรการสอนและการฝึกอบรมขึ้นใช้ภายในองค์กร ADDIE เป็นโมเดลที่พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1975 โดย the Centre for Educational Technology at Florida State University เพื่อใช้ในกองทัพสหรัฐฯ และได้รับความนิยมนำไปใช้เป็นโมเดลการออกแบบการสอนในหน่วยงานราชการและธุรกิจเอกชนอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง

ADDIE model คืออะไร
     ADDIE model เป็นกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ที่ให้กรอบแนวคิดแบบมีโครงสร้าง รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ Instructional System Design หรือ ISD นิยมนำมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ในองค์กร

Read the rest

Adaptive Leadership

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ทักษะผู้นำในการประเมินผลกระทบของสภาพแวดล้อมและปรับมาตรการแก้ไขให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง

     มีองค์กรมากมายที่เคยประสบความสำเร็จแต่ก็รักษาความสำเร็จนั้นไว้ไม่ได้เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวให้กับพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โกดัก ซึ่งเคยประสบความสำเร็จอย่างมากกับสินค้าของตน คือ ฟิล์มถ่ายภาพ แต่จากการไม่ได้ปรับตัวให้เข้ากับวิวัฒนาการการถ่ายภาพแบบดิจิทัล จึงต้องขายสิทธิบัตรของตนเป็นจำนวนมากเพื่อให้พ้นจากการล้มละลาย องค์กรทั้งหลายที่ต้องการหลีกเลี่ยงชะตากรรมดังกล่าว ควรศึกษาทักษะความสามารถของผู้นำในเชิงรุกซึ่งเรียกว่า 4A หรือ adaptive leadership ประกอบด้วย

   o Anticipation คาดหมายความต้องการ แนวโน้ม และทางเลือกที่สามารถสนองความต้องการในอนาคต
   o Articulation นำสิ่งที่คาดการณ์นั้นมาสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้เกิดแรงสนับสนุนร่วมกัน
   o Adaptation พัฒนาความสามารถของบุคลากรด้วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และปรับแนวทางปฏิบัติทั้งหลายตามความจำเป็น
   o Accountability แสดงความโปร่งใสให้มากที่สุดในกระบวนการตัดสินใจและพร้อมที่จะเผชิญและตอบสนองสิ่งท้าทายทั้งหลายที่จะเกิดขึ้น

     ทักษะหรือความสามารถในการเป็นผู้นำดังกล่าว จะช่วยให้ทั้งบุคคลและองค์กรมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยและสามารถยืนหยัดท่ามกลางความท้าทายจนบรรลุผลสำเร็จที่มุ่งหวังได้ในที่สุด

     ปัญหาซึ่งท้าทายความสามารถของผู้บริหาร อาจแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่
   1) ปัญหาทางเทคนิค (technical

Read the rest

Activity-Based Management (ABM)

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การบริหารข้อมูลฐานกิจกรรม

     การบริหารข้อมูลฐานกิจกรรม (Activity-Based Management: ABM) หมายถึงการวิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพการทำกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-Based Costing: ABC) มาวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (value-chain analysis) โดยมีพื้นฐานความคิดว่าทุกกิจกรรมจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าบริการไม่ต่ำกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ข้อมูลที่ได้จากต้นทุนฐานกิจกรรม (ABC) จึงนำมาใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หลักสองประการ ได้แก่
   (1) เพื่อใช้เป็นต้นทุนของสินค้าบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนทางอ้อมซึ่งจะมีความจำเพาะเจาะจงกับตัวสินค้าบริการมากกว่าวิธีการคิดต้นทุนแบบเดิมซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยกับสินค้าบริการทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มต้นทุน (cost pool) เดียวกัน
   (2) เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารใช้วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนา (ABM) สินค้า, กระบวนการผลิต ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบริษัทให้มีความสามารถในการแข่งขันมากยิ่ง ๆ ขึ้น กิจกรรมใดที่สร้างคุณค่า ก็พัฒนาเสริมเติมความแข็งแกร่งให้มากขึ้น กิจกรรมใดไม่เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าบริการ ก็ปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือตัดทิ้งไป

     ลักษณะของกิจกรรมที่มีปัญหา เช่น มีต้นทุนสูงกว่าที่ควรโดยอาจมีสาเหตุมาจากการดำเนินกิจกรรมที่ผิดพลาดและเป็นปัญหาในตัวเอง หรืออาจเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากกิจกรรมอื่น การศึกษากิจกรรมจากผังกระบวนการทำงาน

Read the rest

Activity-Based Costing (Robert Kaplan)

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
ต้นทุนฐานกิจกรรม

     ในช่วงทศวรรษที่ 1970 Robert Kaplan แห่ง Harvard Business School ได้เสนอแนวทางการคิดต้นทุนสินค้าแบบใหม่ที่เรียกว่า Activity-Based Costing (ABC) แก่วงการอุตสาหกรรมเพื่อแก้ปัญหาการคิดต้นทุนแบบเดิม โดยได้ร่วมกับ Robin Cooper เขียนบทความอธิบายกระบวนการและข้อดีของ ABC จำนวนมากเผยแพร่ให้ผู้สนใจในช่วงทศวรรษที่ 1980 หลักการสำคัญคือการกระจายต้นทุนทางอ้อม เช่น การให้บริการลูกค้า, ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร, ค่าประกันภัย ฯลฯ ตามฐานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเป้าหมายแทนการใช้ค่าเฉลี่ยโดยรวม จึงเป็นวิธีที่ช่วยให้ต้นทุนสินค้าในส่วนของต้นทุนทางอ้อม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตัวสินค้า (fair share) มากขึ้นกว่าวิธีการคิดต้นทุนแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ มีหลายองค์กรที่ได้นำ ABC ไปใช้ แต่ไม่นานก็ยกเลิกและหันกลับไปใช้วิธีคิดต้นทุนแบบเดิม

Read the rest

Activity Log

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
บันทึกกิจกรรม

     เวลาเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เมื่อผ่านไปแล้วก็ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อีก เราทุกคนจึงควรใช้มันอย่างมีเป้าหมายและคุ้มค่า แต่ถึงกระนั้น คนส่วนใหญ่ก็มักจะปล่อยเวลาให้เสียเปล่าไปวันละหลายชั่วโมงโดยไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ถ้ายิ่งเป็นคนที่ไม่เห็นคุณค่าของเวลา ก็มักจะปล่อยมันให้หมดสิ้นไปราวกับเป็นทรัพยากรที่มีใช้อย่างไม่จำกัด สาเหตุหลักก็คงเนื่องมาจากการใช้เวลา เป็นเรื่องส่วนตัวของใครของมัน หากมิใช่ผู้บังคับบัญชาที่กำลังรองาน หรือพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของเราแล้ว ก็คงไม่มีใครจะมาสนใจว่าเราจะใช้เวลาได้อย่างมีคุณค่าหรือไม่ มารู้ตัวอีกทีก็เมื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียน หรือเพื่อนร่วมงานที่เข้างานมาพร้อมกัน ได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานจนทิ้งห่างกันไปแบบไม่เห็นฝุ่น บทความนี้จึงอยากชักชวนให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับเวลาก่อนที่ทุกสิ่งจะสายเกินไปโดยนำ activity log มาใช้เป็นเครื่องมือประกอบการพิจารณาความคุ้มค่าของเวลาในแต่ละวัน

     activity log ในบทความนี้ มุ่งเน้นการจดบันทึกการใช้เวลากับกิจกรรมการทำงานในสำนักงานและกิจกรรมส่วนตัวของผู้ทำงานดังกล่าว ไม่ใช่ activity log ที่ใช้ในกิจกรรมการขนส่งซึ่งมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า Electronic Logging Device (ELD) บันทึกระยะเวลาเริ่มต้น สิ้นสุดของการสตาร์ทเครื่องยนต์ ความเร็ว และสถานที่ที่รถคันนั้นอยู่ตามสัญญาณ GPS โดยอัตโนมัติ

     activity

Read the rest

Active Listening

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
การฟังอย่างตั้งใจ

     การฟังอย่างตั้งใจ เป็นทักษะประเภท soft skill ที่เหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้ดีจริง กลับเป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประโยชนที่ได้จากการฟังอย่างตั้งใจมีมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และต่อการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน ดังนั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ใช้เวลาและความพยายามในการฝึกฝนค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นทักษะที่ทุกคนควรจะพัฒนาขึ้นมาให้เป็นคุณสมบัติประจำตัว การฟังอย่างตั้งใจ (active listening) หมายถึง การมีสมาธิทำความเข้าใจกับ “สิ่งที่ผู้พูดสื่อสารออกมา” ทั้งเนื้อหาและเจตนา และตอบสนองความเข้าใจนั้นได้อย่างเหมาะสม ตรงกันข้ามกับการฟังผ่าน ๆ (passive listening) ซึ่งจะไม่สามารถจับประเด็นเนื้อหาใด ๆ จากผู้พูด หรืออาจเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงหรือเจตนาของผู้พูด “สิ่งที่ผู้พูดสื่อสารออกมา” มีความหมายครอบคลุมทั้งข้อมูลที่เป็นถ้อยคำ (verbal message) และที่ไม่เป็นถ้อยคำหรืออวจนภาษา (non-verbal message) เช่น

Read the rest